ผลของการใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นประคบหน้าท้องต่อการลดความเจ็บปวดและการลดระยะเวลาของระยะปากมดลูกเปิดเร็วในมารดาครรภ์แรก Effect of warm compression on anterior abdominal wall to reduce Labor pain and duration of active phase of labor among primiparous mothers
Keywords:
ผู้คลอดครรภ์แรก, การประคบความร้อน, ระยะปากมดลูกเปิดเร็ว, ความเจ็บปวด, primiparous mothers, warm compression, active phase, Labor painAbstract
ผลของการใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นประคบหน้าท้องต่อการลดความเจ็บปวดและการลดระยะเวลาของระยะปากมดลูกเปิดเร็วในมารดาครรภ์แรก Effect of warm compression on anterior abdominal wall to reduce Labor pain and duration of active phase of labor among primiparous mothers การเจ็บครรภ์ในระยะที่ 1 ของการคลอดเป็นความเจ็บปวดที่ทำให้เกิดความทรมานไม่สุขสบายต่อผู้คลอดโดยเฉพาะผู้คลอดครรภ์แรก การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของการประคบความร้อนโดยใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นประคบหน้าท้องอย่างต่อเนื่องต่อการลดความเจ็บปวด และการลดระยะเวลาของระยะปากมดลูกเปิดเร็วในมารดาครรภ์แรกโดยเปรียบเทียบกับการดูแลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้คลอดครรภ์แรก อายุ 20-34 ปี อายุครรภ์ 37-42 สัปดาห์ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์และระยะรอคลอด อยู่ในระยะที่ 1ของการคลอดไม่ได้รับยาเร่งคลอดที่มาคลอดที่โรงพยาบาลพิมายจังหวัดนครราชสีมาในช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม 2556 จำนวน 60 คน ใช้การสุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลากเข้ากลุ่ม 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มทดลองจำนวน 30คนใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นอุณหภูมิ 40-45 องศาเซลเซียสประคบหน้าท้องตั้งแต่บริเวณยอดมดลูกจนถึงเหนือหัวเหน่าอย่างต่อเนื่อง และกลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน ได้รับการดูแลตามปกติ โดยเริ่มทำการทดลองเมื่อปากมดลูกเปิด 4เซนติเมตร บาง 100% จนถึง ปากมดลูกเปิดหมด 10 เซนติเมตร ประเมินความเจ็บปวดโดยใช้แบบวัดความรู้สึกเจ็บปวดแบบNUMERIC Scale และ Wong Baker Face Scale ร่วมกัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและ ค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า \
1. ในระยะปากมดลูกเปิดเร็วพบว่าผู้คลอดกลุ่มทดลองคะแนนความเจ็บปวดเฉลี่ยต่ำกว่าผู้คลอดกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)โดยมีระดับความเจ็บปวดเฉลี่ยในกลุ่มทดลองเท่ากับ 6 จาก 10 คะแนน
2. ผู้คลอดกลุ่มทดลองมีระยะปากมดลูกเปิดเร็วสั้นกว่าผู้คลอดกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)โดยใช้ระยะเวลาเฉลี่ยในกลุ่มทดลอง 3 ชั่วโมง 30 นาที
ผลการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า การใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นที่มีอุณหภูมิ 40-45 องศาเซลเซียส วางที่หน้าท้องตั้งแต่ยอดมดลูกจนถึงเหนือหัวเหน่าอย่างต่อเนื่องสามารถช่วยบรรเทาความเจ็บปวดในระยะปากมดลูกเปิดเร็วและยังช่วยลดระยะเวลาของระยะ active ให้สั้นลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของพยาบาลห้องคลอดในการบรรเทาความเจ็บปวดในระยะคลอดโดยไม่ใช้ยา
Labor pain causes discomfort, pain and suffering to primiparous mothers. The purpose of this quasi experimental research was to examine the effect of warm compression on anterior abdominal wall on Labor pain and duration of active phase of labor among primiparas. The sample comprised of60 primiparas who were admitted at labor room in Pimai hospital, Nakhonratchasima province during June to October 2013 The subjects were selected using simple random sampling and equally assigned into 2 groups, comprising 30 parturients per group. The subjects in the control group received routine nursing care while experimental group subjects received warm compression on anterior abdominal wall by using wash cloths soaked in warm water and wrung out. The temperature was adjusted at the range 40-45C Warm compression was applied continuously to the subjects while they were at 4cm. of dilatation until cervix was fully dilated. The data were collected by using Pain scale (NUMERIC Scale &Wong Baker Face Scale). Data were analyzed using descriptive statistics and independent t-test. The results revealed the following:
1.The mean scores of labor pain during active phase in experimental group were statistically significant lower than those in control group (p<.001). The mean scores of labor pain during active phase in experimental group was 6 from 10.
2. The duration of active phase in experimental group was statistically significant shorter than those of the control group (p<.001).The average of duration of active phase in experimental group was 3 hours 30 minutes.
The results of this study revealed a significant reduction in labor pain and speed up active phase among primiparous mothers by using wash cloths soaked in 40-45C water and wrung out and apply continuously on anterior abdominal wall. This method should be recommended for midwives as an nonpharmacologic approach to relieve labor pain and prevent long suffering during labor.
Downloads
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.