ผลของโปรแกรมการจัดการความเครียดแบบผสมผสานต่อทักษะการจัดการ กับความเครียดของมารดาเด็กออทิสติก สเปกตรัม

Authors

  • เสาวภาคย์ ทัดสิงห์ สถาบันประสาทวิทยา
  • ชมชื่น สมประเสริฐ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พนิดา ศิริอำพันธ์กุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Keywords:

โปรแกรมการจัดการความเครียด, มารดาเด็กออทิสติก, สเปกตรัม, ทักษะการจัดการกับความเครียด, integrated stress management program, mothers of children with autism spectrum disorder, stress management skill

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการความเครียดแบบผสมผสานต่อทักษะการจัดการความเครียดของมารดาเด็กออทิสติก สเปกตรัม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ มารดาเด็กออทิสติก สเปกตรัม จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการความเครียดแบบผสมผสาน จำนวน 8 สัปดาห์กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทักษะการจัดการกับความเครียดของมารดาเด็กออทิสติกสเปกตรัม ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .83 วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าที่ผลการศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยทักษะการจัดการกับความเครียดของมารดาเด็กออทิสติก สเปกตรัมของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการจัดการความเครียดแบบผสมผสาน (M = 71.77, SD = 9.39) สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการจัดการความเครียดแบบผสมผสาน (M = 37.93, SD = 5.57) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 15.90, p<.001) และผลต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการจัดการกับความเครียดของมารดาเด็กออทิสติก สเปกตรัม ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการความเครียดแบบผสมผสานระหว่างกลุ่มทดลอง (D1 = 33.84) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (D2 = 1.93) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 14.60, p< .001) สรุป โปรแกรมการจัดการความเครียดแบบผสมผสานช่วยเพิ่มทักษะการจัดการกับความเครียดของมารดาเด็กออทิสติกสเปกตรัมได้อย่างมีประสิทธิผล จึงควรนำมาประยุกต์ใช้กับการพยาบาลตามปกติ เพื่อให้มารดาเด็กออทิสติก สเปกตรัมมีสุขภาพจิตที่ดี นำมาสู่การมีสุขภาวะที่สมบูรณ์ต่อไป

The Effects Of An Integrated Stress Management Program On The Stress Management Skills Of Mothers Of Children With Autism Spectrum Disorder

The objective of quasi-experimental research method was to study the result of the effects of an integrated stress management program on the stress management skills of mothers of children with autism spectrum disorder. The samples included 60 mothers of children with autism spectrum disorder were divided into the experimental and control group, 30 in each group. The experimental group participated in the integrated stress management program for 8 weeks. The control group received the regular care intervention. Data collection were using by the stress management skills questionnaire of mothers of children with autism spectrum disorder. The reliability was .83. Data analysis were percentage, mean, standard deviation, and t-test. The research findings revealed the following: The stress management skill mean score of experimental group after receiving the integrated stress management program (M = 71.77, SD = 9.39) was higher than the mean score for the pretest score before receiving the program (M = 37.93, SD = 5.57) with a statistical significance (t = 15.90, p<.001) The mean difference between the pre-test and post-test mean score on stress management skills receiving after the integrated stress management program of the experimental group (D1 = 33.84) was higher statistically significant than the mean difference of the control group (D2 = 1.93) (t = 14.60, p< .001). In conclusion, the integrated stress management program (ISMP) is effective to build the stress management skills of mothers of children with autism spectrum disorder. Therefore, healthcare providers could be designed integrated stress management programs to prevent stress and promote mental health of mothers of children with autism spectrum disorder

Downloads

How to Cite

1.
ทัดสิงห์ เ, สมประเสริฐ ช, ศิริอำพันธ์กุล พ. ผลของโปรแกรมการจัดการความเครียดแบบผสมผสานต่อทักษะการจัดการ กับความเครียดของมารดาเด็กออทิสติก สเปกตรัม. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 Oct. 19 [cited 2024 Apr. 19];18(suppl.2):284-91. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/101701