ผลของโปรแกรมสร้างแรงจูงใจเพื่อส่งเสริมการมีชีวิตอยู่ต่อความคิดฆ่าตัวตายในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการดื่มสุรา
Keywords:
การสร้างแรงจูงใจเพื่อส่งเสริมการมีชีวิตอยู่, ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการดื่มสุรา, ความคิดฆ่าตัวตาย, Motivational interviewing to enhance living, Alcohol use disorders, Suicidal ideationAbstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษาสองกลุ่มแบบวัดซ้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) ความคิดฆ่าตัวตายของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการดื่มสุราที่ได้รับโปรแกรมสร้างแรงจูงใจเพื่อส่งเสริมการมีชีวิตอยู่ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองทันที และหลังการทดลอง 2 สัปดาห์ 2) ความคิดฆ่าตัวตายของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการดื่มสุราระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมสร้างแรงจูงใจเพื่อส่งเสริมการมีชีวิตอยู่กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองทันทีและหลังการทดลอง 2 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการดื่มสุราซึ่งมีความคิดฆ่าตัวตายและมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ จำนวน 40 คน ได้รับการจับคู่ให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันในเรื่องการวินิจฉัยความผิดปกติของการดื่มสุรา และคะแนนความคิดฆ่าตัวตาย และถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสร้างแรงจูงใจเพื่อส่งเสริมการมีชีวิตอยู่ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) โปรแกรมสร้างแรงจูงใจเพื่อส่งเสริมการมีชีวิตอยู่ 2) แบบประเมินความคิดฆ่าตัวตายฉบับภาษาไทยและ 3) แบบประเมินแรงจูงใจในการมีชีวิตอยู่ เครื่องมือชุดที่ 1 และ 3 ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือชุดที่ 2 มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .82 ส่วนเครื่องมือชุดที่ 3 มีค่าความเที่ยง โดยวิธีทดสอบซ้ำโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันเท่ากับ .86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และการทดสอบค่าเฉลี่ยด้วยวิธี Planned Comparisons กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการดื่มสุราในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมสร้างแรงจูงใจเพื่อส่งเสริมการมีชีวิตอยู่มีความคิดฆ่าตัวตายในระยะหลังการทดลองทันที และหลังการทดลอง 2 สัปดาห์ ลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการดื่มสุราระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมสร้างแรงจูงใจเพื่อส่งเสริมการมีชีวิตอยู่มีความคิดฆ่าตัวตายลดลงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ ทั้งในระยะหลังการทดลองทันทีและหลังการทดลอง 2 สัปดาห์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The Effect Of Motivational Interviewing To Enhance Living Program On Suicide Ideation Among Alcohol Use Disorders
This study is a quasi-experimental two groups repeated measures design. The objectives were to compare: 1) suicide ideation of alcohol use disorders who received motivational interviewing to enhance living program measured at the end of the intervention and at 2 weeks post intervention, and 2) suicide ideation of alcohol use disorders who received motivational interviewing to enhance living program and those who received regular nursing care measured at the end of the intervention and at 2 weeks post intervention. The samples of 40 alcohol use disorders with suicide ideation who met the inclusion criteria were recruited from in-patient department, Khonkaen Rajanagarindra Psychiatric Hospital. The samples were matched-pair with diagnosis on alcohol use disorders and suicide ideation scores then randomly assigned into either experimental or control group, 20 subjects in each group. The experimental group received motivational interviewing to enhance living program, whereas the control group received the regular nursing care. The research instruments consisted of: 1) the motivational interviewing to enhance living program, 2) the SSI-Thai version 2014, and 3) the Living Ruler and instrument. The 1st and 3rd instruments were tested for content validity by 5 experts. The Cornbach’s alpha coefficient reliability of the 2nd instrument was as of .82, and the Pearson correlation reliability of the 3rd instrument was as of .86. The Repeated Measures Analysis of Variance and Planned Comparisons were used in data analysis. The conclusions of this research were as follow: 1) Suicidal ideation of Alcohol use disorders who received motivational interviewing to enhance living program measured at the end of the intervention and at 2 weeks post intervention was significantly lower than that before at p .05; 2) Suicidal ideation of Alcohol use disorders who received motivational interviewing to enhance living program measured at the end of the intervention and at 2 weeks post intervention was significantly lower than those who received the regular nursing care at p .05.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.