การสำรวจความสุขของบุคลากรแผนกพยาบาลอุบัติเหตุและเวชกรรมฉุกเฉินโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า The Happiness Exploration of Staffs in Trauma and Emergency Nursing Department, Phramongkutklao Hospital
Keywords:
ความสุข, เครื่องมือสำรวจความสุข, Happy, HappinometerAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความสุขของบุคลากรแผนกพยาบาลอุบัติเหตุและเวชกรรมฉุกเฉิน โรงพยาบาล พระมงกุฎเกล้ากลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทางการพยาบาลแผนกพยาบาลอุบัติเหตุและเวชกรรมฉุกเฉินทุกระดับ จำนวน 210 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสำรวจความสุขด้วยตนเอง (Happinometer) ฉบับเต็ม จากสำนักงานกองทุนส่งเสริมสุขภาพ (สสส.) มีองค์ประกอบ รวมทั้งสิ้น 10 มิติ คือข้อมูลทั่วไป มี 1 มิติ ความสุข 8 มี 8 มิติ ได้แก่ ร่างกายดี ผ่อนคลายดี น้ำใจงาม การมีคุณธรรม ครอบครัวดี สังคมดี การหาความรู้ ใช้เงินเป็น และเพิ่มความสุขอีก 1 มิติ คือการงานดี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละและค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสุขเฉลี่ยของบุคลากรจำแนกตามหน่วยงานอยู่ในระดับ มีความสุข (Happy) ( อยู่ในช่วง 58.2-65.9) หน่วยงานที่มีระดับความสุขเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ หอผู้ป่วยอุบัติเหตุ 4, ไอ.ซี.ยู.ราชการสนาม ( = 64.8,64.9) หน่วยงานที่มีระดับ ความสุขเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ( = 58.2)
2. ความสุขภาพรวมรายมิติส่วนใหญ่อยู่ในระดับ มีความสุข (Happy) ( = 58-71.4) ความสุขภาพรวมมิติจิตวิญญาณ มีค่าสูงที่สุด ( = 71.4) ส่วนความสุขภาพรวมมิติผ่อนคลายอยู่ในระดับ ไม่มีความสุข (Unhappy) ( = 49.9)
3. เมื่อพิจารณาแต่ละมิติพบว่าหอผู้ป่วยอุบัติเหตุ 4 มีระดับ ความสุขมาก (Very Happy) 2 มิติคือ น้ำใจดี ( = 78.7) และจิตวิญญาณดี ( = 78.9) หอผู้ป่วย ไอ.ซี.ยู.ราชการสนามมีระดับ ความสุขมาก (Very Happy) ในมิติการงานดี ( = 75.4) ในทางตรงข้ามพบว่ามีหน่วยงานที่คะแนนมิติผ่อนคลายในระดับ ไม่มีความสุข (Unhappy) ถึง 2 หน่วยงานคือห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ( = 46.6) และหอผู้ป่วยอุบัติเหตุหญิง ( = 48.1)
ผลการวิจัยครั้งนี้สะท้อนให้เห็นระดับความสุขของบุคลากรแผนกพยาบาลอุบัติเหตุและเวชกรรมฉุกเฉินทั้งในภาพรวมและแยกรายมิติ ผู้บริหารสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการหาแนวทางการส่งเสริมความสุขของบุคลากร เพื่อให้บุคลากรทางการพยาบาลปฏิบัติงานอย่างมีความสุข และมีความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กร
This research purposed to assess the happiness of staffs in Trauma and Emergency Nursing Department, Phramongkutklao Hospital. Participants were 210 staffs in Trauma and Emergency Nursing Department. The self-assessed Happinometer was applied from Thai Health Promotion FoundationHappinometer which composed of 10 dimensions: one of personal data dimension, eight of happy dimensions (Happy Body, HappyRelax, HappyHeart, HappySoul, HappyFamily, HappySociety, Happy Brain and Happy Money) and one of Happy Plus dimension which is happy work life. Percentage and Mean were applied to analyze the data. The research results were
1. The average happiness level of staffs in Trauma and Emergency Nursing Department was Happy ( = 58.2-65.9). Trauma-4 ward and Trauma Intensive Care Unit had the highest happiness level ( = 64.8,64.9)
respectively, Emergency room had the lowest happiness level ( = 58.2).
2. The overview happiness level was Happy ( = 58-71.4). The happiness level in the Happy Soul dimension was the highest ( = 71.4) and Happy Relax was the lowest ( = 57.9).
3. The happiness level by dimension, the Trauma-4 ward had “Very Happy” in 2 dimensions: happy heart ( = 78.7) and happy soul ( = 78.9). Trauma ICU had “Very Happy” in happy work ( = 75.4) Meanwhile, the happy relax was “Unhappy” in Emergency room ( = 46.6) and Female Trauma ward ( = 48.1)
The level of happiness among healthcare staffs in Trauma and Emergency Nursing Department is a good supporting data for their executives in developing policy or campaign to enhance happiness level of their staffs especially in happy work life and royalty.
Downloads
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.