ปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของทหารกองประจำการกองร้อยพลเสนารักษ์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า Predictive Factors of Smoking Behavior Among The Conscrips of The Medical Company, Phramongkutlkao Hospital

Authors

  • สายสมร เฉลยกิตติ ภาควิชาการพยาบาลเบื้องต้น วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
  • สมพิศ พรหมเดช กองการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก

Keywords:

ปัจจัยพยากรณ์, พฤติกรรมการสูบบุหรี่, ทหารกองประจำการ, Predicting factors, smoking behaviors, conscripts

Abstract

การสูบบุหรี่เป็นการสูบบุหรี่เป็นพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ และสังคม พฤติกรรมการสูบบุหรี่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลก การศึกษาเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของทหารกองประจำการกองร้อยพลเสนารักษ์  โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า  กลุ่มตัวอย่างเป็นทหารกองประจำการ กองร้อยพลเสนารักษ์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ผลัดที่ 1/2555 จำนวน 180 นาย เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสอบถามแบบมาตราประมาณค่าที่ผ่านการตรวจสอบความเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และความเที่ยงมีค่าเท่ากับ .94 และ .91 ตามลำดับ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยตนเองโดยการพิทักษ์สิทธิ์ของทหารกองประจำการอย่างเคร่งครัด  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า  ทหารกองประจำการส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ อยู่ในช่วงอายุ 21 ปี คิดเป็นร้อยละ  66.9 มีจำนวนพี่น้อง 2-3 คน คิดเป็นร้อยละ 64.8 สถานภาพโสด คิดเป็นร้อยละ 85.9 จบการศึกษาในระดับประกาศนียบัตร ระดับ ปวช., ปวส. คิดเป็นร้อยละ 35.2 สถานภาพครอบครัว บิดา มารดาอยู่ด้วยกัน  คิดเป็นร้อยละ  58.5  พฤติกรรมการสูบบุหรี่ในปัจจุบัน ร้อยละ 72.1 โดยกลุ่มตัวอย่างเริ่มสูบบุหรี่เมื่ออายุ  15  ปีมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ  33.1  ทักษะชีวิตของทหารกองประจำการส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก (\inline \bar{x} = 3.71, SD = 0.62) มีพฤติกรรมสูบบุหรี่อยู่ในระดับมาก ทักษะชีวิต มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของทหารกองประจำการ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  เมื่อวิเคราะห์อำนาจการพยากรณ์ทักษะชีวิตรายด้านต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของทหารกองประจำการ พบว่า ตัวแปรที่สามารถอธิบายความแปรผันของพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของทหารกองประจำการมี 3 ตัวแปรย่อย ได้แก่ ด้านการตัดสินใจและแก้ปัญหา ด้านการแสวงหาความรู้ และด้านการสื่อสารและสัมพันธภาพ
โดยร่วมกันอธิบายความผันแปรของพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของทหารกองประจำการ ได้ร้อยละ 37.2 (R2 = 0.372) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ดังนั้นการพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการไม่สูบบุหรี่ในทหารกองประจำการ กองร้อยพลเสนารักษ์โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เพื่อเป็นกำลังพลของกองทัพบกที่มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีและเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติต่อไป

Smoking has negative impacts not only on human’s physical health, but also psychological and social challenges. Smoking is one of the most important public health problems of the world. The purpose of this
research is to study predictive factors of the conscripts of the Medical Company at Phramongkutklao Hospital. The research sample is 180 first-turn conscripts of the Medical Company in 2011. The research instruments are questionnaires  with  Likert’s  scale,  which  was  tested  for content validity and reliability  (r = .94 and .91 respectively). The data were collected by the researchers and the right of the conscripts about participating in the research was explained and protected. The data were analyzed by descriptive statistics and multiple regression analysis.

Result Most of the conscripts were 21 year old (66.9%). The majority of them had 2-3 siblings (64.8%) and were single (85.9%). Most of them graduated and received a vocational certificate or vocational diploma (35.2%) For  family  status,  mostly  their  parents  live  together  (58.5%). In terms of smoking behavior, the highest proportion of the sample started smoking at the age of 15 years old (33.1%) and life skill of the conscripts was found in high level (\inline \bar{x} = 3.71 SD = 0.62). The findings indicate that their smoking behavior was in high level and life skills significantly had negative relationship with smoking behaviors among the conscripts, with statistic significant (P < .05). When the predicting power was analyzed, it was found that there were 3 sub-factors that could  explain  variation  of smoking  behaviors  among  the  conscripts  approximately  37.2%  (R2  =  0.372) significantly when the factors were combined. The factors included decision and problem solving, knowledge seeking and communication and relationship skills (p < .05)

Conclusion The researcher recommends strategies to develop the life skills in order to promote Non-smoking
behaviors for the conscripts in the Medical Company, Phramongkutklao Hospital.

Downloads

How to Cite

1.
เฉลยกิตติ ส, พรหมเดช ส. ปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของทหารกองประจำการกองร้อยพลเสนารักษ์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า Predictive Factors of Smoking Behavior Among The Conscrips of The Medical Company, Phramongkutlkao Hospital. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2014 Feb. 2 [cited 2024 Nov. 19];14(3):77-86. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/16017