การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้อย่างมีความสุขในวิชาปฏิบัติการพยาบาล ผู้ใหญ่ 2 เพื่อเสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักศึกษาพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
Keywords:
รูปแบบการเรียนรู้อย่างมีความสุข, วิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 2, ความสุขในการเรียนรู้, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, นักศึกษาพยาบาล, Happiness Learning Instructional Model, Adult Nursing Practicum II, Learning Happiness, Critical Thinking, Nursing StudentsAbstract
งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้อย่างมีความสุขในวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 2 เพื่อเสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ประชากรคือนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 ที่กำลังเรียนภาคปฏิบัติรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 64 คน ผู้วิจัยได้ทำการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลากให้เป็นกลุ่มทดลองจำนวน 15 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 15 คน รวมกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความสุขในการเรียนรู้ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา สถิติทดสอบที และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม MANCOVA ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. รูปแบบการเรียนรู้อย่างมีความสุขเพื่อเสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การบริหารสมอง 2. การเห็นคุณค่าการเรียนรู้ 3. การใช้ผังมโนทัศน์ 4. การเรียนรู้โดยเน้นประสบการณ์ 5. การคิดไตร่ตรอง สะท้อนความรู้สึก และ 6. การให้ข้อมูลย้อนกลับ
2. ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล พบว่า 2.1 ความสุขในการเรียนรู้ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณของกลุ่มทดลองหลังได้รับการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อน ได้รับการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2.2 ความสุขในการเรียนรู้ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
ผลจากการวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ในครั้งนี้ ก่อให้เกิดประสิทธิผลในการเรียนรู้ของผู้เรียน จึงเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ควรนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ต่อไป
This study was a development of the happiness learning instructional model in adult nursing practicum II for promoting learning happiness and critical thinking among nursing students, Kuakarun Faculty of Nursing, Navamindradhiraj University. The population was composed of 64 junior-year students who had been studying in the adult nursing practicum II in 2013. The researcher did a simple random sampling to divide the students, 30 in to two groups: the experimental group was composed of 15 students and the control group was composed of 15 students. The research instrument used in this study was a questionnaire about learning
happiness, and critical thinking. Data analysis used descriptive statistics, t-test, and MANCOVA (Multivariate analysis of covariance). The results of this study revealed that:
1. The happiness learning instructional model for promoting learning happiness and critical thinking among nursing students contained six sequential steps; 1) Brain Gym, 2) Value of learning, 3) Concept mapping,
4) Experience learning, 5) Reflction, and 6) Feedback.
2. The effectiveness of the happiness learning instructional model for promoting learning happiness and critical thinking among nursing students was found that: 2.1 Learning happiness and critical thinking among the experimental group post-use the happiness learning instructional model were signifiantly statistical higher than pre- use the instructional
model (p < 0.001). 2.2 Learning happiness and critical thinking among the experimental group were signifiantly statistical higher than the control group (p < 0.001).
As the result of the research and development, it could be concluded that the instructional model was affective. Therefore, this instructional model should be applied for the learning provision.
Downloads
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.