ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวเข้มแข็ง ต้นทุนชีวิตกับพฤติกรรมการดูแล สุขภาพตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสหศึกษา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร

Authors

  • มาลีวัล เลิศสาครศิริ กลุ่มวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์

Keywords:

ครอบครัวเข้มแข็ง, ต้นทุนชีวิต, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5, families’ strengths, developmental assets, self health care behavior, students at Mahayomsuksa V

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบวิเคราะห์ความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวเข้มแข็งต้นทุนชีวิตและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสหศึกษา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสหศึกษา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบกำหนดสัดส่วนและสุ่มอย่างง่าย จำนวน 230 คน จากโรงเรียนพระแม่มารีสาทร โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม และโรงเรียนโกศลภัทรวิทย์ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล ครอบครัวเข้มแข็ง ต้นทุนชีวิต และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ที่ผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน หาค่าดัชนีความตรงได้เท่ากับ .80 และค่าความเที่ยงได้เท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า ต้นทุนชีวิตมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองทุกรายด้าน
ได้แก่ ด้านโภชนาการ ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านการทำกิจกรรมและการออกกำลังกาย ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ด้านการจัดการความเครียด ด้านความสำเร็จในชีวิต และโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (r = .33, .32, .22, .57, .43, .59 และ .56 ตามลำดับ) สำหรับครอบครัวเข้มแข็งมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับน้อยกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองด้าน การทำกิจกรรมและการออกกำลังกาย ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ด้านการจัดการความเครียด ด้านความสำเร็จในชีวิต และโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .19, .27, .15, .28, และ .24 ตามลำดับ) จากผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นในการส่งเสริมให้สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษาและชุมชนมีส่วนร่วมให้การสนับสนุน และจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนมีความเข้มแข็งในการดูแลสุขภาพตนเอง

This study was correlational research. The purpose of this study was to examine the relationships between families’ strengths, developmental assets and self health care behavior in students at Mahayomsuksa V in co-education school, sathon district, Bangkok Metropolis. The sample of 230 students at Mahayomsuksa V from Phra Mae Maree Sathorn school, Yannawate Witthayakom school, and Kosolphattharawit school. The samples were selected by proportion and simple random sampling. The research tool was a questionnaire including personal data, families’ strengths, developmental assets, and the health care behavior in students. The questionnaire was validated by a group of 3 experts. Its content validity index (CVI) was .80 and its reliability was .93. The data were analyzed for frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson product moment correlation coeffiient. The results indicated that developmental assets was a statistically signifiant at the positive moderate relationships with the self health care behavior in nutrition, health responsibility, activity and exercise, interpersonal relation, stress management, spiritual development aspects, and overall at p<.001 (r = .33, .32, .22, .57, .43, .59, and .56, respectively). However, families’ strengths was a statistically signifiant at the positive low relationships with the self health care behavior in activity and exercise, interpersonal relation, stress management, spiritual development aspects, and overall at p<.05 (r = .19, .27, .15, .28, and .24, respectively). This study suggests that the important things was promoting families, education institution, and community participated in a supportive role, and provided activities for the students in order to increase the good health care behavior.

Downloads

How to Cite

1.
เลิศสาครศิริ ม. ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวเข้มแข็ง ต้นทุนชีวิตกับพฤติกรรมการดูแล สุขภาพตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสหศึกษา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2015 Feb. 4 [cited 2024 Nov. 23];15(3):209-17. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/30557