กระบวนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลมาบแค
Keywords:
กระบวนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ, การมีส่วนร่วมของชุมชนAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมในชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจชุมชนแบบเร่งด่วน ศึกษาข้อมูลมือสอง การสังเกต สัมภาษณ์เจาะลึก และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา สะท้อนแนวคิด และการสอบทานข้อมูล
ผลการวิจัยพบกระบวนการสำคัญในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมในชุมชน 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นกระบวนการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และส่วนที่เกี่ยวข้องกับผลลัพธ์ที่เกิดจากกระบวนการพัฒนาการมีส่วนร่วมนั้นๆ กระบวนการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนประกอบด้วย 4 ขั้นตอนในการดำเนินงาน ดังนี้ 1) การสร้างทีมแกนนำซึ่งเป็นทุนทางสังคมที่สำคัญของชุมชน เริ่มตั้งแต่การค้นหาแกนนำ การเปิดโอกาสการเข้าร่วมแบบจิตอาสา การสร้างข้อตกลงร่วมกันในการกำหนดบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างชัดเจน 2) กระบวนการค้นหาปัญหาและความต้องการ 3) การออกแบบกิจกรรมการดูแลผู้สูงอายุ ภายใต้แนวคิดการพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมในเวทีประชาคม และการประชุมร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน วางแผนและดำเนินงานร่วมกันอย่างมีทิศทาง และ 4) กระบวนการพัฒนาข้อตกลงร่วมกันในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอย่างยั่งยืนในระดับพื้นที่ เริ่มต้นจากการเปิดช่องทางการสื่อสารเพื่อให้เกิดการรับรู้ และเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ทั้งในระดับบุคคล และระดับกลุ่ม รวมทั้งผลักดันโครงการเข้าสู่แผนพัฒนาชุมชน ที่มีความสอดคล้องกับนโยบายบริหารงานในระดับท้องถิ่น ส่วนที่เกี่ยวข้องกับผลลัพธ์ที่เกิดจากกระบวนการพัฒนาการมีส่วนร่วม พบว่า 1) เกิดการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุทำให้โครงการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนมีความเข้มแข็งโดยการบริหารจัดการร่วมกันในกลุ่มผู้สูงอายุด้วยกันเอง 2) ระบบบริการมีการเปลี่ยนแปลงจากเชิงรับ เป็นเชิงรุก เน้นการสร้างเสริมสุขภาพมากกว่าการรักษาการเจ็บป่วยหรือโรค และ 3) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถจัดกิจกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังผ่านการดำเนินงานในโครงการดูแลผู้สูงอายุ มีผลให้ผู้สูงอายุเข้าถึงการรับบริการมากขึ้น
คำสำคัญ : กระบวนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ; การมีส่วนร่วมของชุมชน
Abstract
The purpose of this qualitative research was to explore the process of community participation in elderly health care. Data were collected using rapid surveys, indepth interviews, observations, group discussions, and review of secondary data. Content analysis, concept reflection, and verification of information were used to analyze the data.
The results indicated two important components of community participation Process in elderly health care: 1) a process to develop community participation in elderly health care, and 2) outcomes resulting from such process. The development of community participation consisted of four steps as follows. 1) Building a team of community leaders, which was considered a community’s social capital, by giving an opportunity to volunteer, reaching a consensus and making agreements on roles and responsibilities of each member. 2) Identifying problems and needs. 3) Designing elderly care activities based on the concept of self-care capacity building through participation in community forum, sharing and learning, setting mutual goals, planning and working together towards those goals. 4) Developing mutual agreements on the care of elderly which is contextual appropriate and locally sustainable. This process began with open communication channels to promote acknowledgement and participation in various activities both at individual and group. This continued until the elderly health care project was included in a community development plan, which must be congruent with the local administrative plan. As for the outcomes of the community participation development process, they consisted of: 1) elderly in the community got together and formulated a group, which strengthened the project because of collaborative administration among themselves; 2) passive health care services have changed to being active and focus on health promotion rather than medical treatment; and 3) public health staffs can perform health care activities for chronically ill elderly through the implementation of this project, consequently, they increasingly gained access to the services.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.