ตราบาปจากโรคเอดส์ ตัวอย่างความเจ็บป่วยทางสังคม Stigma of HIV: Social Illness
Keywords:
ตราบาป, การรับรู้ตราบาป, ผู้ติดเชื้อเอชไอวี, Stigma of HIV, Social IllnessAbstract
ตราบาปเป็นความรู้สึกว่ามีบาปติดตัว ตราบาปสามารถเกิดขึ้นได้ภายในจิตใจของทุกคน แม้จะไม่สามารถปรากฏให้มองเห็นได้จากภายนอกแต่ผู้มีตราบาปเองก็จะรู้สึกถึงความอัปยศข้างในจิตใจของตนเอง ซึ่งระดับของการรับรู้ตราบาปขึ้นอยู่กับประเภทและระดับการรับรู้ตราบาปของบุคคลนั้น ตราบาปจากโรคเอดส์เป็นตัวอย่างของความเจ็บป่วยทางสังคมที่ชัดเจนอย่างหนึ่งทั้งที่เกิดขึ้นจากตัวผู้ติดเชื้อเองและสังคมเป็นผู้สร้างขึ้น ซึ่งผลการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศพบว่า การรับรู้ตราบาปมีความสัมพันธ์ต่อการเข้าถึงบริการยาต้านไวรัสตลอดจนถึงการติดตามและการให้คำแนะนำด้านสุขภาพต่าง ๆ พยาบาลเป็นบุคลากรที่สำคัญซึ่งจะสามารถช่วยค้นหาและควบคุมปัจจัยการเพิ่มหรือลดระดับการรับรู้ตราบาปเพื่อสร้างแนวทางในการส่งเสริมให้ผู้ติดเชื้อเข้ารับคำแนะนำและการรักษาตามระบบ ซึ่งจะส่งผลในการลดอัตราการตายและการป้องกันการติดเชื้อรายใหม่ตามแผนยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติStigma is a feeling as a sin, it appearable in mind of everyone although invisible but who had stigma will painful, shame and suffering. HIV-person stigma is an evidence social illness constructed by HIV-person and society. Perceived stigma related to receive health service such as anti-retroviral therapy (ART), follow up and health counseling. Nurse is a most important person for fiding, controlling level of perceived stigma and then building protocol for promote HIV-person come to health care system referring to reduce mortality rate and prevent new infection under National policy.
Downloads
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.