ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจในเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว

Authors

  • เอกราช คุณเวียง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
  • สมคิด ปราบภัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
  • ประคัลภ์ จันทร์ทอง คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วนัสนันท์ ศรีหวัง คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กฤดาภรณ์ เจริญวงศ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว, การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ, การดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว, Acyanosis Congenital Heart Disease, incidence of respiratory infection, Effectiveness of Health Education Program For Prevention

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจในเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) แบบหนึ่งกลุ่มวัด (one group pretest-posttest design) กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นผู้ดูแลหรือผู้ปกครองเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว จำนวน 80 คน และเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว จำนวน 80 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการใช้โปรแกรม ด้วยแบบทดสอบความรู้ เรื่องโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว แบบสอบถามแรงสนับสนุนของบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว และแบบบันทึกข้อมูลส่วนของเด็ก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired sample t-test และ McNema Chi-square test ผลการวิจัย พบว่า หลังการใช้โปรแกรม ผู้ดูแลหรือผู้ปกครอง มีความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียวสูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยหลังการใช้โปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ยความรู้สูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมอยู่ระหว่าง 4.4-5.7 คะแนน หลังการใช้โปรแกรมผู้ดูแลหรือผู้ปกครองมีพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียวสูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมหลังการใช้โปรแกรมสูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมอยู่ระหว่าง 11.2- 13.8 คะแนนหลังการใช้โปรแกรมผู้ดูแลหรือ ผู้ปกครองได้รับแรงสนับสนุนสูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.5) โดยหลังการใช้โปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ยแรงสนับสนุนสูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมอยู่ระหว่าง 4.3-6.5 คะแนน และผลการศึกษาอุบัติการณ์ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียวที่มีผู้ดูแลหรือผู้ปกครองได้ผ่านการใช้โปรแกรมแล้ว พบว่าอุบัติการณ์ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการใช้โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อป้องกันภาวะ แทรกซ้อนในเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว ต่ออุบัติการณ์การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจโดยก่อนการใช้โปรแกรมมีอุบัติการณ์ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจร้อยละ 71.2 (95%CI: 61.3-81.2) ขณะที่หลังการใช้โปรแกรมมีอัตราอุบัติการณ์ในระบบทางเดินหายใจลดลงคงเหลือร้อยละ 13.8 (95%CI: 6.2-21.3) หรือลดลงประมาณร้อยละ 57 (95%CI: 45-70)

Effectiveness Of Health Education Program For Prevention Of Respiratory Infection Among Children With Acyanosis Congenital Heart Disease

Effectiveness of Health Education Program For Prevention Of Respiratory Infection Among Children With Acyanosis Congenital Heart Diseasecomplication prevention program among children with acyanosis congenital heart disease. After the complication prevention program had been performed to the mothers or the guardians of children with acyanosis congenital heart diseases found that acknowledgment of the mothers or the guardians is statistically significant higher than before and the incidence of respiratory is decreased significantly. The t-test Mcnemar Chi-Square statistical was analyzed that there was significant effectiveness of complication prevention program among children with acyanosis congenital heart disease to the incidence of respiratory infection.(P<0.05). The mean of questionnaires regarding the knowledge and behaviors of the mothers or the quardians and the supporting of medical teams was shown 4.4–5.7, 11.2–13.8, 4.3–6.5 respectively. This study was Quasi-experimental research one group pretest-posttest design. 80 samples were mother or guardian of children with acyanosis congenital heart diseases and 80 newborn to one year old children with acyanisis congenital heart diseases. Data were collected using questionairs regarding the knowledge and behaviors of mother or guardians caring for children with acyanosis congenital heart disease, questionnaires regarding the supporting of medical teams, the children’s medical record and the pretest-posttest forms. Data analysis was performed using Descriptive. Means, Standard Deviation and Inferential statistic Paired sample t-test Mcnemar Chi-Square test (P<0.05). Conclusion; the study showed that health education program to prevent complications in children with acyanosis congenital heart disease can effectively reduce the incidence of respiratory infection.

Downloads

How to Cite

1.
คุณเวียง เ, ปราบภัย ส, จันทร์ทอง ป, ศรีหวัง ว, เจริญวงศ์ ก. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจในเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 Oct. 19 [cited 2024 Nov. 18];18(suppl.2):56-67. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/101586