ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานกับความเหนื่อยหน่าย ของพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปทุมธานี
Keywords:
เหนื่อยหน่าย, สภาพแวดล้อมในการทำงาน, พยาบาลวิชาชีพ, burnout, working environment, nurseAbstract
การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับความเหนื่อยหน่ายของพยาบาลวิชาชีพ (2) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานกับความเหนื่อยหน่ายของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปทุมธานี ทั้งหมด 7 แห่ง จำนวน 219 คน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรหาขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) แบบสอบถามปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน (2) แบบวัดความเหนื่อยหน่าย Maslach and Jackson มีค่าความเชื่อมั่นด้วยสัมประสิทธิ์อัลฟ่า ซึ่งมีค่าเท่ากับ .89, .84 เก็บรวบรวมรวบข้อมูลระหว่างเดือน พฤศจิกายน – ธันวาคม พ.ศ. 2558 ได้นำมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผ่านโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป ใช้ความเชื่อมั่นที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 219 คน มีอายุเฉลี่ย 37.89 ปี (SD = 8.43) ค่าเฉลี่ยความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (SD = .36) ความรู้สึกลดความเป็นบุคคลอยู่ในระดับน้อย (SD = .64) ความรู้สึกอ่อนล้าทางอารมณ์อยู่ในระดับปานกลาง (SD = .56) ความรู้สึกลดความสำเร็จส่วนบุคคลอยู่ในระดับมาก (SD = .45) เมื่อทดสอบสมมติฐานใช้สถิติการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน พบว่าสภาพแวดล้อมในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน ในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .188, p<.01)
Relationship between Working Environment Factors and Burnout of Nurses, Community Hospital of Pathumtani Province
This Survey research aimed (1) to study level of burnout among nurses (2) to find relationship between working environment factors and burnout of nurses. The samples composed of 219 nurses from 7 community hospitals, Pathumtani Province that calculated by Krejcie and Morgan formula. The Instruments (1) working environment questionnaire (2) Maslach and Jackson burnout inventory (MBI). Data were collected during November to October 2015. Research data were analyzed by using frequency, percentage, mean and standard deviation by Statistical Package (α = .05).
This study revealed Level of burnout among nurses is middle (SD = .36), level of emotional exhaustion is low (SD = .64), level of depersonalization is middle (SD = .56), level of reduced personal accomplishment is high (SD = .45). Reveled positive signification correlation between working environment factors and burnout of nurses (r = .188, p<.01) by Pearson’s product – moment correlation coefficient.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.