พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของสตรีข้ามเพศหลังผ่าตัดแปลงเพศ
Keywords:
พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ, สตรีข้ามเพศ, การผ่าตัดแปลงเพศจากชายเป็นหญิง, healthcare behaviors, male-to-female transsexual persons, sex reassignment surgeryAbstract
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพแบบพรรณนาเพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของสตรีข้ามเพศหลังผ่าตัดแปลงเพศจากชายเป็นหญิง โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เป็นสตรีข้ามเพศที่ผ่านการผ่าตัดแปลงเพศจากชายเป็นหญิงมาแล้ว 6 เดือนขึ้นไป จำนวน 20 ราย เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และบันทึกเทปวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการศึกษาพบว่า สตรีข้ามเพศส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านพฤติกรรมการดูแลสุขภาพร่างกายทั่วไป ประกอบด้วย 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การบริโภคอาหาร 2) การออกกำลังกาย 3) การหลีกเลี่ยงสารเสพติด แอลกอฮอล์และบุหรี่ 4) การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล ด้านพฤติกรรมการดูแลสุขภาพทางเพศ ประกอบด้วย 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การดูแลอวัยวะสืบพันธุ์ 2) การขยายช่องคลอด 3) การขมิบช่องคลอด 4) การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์5) การใช้ฮอร์โมนเพศ ด้านพฤติกรรมการดูแลสุขภาพจิตใจ อารมณ์และจิตวิณญาณ ประกอบด้วย 5 ประเด็นหลัก ได้แก่1) การสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตใจและอารมณ์ให้เข้มแข็ง 2) การจัดการตนเองและการคงความเป็นผู้หญิงโดยสมบูรณ์และด้านพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านสังคมและการปรับตัว ประกอบด้วย 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การวิธีการปรับตัวและผลจากการปรับตัว 2) การคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพ จากการศึกษาในครั้งนี้ทำให้เข้าใจถึงพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของสตรีข้ามเพศหลังผ่าตัดแปลงเพศจากชายเป็นหญิงสรุป พยาบาลสามารถใช้ผลการศึกษานี้เป็นข้อมูลขั้นพื้นฐานในการส่งเสริมให้ความรู้สำหรับสตรีข้ามเพศหลังผ่าตัดแปลงเพศจากชายเป็นหญิงทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ในการวางแผนทางการพยาบาลทั้งระยะสั้นและระยะยาวเพื่อให้คำแนะนำและติดตามผลของการดูแลสุขภาพหลังผ่าตัดแปลงเพศของสตรีข้ามเพศต่อไป
The Health Care Behaviors Of Male-To-Female Transsexual Persons After Sex Reassignment Surgery
This qualitative descriptive research was conducted to examine the health behavior of male-to-female transsexual persons that have undergone sex reassignment surgery for six months or more. Purposive sampling was used to select 20 subjects that met the criteria of being male-to-female transgender that have undergone sex reassignment surgery in the past six months. Data were collected using audio-taped in-depth interviews, and were analyzed using content analysis. The study indicated that the healthcare behaviors of male-to-female transsexual persons that have
undergone sex reassignment surgery in the past six months contributed to four major behaviors; namely, general health behaviors, sexual health behaviors, mental healthcare behaviors, and social healthcare and adaptation behaviors. First, the general health behaviors consisted of four main areas: 1) food consumption; 2) exercise; 3) avoiding substance abuse of alcohol and cigarettes; and 4) personal hygiene care. Secondly, the sexual health behaviors comprised five main areas: 1) gynecological care; 2) vaginal enlargement; 3) vaginal contraception; 4) sexually-transmitted disease prevention; and 5) hormonal use by transsexual persons. Thirdly, the mental healthcare behaviors were defined as emotional and spiritual healthcare behaviors consisting of two main points: 1) the strengthening of mental and emotional well-being and 2) caring for themselves as women. Lastly, the social healthcare and adaptation behaviors consisted of two main areas: 1) adaptation and outcomes after sex reassignment surgery and 2) preservation of relationships. In summary, the results of this study can be used as basic information to promote knowledge of
healthcare for male-to-female transsexual persons after sex reassignment surgery. In addition, the results could help healthcare providers have a better understanding of transsexual persons. It is also useful for short-term and long-term nursing planning to provide advice and follow-up on the healthcare of post transsexual persons.
Downloads
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.