ผลการดำเนินงานหมู่บ้านไอโอดีน จังหวัดนครสวรรค์

Authors

  • ทัศพร ชูศักดิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Keywords:

หมู่บ้านไอโอดีน, เกลือคุณภาพ, โรคขาดสารไอโอดีน, village iodine, quality salt, iodine deficiency disorders

Abstract

โรคขาดสารไอโอดีนเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประชาชน มีผลกระทบต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลการดำเนินงานหมู่บ้านไอโอดีน บ้านวังเตียน ตำบลสำโรงชัย อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งได้จากการเลือกพื้นที่แบบเฉพาะเจาะจงโดยกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 31 คน และกลุ่มแม่บ้าน จำนวน 101 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบบันทึกการตรวจคุณภาพเกลือ และแบบสอบถาม จำนวน 2 ชุด สำหรับกลุ่มผู้นำชุมชนและกลุ่มแม่บ้าน ซึ่งมีค่าความเที่ยง ทั้งฉบับ เท่ากับ 0.87 และ 0.83 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบด้วยค่าที ชนิด 2 กลุ่มไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการศึกษา พบว่า ก่อนดำเนินการหมู่บ้านไอโอดีน ครัวเรือนมีการบริโภคเกลือคุณภาพ ร้อยละ 67.8 หลังดำเนินการหมู่บ้านไอโอดีนครัวเรือนมีการบริโภคเกลือคุณภาพ ร้อยละ 97.2 กลุ่มผู้นำชุมชนมีความรู้การปฏิบัติ และความพึงพอใจ เรื่องการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และกลุ่มแม่บ้านมีความรู้ การรับรู้ และการปฏิบัติ เรื่องการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

The Effect of Performance Village Iodine, Nakhon Sawan Province.

Iodine Deficiency Disorders is a major public health problem to the people. Iodine Deficiency Disorders affects to development of quality of life in children and youth. This research was participatory action research which investigated the effectiveness of performance village iodine Ban Wangtian, Samrongchai sub-district, Phisalee district, Nakhon Sawan province by purposive sampling. The target groups of this research were 31 community leader and 101 housekeeper group. The material used in data collection were salt quality data form an interview questionnaire which include two sets. The reliability was 0.87 and 0.83 respectively. The statistical analysis was; 1) The percentage, mean, and standard deviation were used in terms of descriptive statistics and 2) The paired t – test was used for analytical statistics. Result show that the behavior consumption of iodine supplements in areas was high. The test of knowledge in community leader found that the performance was and satisfaction was. Preventive of IDD was significantly high level in community leader. In addition, knowledge of housekeeper group found that the perception was and the performance was .For preventive of IDD was significantly high level in all differences.

Downloads

How to Cite

1.
ชูศักดิ์ ท. ผลการดำเนินงานหมู่บ้านไอโอดีน จังหวัดนครสวรรค์. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 Oct. 19 [cited 2024 Mar. 29];18(suppl.2):373-81. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/101726