ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการบริการที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า Factors Effected to Client satisfaction toward the Services of the Emergency Accidental room at Phramongkutklao Hospital
Keywords:
ปัจจัย, การบริการห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน, ความพึงพอใจของผู้รับบริการ, Factors, services of the emergency room, Client satisfactionAbstract
การวิจัยแบบบรรยาย (Descriptive Research) ในครั้งนี้มุ่งศึกษาถึงระดับความพึงพอใจและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้ป่วยหรือญาติที่มารับบริการในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าจำนวน 260 คน ในห้วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม ปี 2555 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้รับบริการตามแนวคิดของ Davis and Bush (1995) ซึ่งผู้วิจัย
ดัดแปลงมาจากของจันทรา จินดา (2546) มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.976 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติทดสอบไคว-สแควร์ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผู้มารับบริการที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า มีความพึงพอใจต่อการให้บริการโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.84, SD=0.74) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทั้ง 3 ด้าน พบว่าทั้ง 3 ด้านมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากตามลำดับดังนี้ ด้านการดูแลจิตใจ (=3.90, SD=0.92) ด้านการให้ข้อมูลข่าวสาร ( =3.75, SD=0.92) ด้านความสามารถทางการปฏิบัติงาน ( =3.49, SD=0.97)
2.ปัจจัยได้แก่ เพศ อายุ รายได้ การศึกษา อาชีพ และสิทธิการรักษาที่แตกต่างกัน มีความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการบริการที่ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าไม่แตกต่างกัน (X2= 8.18, F=2.14, .89, 1.81, .79 และ 1.14 ตามลำดับ, p> .05)
ผลการศึกษาแสดงว่าความพึงพอใจของผู้มารับบริการที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้ามีความพึงพอใจต่อการให้บริการโดยรวมอยู่ในระดับมาก ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการดูแลจิตใจ ด้านการให้ข้อมูลข่าวสาร ด้านความสามารถทางการ ปฏิบัติงาน และไม่พบความแตกต่างกันของปัจจัยต่างๆ กับระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการบริการที่ห้องอุบัติเหตุและฉุก เฉินโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าผู้รับบริการได้รับการบริการที่มีความเท่าเทียมกันและ การรักษาที่เป็นมาตรฐาน
This Descriptive research aimed to study the level of client satisfaction toward the services of PMK’s emergency room and to studyfactors effected to Client satisfaction toward the Services of the Emergency Accidental Room at Phramongkutklao Hospital. The subjects consisted of 260 patients and relatives whom were acquired services from PMK hospital from June-July 2012. The participants were selected by purposive sampling. The satisfaction questionnaires was used to collecting data at PMK’s emergency room, which was modified from JuntraJinda’s base on the concept of Davis and Bush(1995). The research instrument’s reliability was 0.976.Data were analyzed using descriptive statistical and Chi-Square and One-way ANOVA.
The finding of this study revealed that:
1.The level of the client satisfaction toward services of the PMK’s emergency room was high ( =3.84, SD=0.74). For each parts of the client satisfaction; psychological care, information service and operating efficacy were high. ( =3.90, SD=0.92, =3.75, SD=0.92 and =3.49 SD=0.97 respectively)
2.The subjects who had difference offactors; Sex, Age, Income, Education, Occupation and Health service were statistically insignificant difference in client satisfaction forwards the services of the Emergency room at Phramongkutklao Hospital. (X2= 8.18, F= 2.14, .89, 1.81, .79and 1.14, p > .05 respectively)
The results of this study indicate that level of client satisfaction toward services of the PMK’s emergency room was high in all 3 parts; psychological care, information service and operating service, orderly. Moreover, there were statistically insignificant difference in client satisfaction forwards the services of the Emergency room at Phramongkutklao Hospital among the subjects who had difference of factors. These indicated that the clients who visit to the emergency room acquiredequality of services and standard treatment.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.