ความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับรังสีรักษา: แนวทางการบรรเทาความเหนื่อยล้า Fatigue on Cervical Cancer Patients received Radiotherapy: Fatigue Management Model

Authors

  • สวนีย์ บำรุงสุข สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • กุสุมา กังหลี ภาควิชาการพยาบาลเบื้องต้น กองการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก

Keywords:

ความเหนื่อยล้า, มะเร็งปากมดลูก, การลดความเหนื่อยล้า, Fatigue, cervical cancer, Fatigue Management

Abstract

แม้ว่าปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีในการรักษาโรคมะเร็งที่ก้าวหน้าไปมาก แต่การรักษามะเร็งก็ยังส่งผลกระทบกับผู้ป่วยค่อนข้างมาก ผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับการรักษาด้วยรังสีก็รวมอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ด้วย ซึ่งมักรายงานเกี่ยวกับความเหนื่อยล้าที่เป็นผลจากการได้รับรังสีรักษา และส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจของผู้ป่วยด้วยนอกจากนี้ความเหนื่อยล้ายังเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติตามแผนการรักษา ทำให้ระยะเวลาในการรักษายาวนานออกไปและอาจส่งผลให้เซลล์มะเร็งมีโอกาสแบ่งตัวเพิ่มหรือแพร่กระจายมากขึ้น มีรายงานการศึกษาค้นคว้าและวิจัยที่หลากหลาย เกี่ยวกับวิธีการลดความเหนื่อยล้าในผู้ป่วยมะเร็ง แต่ความเหนื่อยล้า
นั้นเป็นประสบการณ์ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากสาเหตุที่ซับซ้อน จึงได้มีการคิดค้นวิธีการลดความเหนื่อยล้าในรูปแบบต่าง ๆ และนำรูปแบบเหล่านั้นมาผสมผสาน ซึ่งสามารถให้ผลดีกว่าการใช้วิธีการเดียว และผู้ป่วยเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดสำหรับการจัดการกับอาการที่เกิดจากความเหนื่อยล้าดังกล่าว จึงควรให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการเลือกสรรรูปแบบการลดความเหนื่อยล้าที่เหมาะสมกับตนเอง จะเกิดประโยชน์สูงสุด

Although, there is increasing innovation in cancer treatment today but somatic and psychological effects are remaining serious issues among cervical cancer patients received radiotherapy fatigue is one of those issues which affect their life, including physical, mental, socioeconomic status which affects adherence to treatment regimens. Hence, causes prolongation of treatment duration and consequences increasing and probably metastasis of cancer cells. There were varieties of research studies about fatigue management in patients suffering with cancer, which experienced from complex situations. Therefore, fatigue management were studied in variety of facts and constructed in a combined model, which has shown the better outcomes rather than single model used solely. Moreover, the patients are participation for the success of therapeutic treatment therefore they should hold accountability for selection of the suitable self-care model.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
บำรุงสุข ส, กังหลี ก. ความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับรังสีรักษา: แนวทางการบรรเทาความเหนื่อยล้า Fatigue on Cervical Cancer Patients received Radiotherapy: Fatigue Management Model. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2015 Feb. 4 [cited 2024 Dec. 22];15(3):162-9. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/30478