ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อดัชนีมวลกาย พฤติกรรมการควบคุมภาวะเมตาบอลิกซินโดรม และความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรตำรวจ
Keywords:
โปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเอง, พฤติกรรมการควบคุมภาวะเมตาบอลิกซินโดรม, ดัชนีมวลกาย, ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรตำรวจ, self-management support program, behaviors in controlling metabolic syndrome, body mass index, risks of cardiovascuAbstract
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบวัดผลก่อนและหลังการทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อดัชนีมวลกาย พฤติกรรมการควบคุมภาวะเมตาบอลิกซินโดรม และความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรตำรวจ จำนวน 62 คน จับคู่กลุ่มตัวอย่างให้มีความคล้ายคลึงของกลุ่มอาการเมตาบอลิกเดียวกัน ได้กลุ่มทดลอง 31 คนกลุ่มควบคุม 31 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเอง ระยะเวลา 12 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมไม่ได้รับโปรแกรมและดำเนินชีวิตปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเอง คู่มือความรู้เพื่อจัดการภาวะเมตาบอลิกซินโดรมด้วยตนเอง รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนตัว พฤติกรรมการควบคุมภาวะเมตาบอลิกซินโดรม และแบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVI= .86 และ Cronbach’s alpha.76) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาการทดสอบ independent t-test และ paired t-test ผลการวิจัยคะแนนพฤติกรรมการควบคุมภาวะเมตาบอลิกซินโดรมของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าดัชนีมวลกายและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01จากการศึกษานี้ พยาบาลควรจะนำไปโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองไปส่งเสริมพฤติกรรมการควบคุมภาวะเมตาบอลิกซินโดรมต่อไป
The Effect of a Self-Management Support Program on Body Mass Index, Behaviors in Controlling Metabolic Syndrome and Risks of Cardiovascular Disease among Police Personnel
This study is a quasi-experimental two groups pre-post test design. The research was designed to study the effect of a self-management support program on body mass index, behaviors in controlling metabolic syndrome and risks of cardiovascular disease among police personnel. The sample consisted of 62 persons matched pair the sample from same metabolic level then randomly assigned to the experimental and control group,31 subject each group. The experimental group was designed to join the self-management support program for 12-week period, while the control group received general health care. The instrument used in this study consisted of the self-management support Program, personal data, behaviors in controlling metabolic syndrome and risks of cardiovascular Disease among Police personnel (CVI= .86 ,Cronbach’s alpha.76) .Data was analyzed using descriptive statistics independent t-test and paired t-test.The result showed that after implement program, the experimental group had significant higher mean score of behaviors in controlling metabolic syndrome than those of the control group (p<.01). Body mass index and risks of cardiovascular disease of the experimental group was significantly lower than those the control group. (p<.01). From the findings, nurses should adopt self-management support program that controlling metabolic syndrome in the future.
Downloads
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.