ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของจังหวัดพิจิตร

ผู้แต่ง

  • จิรยุทธ์ คงนุ่น นักวิชาการสาธารณสุข ระดับชำนาญการพิเศษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร

คำสำคัญ:

การป้องกันควบคุม, การมีส่วนร่วม, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของจังหวัดพิจิตร และเพื่อศึกษาปัจจัยพยากรณ์ในสถานการณ์นี้ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็น อสม. ในจังหวัดพิจิตร จำนวน 954 คน ในช่วงเดือน กรกฎาคม ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2564 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้น

     ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อโควิด-19 อยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 52.4) สำหรับรายด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการตัดสินใจ ด้านปฏิบัติการด้านการรับผลประโยชน์ และด้านการประเมินผล พบว่ามีส่วนร่วมในระดับมากทุกด้าน (ร้อยละ 51.4, 43.0, 48.8, 48.8 และ 46.2 ตามลำดับ) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 จากการวิเคราะห์ตัวแปรเชิงเดี่ยว ได้แก่ ระดับความรู้ ระดับทัศนคติระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของชุมชน การได้รับการฝึก อบรมและกลุม่ อายุ (p-value < 0.05) ปจั จัยที่สง่ ผลตอ่ พฤติกรรมการมีสว่ นรว่ มของ อสม. ในการปอ้ งกันควบคุมโรคโควิด-19 ของจังหวัดพิจิตร จากการวิเคราะห์ตัวแปรแบบพหุ ได้แก่ ความคิดเห็นต่อสภาพแวดล้อมในชุมชนที่เอื้อต่อการรป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 ทัศนคติต่อโรคโควิด-19 อาชีพ และอายุ ซึ่งสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของ อสม. ในการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 ได้ร้อยละ 46.5 (p-value < 0.05)

 

References

Best, J. W. (1977). Research in education. (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall Inc.

Chinnabutr, W., & Phakdisorawit, N. (2020). The role of village health volunteers (VHVs) in preventing the Coronavirus 2019 (COVID-19) outbreak according to government policy of Mueng District Suphanburi Province. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 6(2), 304-318. (in Thai)

Department of Disease Control. (2021). Situation of COVID-19 in Thailand. Retrieved June 10, 2021, from https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/. (in Thai)

Glomjai, T., Kaewjiboon, J., & Chachvarat, T. (2020). Knowledge and behavior of people regarding self-care prevention from novel Coronavirus 2019 (COVID-19). Journal of Nursing, Public Health, and Education, 21(2), 29-39. (in Thai)

Inthacharoen, A., Kanchanapoom, K., Tansakul, K., & Pattapat, S. (2020). Factors influencing preventive behavior towards Coronavirus disease 2019 among people in Khohong Town Municipality Songkhla Province. Journal of Council of Community Public Health, 3(2), 19-30. (in Thai)

Jirapon, B., Janrob, P., Phongpun, M., Rinda, P., & Somsong, P. (2020). People participation in the prevention of COVID -2019 Konkaew Sub-District, Selaphum District, Roiet Province. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation, 7(2), 33-44. (in Thai)

Khumsaen, N. (2020). Knowledge, attitudes, and preventive behaviors of COVID-19 among people living in Amphoe U-thong, Suphanburi Province. Journal of Prachomklao College of Nursing, Phetchaburi Province, 4(1), 33-48. (in Thai)

Phichit Provincial Public Health Office. (2021). Reported illnesses with coronavirus disease. Retrieved June 10, 2021, from http://www.ppho.go.th/webppho/index.php

Ranong, K., Amporn, T., & Pasinee, T. (2020). Development of Covid-19 surveillance prevention and control model health promoting Hospital in Sub-District level, Udonthani Province-Udon model COVID-19. Journal of Health Science, 3(1), 53-61. (in Thai)

Wayne, W. D. (1995). Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences. (6th ed.). New York: John Wiley & Sons.

Worldometer (2021, June 9). COVID-19 Coronavirus pandemic. Retrieved June 10, 2021, from https://www.worldometers.info/coronavirus/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-26