ภาวะการสูบฉีดเลือดจากหัวใจต่อนาทีลดต่ำในผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ ความท้าทายของพยาบาลหัวใจและหลอดเลือด Low Cardiac Output Syndrome in Cardiac Surgery Patient: Challenging Cardiovascular Nurses

Authors

  • สุวีณา เบาะเปลี่ยน ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก

Keywords:

ภาวะการสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจต่อนาทีลดต่ำ, การผ่าตัดหัวใจ, บทบาทพยาบาลหัวใจและหลอดเลือด, Low cardiac output syndrome, cardiac surgery, Cardiovascular Nurses’s roles

Abstract

ผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดหัวใจ จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ ภาวะการสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจต่อนาทีลดต่ำ หรือLow cardiac output syndrome (LCOS) ซึ่งเป็นภาวะที่ต้องเฝ้าระวังเป็นอย่างยิ่งในผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ ทำให้เกิดการทำลายของเนื้อเยื่อในอวัยวะสำคัญทั้งชนิดชั่วคราวและถาวร ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นระยะเวลานาน และเพิ่มระยะเวลาวันนอนโรงพยาบาล เป็นผลให้ผู้ป่วยเกิดความพิการ หรืออาจเสียชีวิตหลังการผ่าตัดได้ส่งผลต่อระบบบริการสุขภาพโดยรวม การจัดการภาวะสูบฉีดเลือดจากหัวใจต่อนาทีลดต่ำ ในผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดหัวใจในระยะวิกฤต สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ การจัดการในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัดหัวใจ เน้นป้องกันการเกิดภาวะเลือดออก ภาวะหัวใจถูกกดเบียด และการจัดการในระยะ 24 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัดจนกระทั่งออกจากหอผู้ป่วยวิกฤต เน้นการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องสัญญาณชีพ ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ภาพถ่ายรังสีทรวงอก ค่าอัตราปริมาณเลือดจากหัวใจในหนึ่งนาทีต่อพื้นที่ผิวกายของผู้ป่วย รวมทั้งอาการปลายมือ เท้าเย็น ซึ่งบ่งบอกถึงการไหลเวียนเลือดส่วนปลายไม่เพียงพอ จึงเป็นความท้าทายของพยาบาลหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นผู้ให้การพยาบาลผู้ป่วยระยะวิกฤตกลุ่มนี้ต้องมีความรู้ความสามารถ และมีบทบาทในการจัดการความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งส่งผลร้ายแรงกับผู้ป่วยได้หากการจัดการของพยาบาลไม่เหมาะสม พยาบาลหัวใจและหลอดเลือดจึงต้องเข้าใจบทบาทของตนเอง เพื่อทำการดูแลผู้ป่วยวิกฤตกลุ่มนี้ให้ปลอดภัย ลดปัจจัยเสี่ยงและการเกิดอาการจากภาวะ LCOS เพิ่มโอกาสให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยกลุ่มนี้ดีขึ้นต่อไป

Low cardiac output syndrome (LCOS) is a common complication found in patients after a cardiac surgery’s done. This condition does not only account for both temporary and permanent tissue damage of vital organs, but also increase intubation period, length of stay, morbidity and mortality rates. It negatively impacts on health system in general. Management of Low cardiac output syndrome after cardiac surgery to consist of 2 most important periods including (1) two hours after cardiac surgery for prevention severe bleeding and cardiac tamponade and (2) during 24 hours after cardiac surgery to the day discharged from ICU "> for detection and protection the poor tissue perfusion signs. Therefore, the challenging of cardiovascular nurses for these critical patients are the effective management in order to prevent risk factors, increase safety life and improve quality of life among the patients with low cardiac output syndrome after a cardiac surgery’s done.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
เบาะเปลี่ยน ส. ภาวะการสูบฉีดเลือดจากหัวใจต่อนาทีลดต่ำในผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ ความท้าทายของพยาบาลหัวใจและหลอดเลือด Low Cardiac Output Syndrome in Cardiac Surgery Patient: Challenging Cardiovascular Nurses. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2014 Dec. 8 [cited 2024 Dec. 22];15(2):135-40. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/25169