การประเมินหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก The Evaluation of the Program in Nursing Specialty in Nurse Practitioner (Primary Medical Care), The Royal Thai Army Nursing College
Keywords:
การประเมินหลักสูตร, การพยาบาลเฉพาะทาง, เวชปฏิบัติทั่วไป, The Evaluation of the Program, Nursing Specialty, Nurse PractitionerAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงประเมิน เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการเข้าศึกษาและการเรียนการสอนในหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางและเพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการจัดการเรียนการสอน และผลผลิตของหลักสูตร การประเมินหลักสูตร เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) รุ่นที่ 1 ถึงรุ่นที่ 5 จำนวน 151 คน โดยใช้แบบสอบถามปลายปิดและปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 113 คน มีอายุเฉลี่ย 41.35 ปี (อายุมากที่สุด = 47 ปี, น้อยที่สุด = 28 ปี) จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีร้อยละ 61.94 ส่วนใหญ่ปฏิบัติงานในเขตกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 57.52 ทำงานในตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพร้อยละ 46.02 โดยร้อยละ 39.82 เป็นพยาบาลหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ หลังจบการศึกษาได้ปฏิบัติงานการดูแลสุขภาพชุมชนด้านการส่งเสริมป้องกันโรคมากที่สุด ( = 4.65) กลุ่มตัวอย่างปฏิบัติการซักประวัติและประเมินสภาพร่างกาย วินิจฉัยและรักษาพยาบาล รวมทั้งการให้ยาผู้มาใช้บริการได้ในระดับดี สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้มากที่สุด ( = 4.38) อาจารย์มีความรู้ความสามารถในวิชาที่สอนอยู่ในระดับดี ( = 4.54) ในด้านการพัฒนาตนเองกลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติที่ดีต่องานพยาบาลเวชปฏิบัติ ( = 4.59)
ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมีความคิดเห็นต่อหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับดีสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมาได้เป็นอย่างดี และควรเพิ่มการจัดการเรียนการสอนในหัวข้อการใช้ยาโดยเฉพาะยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ กฎหมายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับพยาบาลเวชปฏิบัติ การจัดการฐานข้อมูลสุขภาพชุมชน การแพทย์ทางเลือก และควรมีการจัดอบรมหลักสูตรฟื้นฟูทางวิชาการสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ที่ทันสมัยสอดคล้องกับปัญหาด้าน สุขภาพและความต้องการของสังคม
The research is evaluation research aimed to study about opinions on admission and teaching learning activities of the program in nursing specialty in nurse practitioner (primary medical care). The researchers also focused on evaluating contexts, input, teaching-learning process and output of the program. Data were collected from 151 graduates of the program in nursing specialty in nurse practitioner(primary medical care) from class 1 to 5. The closed-ended and opened-ended questionnaires were used.
The research results found that samples were 113 graduates. The average age was 41.35 years old, ranging from 28 to 47. The highest educational level was bachelor degree (61.94%). Most of the samples worked in Bangkok area (57.52%), and worked in the position of registered nurse (46.02%). 39.82% of the samples worked as a nurse in primary care unit. After completing the program, the samples provided health care in the field of health promotion and disease prevention ( = 4.65). The samples presented skills included history taking, health assessment, differential diagnosis and intervention, as well as drug administration to the clients in a good level and apply knowledge to practice at the most ( = 4.38). The opinions on the instructors about having knowledge and capability in the interested subjects were in a good level ( = 4.54). For the self-developing, the samples had good attitude towards nurse practitioner ( = 4.59).
The results showed that the samples had opinions on the program and teaching-learning activities in a good level and could apply knowledge to practice very well. Also, the Program in Nursing Specialty in Nurse Practitioner should add more topics about drug use, especially drugs in National List of Essential Medicines, professional law related to nurse practitioner, database management in community health, alternative medicine should be included. The refresher course training for nurse practitioner is recommended in order to improve knowledge significant to health problems and social need.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.