ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนแบบนำตนเอง เพื่อสร้างศักยภาพการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ทางคลินิก: กรณีศึกษารายวิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้นต่อสมรรถนะ ด้านการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • จริยา ทรัพย์เรือง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • พัชรี รัศมีแจ่ม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนการสอนแบบนำตนเอง, การตัดสินใจอย่างมีเหตุผล

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (One group pretest posttest design) กลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การจัดการเรียนการสอนแบบนำตนเองเพื่อสร้างศักยภาพการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลทางคลินิก: กรณีศึกษารายวิชาการรักษาพยาบาล เบื้องต้นต่อสมรรถนะด้านการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง เป็น นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 154 คน โดยกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2554 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสมรรถนะการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ซึ่งมีค่าความเที่ยง สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbachalpha coefficient) เท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติทดสอบ ที (t-test) ทดสอบความแตกต่างของสมรรถนะการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการจัดการ เรียนการสอนแบบนำตนเองเพื่อสร้างศักยภาพการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลทางคลินิก: กรณีศึกษารายวิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะด้านการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการ จัดการเรียนการสอนแบบนำตนเองเพื่อสร้างศักยภาพการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลทางคลินิก: กรณีศึกษารายวิชาการรักษาพยาบาล เบื้องต้น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลจากการประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนแบบนำตนเองเพื่อสร้างศักยภาพการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลทาง คลินิก: กรณีศึกษารายวิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้นต่อสมรรถนะด้านการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล ในครั้งนี้ ก่อให้เกิดประสิทธิผลในการเรียนรู้ของผู้เรียน จึงเป็นการจัดการเรียนการสอนแบบนำตนเอง การเรียนรู้ที่ควรนำไปประยุกต์ ใช้ในการจัดการเรียนรู้ต่อไป

References

1. Klunklin, A., Subpaiboongid, P., Keitlertnapha, P., Viseskul, N., and Turale S. Thai nursing students’ adaption to problem-based learning: a qualitative study. Nurse Education in Practice. (2011); 11(6): 370-374. (in Thai)

2. Bers, T. H., McGowan, M. And Rubin, A. The disposition to think critically among community college students: the California critical thinking dispositions inventory. The Journal of General Education. (1996); 45(3), 197-223.

3. Phomma A, Ngamvaseenont S. Comparative study of critical thinking of first and fourth year baccalaureate nursing students at Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal. 2013; 5(1): 20-30. (in Thai)

4. Faculty of Nursing. (2010). Huachiew Chalermprakiet University’s Nursing Graduates in the 2010 Academic Year. (in Thai)

5. Mingpun, R. Srisa-ard, B. and Jumpamoo, A. Strengthening preceptors’ competency in Thai clinical nursing. Educational Research and Reviews. (2015); 10(20): 2653-2660. (in Thai)

6. Lausuwanagoon W. Factor influencing the critical thinking of nursing students studying at Faculty of Nursing of Burapha University.
The Journal of Faculty of Nursing Burapha Unversity. 2003;11(3): 46-68. (in Thai).

7. Chaleoykitti, S., Chewsothon, S., and Butpunya, Y. (2017). Effectiveness of the Integrated Academic Service and Teaching-Learing Arrangement in Psychiatric Nursing Practicum Course to Psychiatric Nursing practice competency in Army Nursing. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 18(3), 144-151. (in Thai)

8. Knowles, S. M. Self-directed learning: A guide for learners and teachers. New York: Association Press Follett. (1975)

9. Chaprasart, S. and Prasertsaruay, S. Development of Edutainment Model Using the Buddhism-Yonisomanasikarn Strategies to Develop Critical Thinking of Royal Thai Air Force Nursing Students. Academic Services Journal, Prince of Songkla University. (2015). 26(1): 29-42. (in Thai)

10. Kaddoura MA. Critical thinking skills of nursing students in lectured-based teaching and case-based learning. International Journal for the Scholarship of Teaching and Learning. 2011;5(2):1-18.

11. Waisurasing L, Noparoojjinda S. The development of instructional model using authentic learning approach to enhance achievement and critical thinking ability of nursing students, Boromarajonani College of Nursing, Suphanburi. Journal of Nursing and Education. 2011;4(3):63-77. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2018