การวิเคราะห์การจัดกลุ่มพยาบาลวิชาชีพตามการรับรู้คุณลักษณะความเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจในโรงพยาบาลของรัฐเขตกรุงเทพมหานคร A CLUSTER ANALYSIS OF PROFESSIONAL NURSES BASED ON PERCEPTION OF MAGNET HOSPITAL CHARACTERISTICS OF GOVERNMENT HOSPITALS IN BANGKOK

Authors

  • ชญานี อรุณโชติ โรงพยาบาลค่ายจักรพงษ์ อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
  • สุวิมล กฤชคฤหาสน์ ภาควิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • อรอุมา เจริญสุข ภาควิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

การจัดกลุ่มพยาบาลวิชาชีพ, คุณลักษณะความเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจ, การวิเคราะห์จัดกลุ่ม, A cluster analysis of professional nurses, Magnet hospital characteristcs, Cluster analysis

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อจัดกลุ่มพยาบาลวิชาชีพตามการรับรู้คุณลักษณะความเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจในโรงพยาบาลของรัฐเขตกรุงเทพมหานคร  โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลของรัฐระดับตติยภูมิ  เขตกรุงเทพมหานคร   จำนวน 6  แห่ง  รวมทั้งหมด 952 คน  ในทุกแผนกของโรงพยาบาล โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) สำหรับตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยนี้ประกอบด้วย 7 ตัวแปร
ได้แก่ ประสิทธิภาพของผู้นำ การบริหารจัดการองค์การ การบริหารบุคลากร การได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน ความมีเอกสิทธิ์ในวิชาชีพ สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับแพทย์ และสภาพแวดล้อมการทำงาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 7 ฉบับ คือ แบบสอบถามประสิทธิภาพของผู้นำ แบบสอบถามการบริหารจัดการองค์การ แบบสอบถามการบริหารบุคลากร  แบบสอบถามการได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน แบบสอบถามความมีเอกสิทธิ์ในวิชาชีพ  แบบสอบถามสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับแพทย์ และแบบสอบถามสภาพแวดล้อมการทำงาน มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ  .96,  .93,  .91,  .90,  .89,  .87 และ .92 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ การวิเคราะห์จัดกลุ่ม (Cluster Analysis)

ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า สามารถจัดกลุ่มพยาบาลวิชาชีพตามการรับรู้คุณลักษณะความเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจในโรงพยาบาลของรัฐเขตกรุงเทพมหานครได้เป็น 2 กลุ่ม  มีลักษณะดังนี้  กลุ่มที่ 1    มีสมาชิก 514 คน  คิดเป็นร้อยละ 53.99 เป็นกลุ่มพยาบาลวิชาชีพที่มีการรับรู้คุณลักษณะความเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจด้านการบริหารจัดการองค์การ  การบริหารบุคลากร และการได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานสูงสุด ดังนั้นจึงตั้งชื่อกลุ่มที่ 1 ว่า “กลุ่มการรับรู้คุณลักษณะความเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจด้านการจัดองค์การและการบริหารองค์การ” กลุ่มที่ 2 มีสมาชิก 438 คน คิดเป็นร้อยละ  46.01 เป็นกลุ่มพยาบาลวิชาชีพที่มีการรับรู้คุณลักษณะความเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจด้านสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับแพทย์  ความมีเอกสิทธิ์ในวิชาชีพ  และสภาพแวดล้อมการทำงานสูงสุด ดังนั้นจึงตั้งชื่อกลุ่มที่ 2 ว่า “กลุ่มการรับรู้คุณลักษณะความเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจด้านการปฏิบัติการพยาบาล”

The purpose of this research was to classify professional nurses into clusters, based on perception of magnet hospital characteristics of government hospitals in the Bangkok metropolis. The sample of this research was 952 professional staff nurses in 6 tertiary government hospitals, selected by multi-stage random sampling. The  variables used in this research were leadership effectiveness, organization management, personnel management, working empowerment, professional autonomy, relationship between nurses and physicians, and working environment. The research instruments included seven questionnaires which were the Leadership Effective questionnaires, Organization Management questionnaires, the Personnel Management questionnaires, Working Empowerment questionnaires, Professional Autonomy questionnaires, Relationship between Nurses and Physicians questionnaires and the Working Environment questionnaires. The reliabilities of the questionnaires were .96, .93, .91, .90, .89, .87 and .92,  respectively. Cluster analysis was used for data analysis.

The research results were as follows: the professional nurses could be grouped into 2 clusters according to their perception of magnet hospital characteristics. The first cluster comprised 514 professional nurses (53.99%). The highest perception of magnet hospital characteristics in this group were organization management, personnel management, and working empowerment. Therefore, it was named “The Group with Perception of Organization Management as Magnet Hospital Characteristics”. The second cluster comprised 438 professional nurses (46.01%). The highest perception of magnet hospital characteristics in the second group were relationship between nurses and physicians, professional autonomy, and working environment. Thus, it was named “The Group with Perception of Nursing Practice as Magnet Hospital characteristics”.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
อรุณโชติ ช, กฤชคฤหาสน์ ส, เจริญสุข อ. การวิเคราะห์การจัดกลุ่มพยาบาลวิชาชีพตามการรับรู้คุณลักษณะความเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจในโรงพยาบาลของรัฐเขตกรุงเทพมหานคร A CLUSTER ANALYSIS OF PROFESSIONAL NURSES BASED ON PERCEPTION OF MAGNET HOSPITAL CHARACTERISTICS OF GOVERNMENT HOSPITALS IN BANGKOK. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2014 Feb. 2 [cited 2024 Dec. 19];14(3):22-30. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/15796