จิตตปัญญาศึกษา : การศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ในศตวรรษที่ 21 Contemplative education: education for human development in 21st century

Authors

  • ปราณี อ่อนศรี ภาควิชาความรู้พื้นฐาน วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก

Keywords:

จิตตปัญญาศึกษา, การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง, การพัฒนามนุษย์, Contemplative education, Transformative learning, Human development

Abstract

จิตตปัญญาศึกษา เป็นกระบวนการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ เน้นการพัฒนาความคิด จิตใจ อารมณ์ภายในตนเองอย่างแท้จริง เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ในตนเอง รู้คุณค่าของสิ่งต่างๆ โดยปราศจากอคติ เกิดความรักความเมตตา อ่อนน้อมต่อธรรมชาติ มีจิตสำนึกต่อส่วนรวม และสามารถประยุกต์เชื่อมโยงกับศาสตร์ต่างๆ ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างสมดุลและมีคุณค่า ด้วยเหตุนี้ จิตตปัญญาศึกษาจึงเป็นทั้งแนวคิดและแนวปฏิบัติ ที่มีจุดมุ่งหมายให้เกิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงในระดับต่างๆ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงภายในตน การเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร และการเปลี่ยนแปลงภายในสังคม โดยที่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานอย่างลึกซึ้ง โดยจิตตปัญญาศึกษาเป็นแนวคิดและแนวปฏิบัติ ส่วนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเป็นเป้าหมาย โดยเป็นการขยายจิตสำนึกโดยผ่านกระบวนการเปลี่ยนมุมมองของเรื่องราวต่างๆ ในการสัมผัสได้ถึงความรู้สึกใต้จิตสำนึก เพื่อพัฒนามนุษย์ ซึ่งกระบวนการต่างๆ นี้ จัดเป็นการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 ที่เป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง เพื่อโยงจิตตปัญญาศึกษาสู่ transformative education เพื่อพัฒนามนุษย์

Contemplative education is a philosophy of higher education that infuses learning with the experience of awareness, insight and compassion for  oneself and others  through the erudite academic practices of meditation. Contemplative education is both concept and practice that purposes to transformative learning in various level such as self transformation, organizational  transformation and social transformation. Transformative learning leads to basic change deeply. Contemplative education helps students know themselves  more  deeply and engage constructively  with  others. The goal is not to nurture the solitary contemplative only; it is also to cultivate those act as preparation for compassionate and transformative work in the world. More specifically, the value of contemplative education is measured in students’ ability to put their wisdom and insight into practice through creative, helpful and effective action. Conclusion, Contemplative education is concept and practice that goal to transformative learning.

Downloads

How to Cite

1.
อ่อนศรี ป. จิตตปัญญาศึกษา : การศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ในศตวรรษที่ 21 Contemplative education: education for human development in 21st century. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2014 Jun. 2 [cited 2024 Nov. 14];15(1):7-11. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/18422