ผลของการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อความรู้สมรรถนะแห่งตนและการปฏิบัติการพยาบาลมารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของนักเรียนพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก Effects of Breast Feeding Teaching on Knowledge, Self-efficacy and Breast Feeding Nursing Care of The Royal Thai Ar

Authors

  • สุขภินุช สังฆสุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
  • จิรารัตน์ จีนวัฒนะ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
  • รังสินี พูลเพิ่ม ภาควิชาสูติศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก

Keywords:

การสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, ความรู้, สมรรถนะแห่งตน, การปฏิบัติการพยาบาลมารดา, breast feeding teaching, knowledge, self-efficacy, breast feeding nursing care

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ต่อความรู้ สมรรถนะแห่งตน และ การปฏิบัติการพยาบาลมารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ของนักเรียนพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก โดย เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับการสอนเสริมในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามหลักสูตรของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กับกลุ่มที่ได้รับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ไปศึกษาด้วยตนเอง โดยใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) กลุ่มตัวอย่าง
คือ นักเรียนพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก ชั้นปีที่ 3 จำนวน 78 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวน กลุ่มละ 39 คน โดยใช้การจับคู่เข้ากลุ่ม พิจารณาจากคะแนนเฉลี่ยสะสม จากปีการศึกษา 2554 เครื่องมือที่ใช้ 1) แบบวัดความรู้ ในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 2) แบบวัดสมรรถนะแห่งตน 3) แบบประเมินการปฏิบัติการพยาบาลมารดาหลังคลอดที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในกลุ่มทดลอง คณะผู้วิจัย ดำเนินการสอน เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในประเด็นหลักทั้งทางด้านทฤษฎีและ
ปฏิบัติ จำนวน 5 ชั่วโมง และมอบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ของ คณะพยาบาลศาสตร์ ม. มหิดล ให้แก่ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม  ภายหลังสิ้นสุดการเก็บประสบการณ์การทำคลอด  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบคะแนนความรู้  และสมรรถนะแห่งตน  ก่อนและหลังการทดลอง ของกลุ่มตัวอย่าง  โดยวิธี Pair  t–test เปรียบเทียบคะแนนความรู้  สมรรถนะแห่งตน และการปฏิบัติการพยาบาลมารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม โดยวิธี Independent t–test

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และ คะแนนสมรรถนะแห่งตนในการพยาบาลมารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ก่อนและหลังการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มควบคุม มีคะแนนความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ก่อนและหลังการทดลอง แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่คะแนนสมรรถนะแห่งตนในการพยาบาลมารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  ก่อนและหลังการทดลอง  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มภายหลังการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม มีคะแนนความรู้ สมรรถนะแห่งตนในการพยาบาลมารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  และคะแนนการปฏิบัติการพยาบาลมารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

The purposes of this research were to study the effects of breast feeding teaching on knowledge, self-efficacy and breast feeding nursing care of The Royal Thai Army Nursing students toward breast feeding mothers by comparing between the experimental group; the group who was taught about the breast feeding topic provided by the Mahidol University Nursing Curriculum, to the control group; the group who self-studied from the CAI (Computer-Assisted Instruction) provided.


Quasi-Experimental was used in this research. The samples were 78 the third year of under graduate nursing  students.  The  samples  were  divided  into  2  groups  with  39  students  each  and  then  paired  with
matching group. The criteria for pairing was considered according to the GPA from the 2011 academic year.


The  instrument  used  in  this  research  include:  The  Breast  Feeding  Knowledge  Measurement Questionnaire, The Self-efficacy Measurement Questionnaire and The Breast Feeding Nursing Care Assessment.
The researchers taught 5 hours theory and practice in breast feeding to the experimental group and gave the CAI for self-study to both the experimental and the control groups. The data were analyzed by t-test

The result showed  that  the experimental  group  has  significant  difference  in  knowledge  and self-efficacy scores before and after intervention (p < 0.5). In the control group has significant difference in
self-efficacy  scores  between  before  and  after  intervention  (p  <  0.5).  After  intervention, There was  no significantly statistical difference in knowledge, self-efficacy and breast feeding nursing care scores between
experimental and control group.

Downloads

How to Cite

1.
สังฆสุวรรณ ส, จีนวัฒนะ จ, พูลเพิ่ม ร. ผลของการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อความรู้สมรรถนะแห่งตนและการปฏิบัติการพยาบาลมารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของนักเรียนพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก Effects of Breast Feeding Teaching on Knowledge, Self-efficacy and Breast Feeding Nursing Care of The Royal Thai Ar. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2014 Feb. 2 [cited 2024 Nov. 19];14(3):133-41. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/16023