ผลการพัฒนาสมรรถนะผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ ด้านการนิเทศกลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลสิงห์บุรี

Authors

  • สังวาลย์ สกะมณี โรงพยาบาลสิงห์บุรี
  • สัญญา โพธิ์งาม โรงพยาบาลสิงห์บุรี
  • พิชา คนกาญจน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

Keywords:

การพัฒนาสมรรถนะ, ผู้ตรวจการนอกเวลาราชการ, รูปแบบการนิเทศทางการพยาบาล, The development of competency, unofficial-time nursing supervisor, nursing supervisory model

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการด้านการนิเทศ กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลสิงห์บุรี ภายใต้แนวคิดด้วยวิธีการเชิงระบบ ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอนขั้นตอนที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหา โอกาส การนิเทศทางการพยาบาล ขั้นตอนที่ 2 สร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลด้วยการให้ผู้ตรวจการพยาบาลมีส่วนร่วมและเครื่องมือการวิจัย ขั้นตอนที่ 3 นำรูปแบบที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้ภายหลังทดลองใช้วัดความรู้ ทัศนคติของผู้ตรวจการพยาบาล สอบถามความพึงพอใจของผู้ตรวจการพยาบาลและพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานนอกเวลาราชการผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และทัศนคติของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้ตรวจการพยาบาล และของพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการพยาบาลหลังการใช้รูปแบบ พบว่าอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด รูปแบบที่สร้างขึ้นมีขั้นตอนดำเนินการนิเทศ3 ขั้นตอน คือ 1) การเตรียมการ ผู้นิเทศศึกษาความรู้เรื่องการนิเทศและวางแผนการนิเทศโดยดัดแปลงจากรูปแบบของเคลียร์(CLEAR) 2) การดำเนินการ ผู้นิเทศ รับเวรและ ส่งเวร เยี่ยมตรวจทางการพยาบาล เยี่ยมตรวจทั่วไป เยี่ยมตรวจอุบัติการณ์และค้นหาความเสี่ยง 3) การควบคุม ผู้นิเทศรายงานการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการนิเทศ ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศพบว่า รูปแบบการนิเทศที่สร้างขึ้นสามารถนำไปทำการนิเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพข้อเสนอแนะคือ ควรดำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูลเพื่อพัฒนาสมรรถนะและรองรับระบบการนิเทศทางการพยาบาลนอกเวลาราชการ โรงพยาบาลสิงห์บุรีต่อไป

The Effect Of Nursing Supervisory Competency Development For Unofficial-Time Nursing Supervisor, Department Of Nursing, Singburi Hospital

The purposes of this study were to development of nursing supervisory competency for unofficial-time nursing supervisor, department of nursing, Singburi hospital. Concept of systematic was approached. There are three stages of this research; First stage is studying situation analysis of problems and opportunity in Nursing Supervisory. Second stage is developing and constructing nursing supervisory model and a research instruments before was tried in third stage. The result was found (1) Pre and post-test of nurse supervisors were significantly different at the
level of .05. (2) The mean of nurse supervisors and practice nurses of satisfaction was found to be high and highest. The development of nursing supervisory Model consists of 3 stages 1) Plan (nurses supervisors knowledge in supervision and planning adapted from CLEAR’s model), 2) Organize (nursing round, administration, incidence and risk management 3) Control, evaluation and report. The result of the development of nursing supervisory model were perfect process and smart manual for supervisory implementation. Suggestion Develop information technology and data for supporting of competency and unofficial - time nursing supervisor system of Singburi hospital.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
สกะมณี ส, โพธิ์งาม ส, คนกาญจน์ พ. ผลการพัฒนาสมรรถนะผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ ด้านการนิเทศกลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลสิงห์บุรี. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 Oct. 19 [cited 2024 Dec. 19];18(suppl.2):248-56. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/101694