ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันการหกล้มต่อพฤติกรรม การป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง

Authors

  • ภาสกร ชาญจิราวดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
  • ณัฐกฤตา ศิริโสภณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
  • ประเสริฐศักดิ์ กายนาคา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
  • สมบัติ อ่อนศิริ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

Keywords:

โปรแกรมป้องกันการหกล้ม, พฤติกรรมป้องกันการหกล้ม, ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง, a Fall Prevention Program, a Fall Prevention Behaviors, Hypertension Elderly

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันการหกล้มต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) โดยใช้แบบแผนการวิจัยกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง The One Group Pretest Posttest Design ศึกษากับผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ที่อาศัยในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 25 คน โดยใช้กรอบแนวคิด PRECEDE Framework กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงเป็นเวลาทั้งสิ้น 6 สัปดาห์ ประกอบด้วยกิจกรรมการให้ความรู้ การรับรู้ การฝึกทักษะการออกกำลังกาย และการเสริมแรงสนับสนุนจากบุคลากรสาธารณสุขและบุคคลใกล้ชิด เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองโดยใช้ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ประกอบด้วย3 ส่วน ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปทางชีวสังคมส่วนที่ 2 แบบสอบถามปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมปัจจัยเสริม และส่วนที่ 3 แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามส่วนที่ 2 และ ส่วนที่ 3 เท่ากับ 0.79, 0.732, 0.802, และ 0.712 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ Paired-sample t-test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างภายหลังได้รับโปรแกรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Effectiveness of a Fall Prevention Program for a Fall Prevention Behaviors in Hypertension Elderly

The quasi-experimental research aimedto studya fall preventionbehaviors in hypertension elderly. It was used The One Group Pretest Posttest Design among 25elderly in Nonthaburi Province. PRECEDE Frame work was used as a conceptual framework in this study. The experimental group was tread by treated used a fall prevention program among hypertension in elderly. The experimental group received 6-week health promotion program developed by the researcher. Health promotion activities include providiry knowledge and perceived demonstration and exercise skill practice and social support from health personal and closed person. Questionnaires which were developed by researcher were use as research tools and comprised 3 sections: (1) biosocial data, (2) predisposing factors, enabling factors, reinforcing factors, and (3) a fall prevention behaviors. Content validity of the questionnaires was verified by the 5 experts. The reliability of the second part and 3 rd.partswere 0.79, 0.732, 0.802, and 0.712 respectively.Data analysis was made for percentage, mean, standard deviation, paired-samples t-test The results of the study showed that after participating in the health education program, the experimental group had higher mean scores on a fall prevention behavior than the baseline at a .05 statistical significance level.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
ชาญจิราวดี ภ, ศิริโสภณ ณ, กายนาคา ป, อ่อนศิริ ส. ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันการหกล้มต่อพฤติกรรม การป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 Oct. 19 [cited 2024 Dec. 19];18(suppl.2):41-8. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/101581