อนามัยเจริญพันธุ์และสุขภาวะทางเพศของกลุ่มสาวเชียร์เบียร์ Reproductive Health Care in Beer Promoters
Keywords:
สาวเชียร์เบียร์, สุขภาพทางเพศ, อนามัยเจริญพันธุ์, การเข้าถึงบริการสุขภาพ, Beer promoters, Sexual health, Reproductive health, Access to health servicesAbstract
การดำเนินโครงการเพื่อการเข้าถึงบริการด้านอนามัยเจริญพันธุ์ของสาวเชียร์เบียร์ที่อพยพมาทำงานในกรุงเทพมหานครมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สาวเชียร์เบียร์เข้าถึงบริการด้านอนามัยเจริญพันธุ์ ระหว่างปี 2553 - 2554 โดยมีสาวเชียร์เบียร์ และผู้ให้ข้อมูลหลักของสถานบริการด้านสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์เป็นผู้ให้ข้อมูลเพื่อให้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการด้านอนามัยเจริญพันธุ์ จากข้อมูลที่ได้ดังกล่าวจะนำไปพัฒนาแบบสำรวจด้านการเข้าถึงอนามัยเจริญพันธุ์ของสาวเชียร์เบียร์ต่อไป จากการประเมินพบว่า ลักษณะของงานสาวเชียร์เบียร์ เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการด้านอนามัยเจริญพันธุ์ ปัจจัยด้านสถานบริการ (ราคา สถานที่ตั้ง สิ่งแวดล้อม เช่น ระยะเวลาการรอคิวการรับบริการ ความสะอาด และการรักษาความลับ) ปัจจัยด้านการให้บริการ (ทัศนคติของเจ้าหน้าที่ เวลาในการเปิดให้บริการ ความสามารถให้ในจ่ายยาที่เหมาะสม) และปัจจัยส่วนบุคคล เช่น ความกลัว ความอาย การขาดความรู้ และการได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวและเพื่อนฝูง ควรจัดให้มีบริการด้านอนามัย เจริญพันธ์ุที่เหมาะสม เช่น เพิ่มเวลาในการเปิดคลินิกในตอนเย็นและวันหยุด ราคาการให้บริการที่ย่อมเยา และระบบที่เอื้อต่อการเข้าถึงบริการ เช่น มีการจ้างบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มเพื่อลดระยะเวลาการรอรับบริการ จัดหายาที่เหมาะสม จัดคลินิกเคลื่อนที่ ให้สุขศึกษาและสร้างเสริมภาวะ สุขภาพ อนามัยเจริญพันธุ์ที่ดี และป้องกันโรคแก่กลุ่มสาวเชียร์เบียร์อพยพต่อไป
The project was to assess access to sexual and reproductive health services for women who work as beer promoters in Bangkok, Thailand during 2010 to 2011 by identify the factors related to beer promoters and health care services key informants affecting beer promoters’ access to health care institutions for reproductive health care. The fidings were used to develop a survey for Thai beer promoters. Several common themes were evident. Work demands prevented beer promoters from accessing health care services. Institutional factors affecting care included cost, location, environmental factors (e.g. waiting times, cleanliness and confientiality) and service factors (e.g. staff attitudes, clinic hours, and availability of medications). Personal factors affecting access were shyness and fear, lack of knowledge, and support from family and friends. In Conclusions, the provision of evening and weekend clinic hours to facilitate access, free or low cost clinics, and health insurance through employer or government plans which are easy to access for Beer Promoters. Other improvements that would facilitate the access of beer promoters to these services include increased
funding to hire more staff (reducing waiting times) and to stock more needed medications, mobile clinics to come to the workplace or free transportation for beer promoters to the clinics, improved training to reduce health care provider stigma against beer promoters, and public education about the importance of reproductive health care, including preventative services.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.