การประเมินผลการใช้สื่อการสอนหุ่นตรวจครรภ์และวีซีดีการตรวจครรภ์ของนักเรียนพยาบาลกองทัพบกชั้นปีที่3 รุ่นที่47 The Evaluation of Pregnancy Model and VCD of Obstetrical examination in Pregnant women among nursing student of Royal Thai Army Nursing Colleg

Authors

  • หทัยรัตน์ ขาวเอี่ยม ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
  • ขวัญเรือน ด่วนดี ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก

Keywords:

หุ่นตรวจครรภ์, วีซีดีการตรวจครรภ์, ประสิทธิภาพ, ประสิทธิผล, ความมั่นใจ, VCD of Obstetrical exam, Pregnancy model, Effectiveness, Efficiency, Self-confidence

Abstract

สื่อการสอน วีซีดีการตรวจครรภ์และหุ่นตรวจครรภ์ จัดทำขึ้นเพื่อให้นักเรียนพยาบาลได้ศึกษาเพื่อเพิ่มความรู้ ทักษะ และความมั่นใจในการตรวจครรภ์ นอกเหนือจากการเรียนการสอนในชั้นเรียนกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนพยาบาลกองทัพบก ชั้นปีที่ 3 รุ่นที่ 47 จำนวน 77 นาย ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อการสอนที่จัดทำขึ้น ก่อนฝึกปฏิบัติงานกับหญิงตั้งครรภ์จริงได้ผลการประเมินดังนี้  วีซีดีมีประโยชน์  ก่อนการขึ้นฝึกปฏิบัติงานจริงที่ห้องฝากครรภ์  อยู่ในเกณฑ์มากที่สุดมีค่าเฉลี่ย  เท่ากับ 4.66 (S.D = 0.48) หุ่นตรวจครรภ์มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 (S.D = 0.57) ช่วยให้นักเรียนพยาบาลตรวจครรภ์ได้แม่นยำอยู่ในเกณฑ์มากที่สุดมีค่าเฉลี่ย 4.64 (S.D = 0.50) และพบว่าการฝึกกับหุ่นตรวจครรภ์ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ดีขึ้น อยู่ในเกณฑ์มากค่าเฉลี่ย 4.47 (S.D = 0.59) หลังจากฝึกกับหุ่นตรวจครรภ์มีความมั่นใจในการตรวจครรภ์กับอาจารย์นิเทศและในขั้นตอนของการตรวจครรภ์มีค่าเฉลี่ย 4.32 (S.D = 0.52) และ 4.30 (S.D = 0.60) ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยระหว่างกลุ่มที่ไม่ได้ฝึกวีซีดีการตรวจครรภ์และหุ่นตรวจครรภ์ โดยใช้ สถิติ Independent Samples t-test พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.01

Researchers made the pre-natal learning materials both VCD and pregnancy model, aimed to increase Obstetrical  examination knowledge,  skill  and  self-confidence before  practicing with pregnant women at
Antenatal care unit. Total 77 third year nursing students were voluntary recruited to self-learning from VCD and pregnancy model. The descriptive statistics were used and shown that VCD was most useful before practicing
with pregnant women by means 4.66 (S.D = 0.48), pregnancy model was most productive for studying and learning by means 4.55 (S.D = 0.57). The effectiveness dimension model shown nursing students have earned
the  Obstetrical examination skill  with  the  highest  means  4.64  (S.D.=  0.50). The efficiency dimension  of pregnancy model founded that nursing students improved their learning and studying with high means 4.47 (S.D. = 0.59). Nursing student gained the self-confidence in practicing with nursing instructors and procedure of Obstetrical  examination  technique  with means 4.32 (S.D.= 0.52) และ 4.30 (S.D.= 0.60) consequently. Independent Samples t-test was used to compare the class with and without VCD and model found the statistical significant difference at P-Value<0.01.

Downloads

How to Cite

1.
ขาวเอี่ยม ห, ด่วนดี ข. การประเมินผลการใช้สื่อการสอนหุ่นตรวจครรภ์และวีซีดีการตรวจครรภ์ของนักเรียนพยาบาลกองทัพบกชั้นปีที่3 รุ่นที่47 The Evaluation of Pregnancy Model and VCD of Obstetrical examination in Pregnant women among nursing student of Royal Thai Army Nursing Colleg. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2014 Feb. 2 [cited 2024 Nov. 19];14(3):189-95. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/16033