ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยสิ่งแวดล้อม กับความเครียด และการจัดการความเครียดขณะฝึกปฏิบัติงานห้องคลอดของนักศึกษา พยาบาล วิทยาลัยเซนต์หลุยส์

Authors

  • มาลีวัล เลิศสาครศิริ กลุ่มวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์

Keywords:

ความเครียด, การจัดการความเครียด, นักศึกษาพยาบาล, ฝึกปฏิบัติงานห้องคลอด, Stress, Stress management, Nursing students, Practice in labor room

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยสิ่งแวดล้อมกับความเครียดและการจัดการความเครียดขณะฝึกปฏิบัติงานห้องคลอดของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาฝึกปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ปีการศึกษา 2555 ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 133 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล การฝึกปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ความเครียดและการจัดการ
ความเครียด ที่ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และหาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ .95, .92 และ .76 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 มีความเครียดขณะฝึกปฏิบัติงานห้องคลอดอยู่ในระดับปานกลาง มีการจัดการความเครียดอยู่ในระดับดี ปัจจัยสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับการจัดการความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.46) แต่ด้านสัมพันธภาพกับอาจารย์ สถานที่ฝึกปฏิบัติงาน/สภาพแวดล้อมมีความสัมพันธ์ ทางลบระดับต่ำกับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=-.26 และ -.24 ตามลำดับ) สำหรับปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับความเครียดและการจัดการความเครียด จึงมีข้อเสนอแนะว่าอาจารย์ควรมีการจัดโปรแกรมการจัดการกับความเครียด เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาพยาบาล ในการฝึกปฏิบัติการพยาบาล

The purpose of this descriptive research was to study the relationships between personal factors, environment factors and stress, stress management during practice in labor room of nursing students at Saint
Louis College. The samples were third year and fourth year nursing students, who registered Maternal-Newborn and Midwifery Nursing Practicum in the academic year 2012. The samples were selected by simple random ne"> sampling. The data were collected by using the questionnaires including personal data, Maternal-Newborn and Midwifery nursing practice, stress and stress management. The research instruments were validated by three experts and the reliability of the questionnaire by using Cronbach’s Alpha Coeffiient were .95, .92, and .76 respectively. The data were analyzed to fid frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s Product Moment Correlation Coeffiient. The results indicated that the stress of the samples was at moderate level, and the good stress
management. Environment factors had moderate positive relationship with stress management at statistically signifiant level .01(r = .46). However, aspects of the relationship of teachers and the place for practice had
low negative relationship with stress at statistically signifiant level .01 (r = -.26 and -.24). In contrast, there was no relationship between personal factors on stress, and stress management during practice in labor room.
The fidings suggested that it should have developed stress management program in order to prepare the readiness of nursing students in clinical practice.

Downloads

How to Cite

1.
เลิศสาครศิริ ม. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยสิ่งแวดล้อม กับความเครียด และการจัดการความเครียดขณะฝึกปฏิบัติงานห้องคลอดของนักศึกษา พยาบาล วิทยาลัยเซนต์หลุยส์. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2014 Dec. 8 [cited 2024 Nov. 5];15(2):270-9. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/25189