พยาบาลกับการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ Nurses and Development of Emotional Quotient

Authors

  • กุนนที พุ่มสงวน ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
  • กัลยา ไผ่เกาะ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก

Keywords:

ความฉลาดทางอารมณ์, การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์, พยาบาล, Emotional Quotient, Development Of Emotion Quotient, Nurses

Abstract

การดำเนินชีวิตที่ขาดความเข้าใจในตนเอง และขาดความสามารถในจัดการปัญหาทางด้านอารมณ์จะทำให้เกิดปัญหากับตัวบุคคล และบุคคลอื่น แต่ถ้าบุคคลมีความฉลาดทางอารมณ์จะสามารถประสบความสำเร็จในชีวิตได้มากกว่าผู้อื่น เพราะความฉลาดทางอารมณ์เป็นความสามารถของบุคคลในการตระหนักรู้ และเข้าใจอารมณ์ หรือความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น ทำให้บุคคลสามารถจัดการกับอารมณ์ของตนเอง และสามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นได้ ความฉลาดทางอารมณ์เป็นสิ่งที่สามารถพัฒนาได้ ถ้าผู้ใดสามารถพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ได้ดี จะทำให้บุคคลนั้นมีสุขภาพจิตดี สามารถจัดการกับความเครียดได้ไม่ว่าจะต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่กดดันเพียงใด พยาบาลเป็นบุคลากรทางสุขภาพที่ใกล้ชิดกับผู้รับบริการโดยตรง ถ้าพยาบาลเป็นผู้มีความฉลาดทางอารมณ์แล้ว ย่อมสามารถจัดการกับอารมณ์ของตนเองและของผู้ป่วยได้ ดังนั้นพยาบาลจำเป็นต้องมีความฉลาดทางอารมณ์โดยเข้าใจอารมณ์ของตนเอง และสามารถจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ ต้องเข้าใจความคิด ความรู้สึก และความต้องการของ
ผู้ป่วย รับฟังปัญหาอย่างตั้งใจ นอกจากนี้พยาบาลควรต้องส่งเสริม สนับสนุนเอื้ออำนวยให้ผู้ป่วยมีความฉลาดทางอารมณ์เพื่อให้ผู้ป่วยดูแลตนเอง และจัดการกับอารมณ์ตนเองได้อย่างเหมาะสม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติสุข บนพื้นฐานของความฉลาดทางอารมณ์อยู่เบื้องหลังที่ทำให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

A lack of self-understanding and lack of the ability to handle emotional problems can result in problems for individuals and other people around them. Those with a high emotional quotient are more likely to be

Downloads

How to Cite

1.
พุ่มสงวน ก, ไผ่เกาะ ก. พยาบาลกับการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ Nurses and Development of Emotional Quotient. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2015 Feb. 4 [cited 2024 Apr. 20];15(3):18-23. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/30213