ปัจจัยทำนายน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของสตรีขณะตั้งครรภ์ Predictive Factors of Gestational Weight Gain

Authors

  • บุญสิตา จันทร์ดี พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • เยาวลักษณ์ เสรีเสถียร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วรรณา พาหุวัฒนกร อาจารย์ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

สตรีตั้งครรภ์, น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์, ปัจจัยทำนาย, pregnant women, gestational weight gain, predictive factor

Abstract

การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการทำนายน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของ สตรีตั้งครรภ์ โดยปัจจัยด้านอายุ จำนวนครั้งของการคลอด ดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ การบริโภคอาหารและกิจกรรมทางกาย กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีที่ฝากครรภ์และคลอดที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า มีคุณสมบัติตามเกณฑ์จำนวน 109 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบบันทึกและสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการบริโภคอาหาร และแบบสอบถามกิจกรรมทางกายขณะตั้งครรภ์ วิเคราะห์ ข้อมูลโดยคำนวณร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติถดถอยโลจิสติกส์ ผลการศึกษาพบว่าสตรีขณะตั้งครรภ์มีน้ำ หนักเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ร้อยละ 40.37 เกินเกณฑ์ร้อยละ 44.95 และน้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 14.68 การบริโภคอาหารและดัชนีมวล กายก่อนตั้งครรภ์สามารถร่วมกันทำนายน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 17.7 (R2 = 0.177) และทำนายได้ถูกต้องร้อยละ 68.8 การบริโภคอาหารสามารถทำนายน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ได้ 1.075 เท่า (95% CI 1.006 - 1.149) ผู้ที่มีดัชนีมวลกายก่อน ตั้งครรภ์ต่ำกว่าเกณฑ์มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์เป็น 2.965 เท่า (95% CI 1.149 - 7.652) และผู้ที่มีดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ มากกว่าเกณฑ์มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์เป็น 0.264 เท่า (95% CI 0.053 - 1.316) ของผู้ที่มีดัชนีมวลกายปกติ

ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ สตรีตั้งครรภ์ทุกรายควรได้รับการประเมินดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ เพื่อจะได้ให้ คำแนะนำเกี่ยวกับน้ำหนักที่ควรเพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนสตรีตั้งครรภ์ให้บริโภคอาหารอย่างเหมาะสม

 

The purpose of this study was to predict gestational weight gain (GWG) by age, parity, pre-pregnancy body mass index (BMI), food consumption and physical activity. Subjects were 109 women who attended antenatal care clinic (ANC) and delivery at Phramongkutklao hospital. Data were collected by using demographic information questionnaire, the food consumption during pregnancy questionnaire and the physical activity during pregnancy questionnaire. Data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation and logistic regressions. The results of this study showed that 40.37% of pregnant women gained within the recommended weight during their pregnancies, 44.95% gained over the recommendation, and 14.68% gained less than recommendation. Food consumption and pre-pregnancy BMI together could predict 17.7% (R2 = 0.177, p

The recommendations of the study are that pre-pregnancy BMI of pregnant women should be assessed to guide GWG, promote and support information about appropriate food consumption during pregnancy to adequate weight gain.

Downloads

How to Cite

1.
จันทร์ดี บ, เสรีเสถียร เ, พาหุวัฒนกร ว. ปัจจัยทำนายน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของสตรีขณะตั้งครรภ์ Predictive Factors of Gestational Weight Gain. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2014 Dec. 8 [cited 2024 Nov. 24];15(2):339-47. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/25301