ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีจอตาเสื่อมจากอายุ

Authors

  • กนกอร พูนเปี่ยม คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศิริพันธุ์ สาสัตย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ผู้สูงอายุ, คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ, โรคจอตาเสื่อม, Older person, Health Related Quality of Life, Age-related macular

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคจอตาเสื่อมและเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง เพศ อายุ ระดับการมองเห็น การสนับสนุนทางสังคม ภาวะซึมเศร้าและการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคจอตาเสื่อม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ทั้งเพศชายและเพศหญิงและได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคจอตาเสื่อมจากอายุ ที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกจักษุ โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)และโรงพยาบาลตำรวจ คัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามคุณภาพชีวิต แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามอาการซึมเศร้าและแบบสอบถามการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบสอบถามคุณภาพชีวิต ได้ค่า CVI = 0.96 แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมได้ค่า CVI = 1.00 ตรวจสอบความสอดคล้องภายในโดยการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ค่าเท่ากับ .981 .912 .840 และ .902 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) Eta และ Spearman’rho โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Factors Related To Health Related Quality Of Life In Older Persons With Age-Related Macular Degeneration

This descriptive correlational research was aimed to study the health-related quality of life in older persons with age-related macular degeneration and to study the relationships between sex, age, visual acuity, social support, depression and activity of daily living of older persons with age-related macular degeneration. Subject consisted of 120 older persons with age-related macular degeneration at retina clinic in Mettapracharak (Watraikhing) Hospital and Police General Hospital, and were selected by using multi-stage sampling technique. Research instruments were demographic questionnaires, Thai Visual Function Questionnaire 28, social support, Thai Geriatric Depression Scale and Barthel ADL index which were tested for content validity and reliability. Cronbach’s alpha coefficient of Thai Visual Function Questionnaire 28, social support, Thai Geriatric Depression Scale and Barthel ADL index were .981 .912 .840 and .902 respectively. The data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson’s Product Moment Eta and Spearman’rho Correlation Coefficient.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
พูนเปี่ยม ก, สาสัตย์ ศ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีจอตาเสื่อมจากอายุ. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 Oct. 19 [cited 2024 Dec. 19];18(suppl.2):382-9. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/101729