ศึกษาความเหนื่อยล้าและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยล้า จากการปฏิบัติงาน ของพยาบาลโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ

Authors

  • อมรรัตน์ จันโยธา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุทธินันท์ ฉันท์ธนกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุคนธา ศิริ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

พยาบาล, ความเหนื่อยล้า, Nurse, Fatigue

Abstract

การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหนื่อยล้าและปัจจัยที่มีผลต่อความเหนื่อยล้าของพยาบาลโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ซึ่งมีจำนวนตัวอย่าง 216 คน ในการศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลวิจัย และมีการตรวจวัดสิ่งแวดล้อม (อุณหภูมิ แสง และเสียง) เพื่อประเมินปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อความเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นผลการศึกษาพบว่า พยาบาลส่วนใหญ่ที่ทำการศึกษามีอายุเฉลี่ย 28.89 ± 6.25 ปี และระดับความเหนื่อยล้าส่วนใหญ่คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับเหนื่อยล้าเล็กน้อย 34.65 ± 22.65 ซึ่งอาการความเหนื่อยล้าส่วนใหญ่ที่พบมากที่สุดคือ รู้สึกอ่อนเพลีย49% รองลงมาคือ ต้องการหลับพักผ่อน 32% และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเหนื่อยล้า คือ การได้รับอบรมหลักสูตรเฉพาะทาง (p-values = 0.014) ภาวะเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นขณะปฏิบัติงาน (p-values = 0.045) การเดินมาปฏิบัติงาน (p-values = 0.009) และ มีปัญหากับผู้ป่วยและญาติ (p-values = 0.023) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะของการศึกษานี้เมื่อพยาบาลมีภาระหน้าที่เพิ่มมากขึ้น มีภาวะเจ็บป่วยเกิดขึ้นขณะปฏิบัติงานมาปฏิบัติงานโดยการเดิน และมีปัญหากับผู้ป่วยและญาติ จะส่งผลให้พยาบาลมีความเหนื่อยล้าเกิดขึ้นได้ พยาบาลควรได้รับการพักผ่อนให้เพียงพอก่อนปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งต่อตนเอง ครอบครัวและผู้มารับการบริการ

Fatigue And Factors Related To Fatigue Among Registered Nurses In A Tertiary Hospital

This cross-sectional study aimed to study fatigue and factors related to fatigue among 216 registered nurses (female nurses) who working in a tertiary hospital. The fatigue were interviewed using questionnaires for the basic data for measuring fatigue include sound level meter, lux meter and thermometer for measuring environment factors The results found that average age of this group was 28.89 ± 6.26 years and the mean of fatigue was 34.65 ± 22.65. The most symptoms of fatigue were weary, sleepy and drowsy respectively. The association analysis showed that 4 variables were significantly related to fatigue; special course training (p-value = 0.014), illness in shift work (p-value = 0.045), transportations use to work by walk (p-value = 0.009) and conflict with patient and relatives (p-value = 0.023). In summary, it was found that training special course program, illness in shift work, conflict with patient and relatives and transportation use to work by walk were related to fatigue, this study suggested to the workers who has these factor should be rest before working.

Downloads

How to Cite

1.
จันโยธา อ, ฉันท์ธนกุล ส, ชัยกิตติภรณ์ เ, ศิริ ส. ศึกษาความเหนื่อยล้าและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยล้า จากการปฏิบัติงาน ของพยาบาลโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 Oct. 19 [cited 2024 Mar. 29];18(suppl.2):166-74. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/101676