ความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ต่างเกื้อกูลระหว่างผู้สูงอายุและ ญาติผู้ดูแล ความสามารถในการทำนายการดูแล กับความเครียด ในบทบาทผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคพาร์กินสัน

Authors

  • ฉัตรกมล ประจวบลาภ สาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์ ภาควิชาการพยาบาลรากฐาน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นารีรัตน์ จิตรมนตรี ภาควิชาการพยาบาลรากฐาน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อัครวุฒิ วิริยเวชกุล กลุ่มงานประสาทวิทยา สถาบันประสาทวิทยา

Keywords:

ความสัมพันธ์ต่างเกื้อกูลระหว่างผู้สูงอายุและญาติผู้ดูแล, ความสามารถในการทำนายการดูแล, ความเครียดในบทบาทผู้ดูแล, ผู้ดูแล, ผู้สูงอายุ, mutuality, predictability, caregiver role strain, caregiver, elderly

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ต่างเกื้อกูลระหว่างผู้สูงอายุและญาติผู้ดูแลความสามารถในการทำนายการดูแล กับความเครียดในบทบาทผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคพาร์กินสัน โดยใช้กรอบแนวคิด The Family Care Model ของ Archbold & Stewart (1980) กลุ่มตัวอย่างเป็นญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคพาร์กินสันจำนวน 100 ราย ที่พาผู้ป่วยมารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และสถาบันประสาทวิทยา เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 โดยการตอบแบบสอบถามการดูแลครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ต่างเกื้อกูลระหว่างผู้สูงอายุและญาติผู้ดูแล ค่อนไปทางด้านสูง (Mean = 42.18,S.D. = 6.61, skewness = - 0.33) ความสามารถในการทำนายการดูแล ค่อนไปทางด้านต่ำ (Mean = 14.36, S.D. = 3.87, skewness = 0.15) และความเครียดในบทบาทผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคพาร์กินสันทุกด้านค่อนไปทางด้านต่ำ (skewness = 0.26 - 2.76) ยกเว้นด้านความเครียดจากความเป็นห่วง ค่อนไปทางด้านสูง (skewness = - 0.28) -variant:normal;">p < .05, r = - 0.และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ต่างเกื้อกูลระหว่างผู้สูงอายุและญาติผู้ดูแลมีความสัมพันธ์กับความเครียดในบทบาทผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคพาร์กินสันทั้งรายด้านและโดยรวมอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความสามารถในการทำนายการดูแลมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับความเครียดจากปัญหาด้านการสื่อสาร และความเครียดโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = - 0.24, font-style: normal; font-variant: norp < .05, r = - 0.23, p < .05) ตามลำดับ และความสามารถในการทำนายการดูแลมีความสัมพันธ์กับความเครียดจากการดูแลโดยตรง ความเครียดจากความเป็นห่วง และความเครียดจากบทบาทขัดแย้งอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนการพยาบาลส่งเสริมให้ญาติผู้ดูแลมีความสามารถในการทำนายการดูแลในระดับสูง เพื่อให้สามารถคาดการณ์และควบคุมสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้ ซึ่งจะช่วยลดความเครียดในบทบาทผู้ดูแลด้านปัญหาจากการสื่อสาร และความเครียดโดยรวมของผู้ป่วยสูงอายุโรคพาร์กินสัน

The study aimed to explore the correlations in mutuality between the elderly and family caregivers, caregiving predictability and caregiver role strain in caregivers of elderly patients with Parkinson’s disease. The Family Care Model of Archbold and Stewart was selected as the conceptual framework in 1980. Sample of 100 family caregiving who caring for older persons with Parkinson’s disease were recruited at Chulalongkorn Memorial Hospital, Thai Red Cross, Prasart Neurological Institute. Data was collected from October to December of 2013 by completing Family Care Inventory questionnaires. The data obtained was analyzed with descriptive statistics and correlation analysis by using Pearson’s Correlation Coeffiient. The research fidings revealed the mutuality between the elderly subjects and family caregivers to be rather high (Mean = 42.18, S.D. = 6.61, skewness = - 0.33); caregiving predictability was rather low
(Mean = 14.36, S.D. = 3.87, skewness = 0.15) and caregiver role strain for caregivers of older persons with Parkinson’s disease was rather low (skewness = 0.26 - 2.76), except for the aspect of worry-related strain which
was rather high (skewness = - 0.28). Furthermore, when the correlations were analyzed among the variables studied, mutuality between the elderly subjects and family caregivers was found to be correlated with caregiver role strain and elderly patients with Parkinson’s disease in relation to total and dimentions scores with no statistical signifiance at level of .05. Care predictability was found to be negatively related to a low degree with caregiver role strain from communication problems and global strain with statistical signifiance (r = - 0.24, p < .05, r = - 0.23, p < .05), respectively. Furthermore, there were no statistical signifiance at level of .05 between predictability, strain from worry, strain from direct care, strain from role conflct. The research fidings can be applied to nursing planning to promote family caregivers’ caregiving predictability to a high degree in order to enable anticipation and control of situations occurring with patients, which will help reduce caregiver role strain from communication problems and global strain in older persons with Parkinson’s disease.

Downloads

How to Cite

1.
ประจวบลาภ ฉ, วิโรจน์รัตน์ ว, จิตรมนตรี น, วิริยเวชกุล อ. ความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ต่างเกื้อกูลระหว่างผู้สูงอายุและ ญาติผู้ดูแล ความสามารถในการทำนายการดูแล กับความเครียด ในบทบาทผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคพาร์กินสัน. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2015 Feb. 4 [cited 2024 Nov. 23];15(3):235-4. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/30605