ประสิทธิผลของโปรแกรมฟื้นฟูสภาพหลังผ่าตัดกระดูกสะโพกหักของผู้ป่วยสูงอายุ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า Effectiveness of Post Surgery Rehabilltatinon Program for Elderly Patients with HIP Fractuer in Phramongkutklao Hospital
Keywords:
ประสิทธิผล, โปรแกรมการฟื้นฟูสภาพหลังผ่าตัดกระดูกสะโพกหัก, ผู้ป่วยสูงอายุ, Effectiveness, Post Surgery Rehabilitation Program, Post Surgery, Hip Fracture/Elderly PatientsAbstract
การวิจัยกึ่งทดลองนี้เป็นการศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมที่ประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม เป็นกรอบในการกำหนดกิจกรรมสุขศึกษาเพื่อฟื้นฟูสภาพหลังผ่าตัดกระดูกสะโพกหักของผู้ป่วยสูงอายุกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่มารับการรักษาด้วยการผ่าตัด ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า วิเคราะห์ประสิทธิผลของโปรแกรมด้วยสถิติ Paired t-test และ Independent t-test ผลการศึกษาพบว่าภายหลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเองความคาดหวังในผลดี และพฤติกรรมการออกกายบริหารและการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อฟื้นฟูสภาพหลังผ่าตัดมากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) เช่นเดียวกับแรงสนับสนุนทางสังคมจากญาติผู้ดูแลซึ่งพบว่ากลุ่มทดลองได้รับแรงสนับสนุนเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และที่สำคัญมากกว่านั้นคือ ส่งผลให้กลุ่มทดลองมีระยะเวลาการนอนรักษาตัวเฉลี่ยลดลง และน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ 2.88 วัน และค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการรักษาลดลงและน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ 10,530.94 บาท ดังนั้น สถานพยาบาลควรส่งเสริมและกระตุ้นผู้ป่วยหลังผ่าตัดให้ออกกายบริหาร และมีญาติผู้ดูแลคอยให้กำลังใจ ดูแลและส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการออกกายบริหารอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ จะทำให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้เร็วขึ้น และดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี และลดความสูญเสีย ของครอบครัวและประเทศชาติโดยรวม
This quasi-experimental research aimed to study the effectiveness of a program that applied the self-effiacy theory and social support in providing health education activities for rehabilitation program for elderly with post-surgery of hip fracture. The sample was 50 hip fracture patients who received surgery at Phramongkutklao Hospital. The data were analyzed by Paired t-test and Independent t-test to determine the effectiveness of the program.
The results indicated that after attending the program, the experimental group has been possitivelyin knowledge, self-effiacy, outcome expectations, and exercise physical activities for post-surgery rehabilitation and these changes were signifiantly higher than comparative group (p < 0.001). Furthermore, the social support ofcaregivers in both the experimental group and control group increased, but the experimental group signifiantly had higher social support. The important impact on the experimental patients were decreasing length of stay for 2.88 days, and treatment expenditure for 10,530.94 bath, compared with the comparative patients. Therefore, post surgery rehabilitation program that promote frequent and regular exercise with appropriate approach lead the patients to achieve greater quality oflife and decreased family and nation loss.
Downloads
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.