รูปแบบการสั่งจ่ายยาเบนโซไดอะซีปีน และยาต้านเศร้า ในผู้ป่วยนอกจิตเวชรายใหม่เปรียบเทียบระหว่างก่อนการแพร่ระบาดและหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของโรงพยาบาลสวนปรุง

Main Article Content

ขวัญจิรา ศรีดาวเรือง
ลัธลิมา คำสอ
น้ำฝน ปิยะตระกูล
เรวดี เจนร่วมจิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการสั่งจ่ายยาเบนโซไดอะซีปีน และยาต้านเศร้า ในผู้ป่วยนอกจิตเวชรายใหม่ของโรงพยาบาลสวนปรุงระหว่างก่อนและหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมถึงศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อรูปแบบการสั่งจ่ายยา 


วิธีการศึกษา รูปแบบการศึกษาแบบย้อนหลัง (retrospective cohort study) โดยเก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และเวชระเบียนของผู้ป่วย ที่มีการบันทึกข้อมูลตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 กลุ่มประชากรที่ศึกษา คือ ผู้ป่วยนอกจิตเวชรายใหม่ที่เข้ารับบริการ ณ โรงพยาบาลสวนปรุง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ logistic regression, independent t-test และ Fisher’s exact test  


ผลการศึกษา ผู้ป่วยจำนวน 15,596 คน แบ่งเป็นก่อนและหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จำนวน 8,663 คน และ 6,933 ตามลำดับ พบว่าความชุกของการสั่งจ่ายยาเบนโซไดอะซีปีน และ/หรือ ยาต้านเศร้า ในช่วงหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เพิ่มขึ้นกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็น 1.15 เท่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95%CI 1.03-1.29, P=0.010) เมื่อปรับค่าที่ได้ด้วยปัจจัยที่มีผลพบว่า ความชุกของการสั่งจ่ายยาเบนโซไดอะซีปีนเพิ่มขึ้นเป็น 1.21 เท่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95%CI 1.12-1.30, P<0.001) และความชุกของการสั่งจ่ายยาต้านเศร้า เพิ่มขึ้นเป็นเป็น 1.04 เท่า แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (95%CI 0.95-1.13, P=0.397) ขนาดยาที่ได้รับต่อวันพบว่าลดลงเมื่อเทียบกับในช่วงก่อนการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญสถิติ (P<0.05)


สรุป การสั่งจ่ายยาเบนโซไดอะซีปีน และ/หรือ ยาต้านเศร้า ในช่วงหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มีความชุกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาด โดยเฉพาะความชุกของการสั่งจ่ายยาเบนโซไดอะซีปีน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากสัดส่วนของจำนวนผู้ป่วยที่ถูกวินิจฉัยโรควิตกกังวลเพิ่มขึ้นหลังสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างไรก็ตามพบว่าขนาดยาที่ได้รับต่อวันในช่วงหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ลดลง โดยข้อมูลรูปแบบการสั่งจ่ายยาเหล่านี้จะช่วยในการวางแผนระบบยาในโรงพยาบาลจิตเวชเพื่อรองรับความต้องการของผู้มารับบริการและการบริบาลเภสัชกรรมในกรณีเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคต่อไป

Article Details

How to Cite
ศรีดาวเรือง ข., คำสอ ล. ., ปิยะตระกูล น., & เจนร่วมจิต เ. (2024). รูปแบบการสั่งจ่ายยาเบนโซไดอะซีปีน และยาต้านเศร้า ในผู้ป่วยนอกจิตเวชรายใหม่เปรียบเทียบระหว่างก่อนการแพร่ระบาดและหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของโรงพยาบาลสวนปรุง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 69(3), 363–375. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JPAT/article/view/268391
บท
Original Articles

References

da Rosa Mesquita R, Francelino Silva Junior LC, Santos Santana FM, Farias de Oliveira T, Campos Alcântara R, Monteiro Arnozo G, et al. Clinical manifestations of COVID-19 in the general population: systematic review. Wien Klin Wochenschr 2021;133(7-8):377-82.

Bertini CD Jr, Khawaja F, Sheshadri A. Coronavirus disease-2019 in the immunocompromised host. Clin Chest Med 2023;44(2):395-406.

Koçak O, Koçak Ö E, Younis MZ. The psychological consequences of COVID-19 fear and the moderator effects of individuals' underlying illness and witnessing Infected friends and family. Int J Environ Res Public Health 2021;18(4).

Corpuz JCG. Adapting to the culture of ‘new normal’: an emerging response to COVID-19. J Public Health 2021;43(2):e344-e5.

Antipova A. Analysis of the COVID-19 impacts on employment and unemployment across the multi-dimensional social disadvantaged areas. Soc Sci Humanit Open 2021;4(1):100224.

Xiong J, Lipsitz O, Nasri F, Lui LMW, Gill H, Phan L, et al. Impact of COVID-19 pandemic on mental health in the general population: a systematic review. J Affect Disord 2020;277:55-64.

Salari N, Hosseinian-Far A, Jalali R, Vaisi-Raygani A, Rasoulpoor S, Mohammadi M, et al. Prevalence of stress, anxiety, depression among the general population during the COVID-19 pandemic: a systematic review and meta-analysis. Global Health 2020;16(1):57.

Campitelli MA, Bronskill SE, Maclagan LC, Harris DA, Cotton CA, Tadrous M, et al. Comparison of medication prescribing before and after the COVID-19 pandemic among nursing home residents in Ontario, Canada. JAMA Netw Open 2021;4(8):e2118441.

Metin A, Erbiçer ES, Şen S, Çetinkaya A. Gender and COVID-19 related fear and anxiety: a meta-analysis. J Affect Disord 2022;310:384-95.

Uthayakumar S, Tadrous M, Vigod SN, Kitchen SA, Gomes T. The effects of COVID-19 on the dispensing rates of antidepressants and benzodiazepines in Canada. Depress Anxiety 2022;39(2):156-62.

Bandelow B, Zohar J, Hollander E, Kasper S, Möller HJ, Zohar J, et al. World federation of societies of biological psychiatry (WFSBP) guidelines for the pharmacological treatment of anxiety, obsessive-compulsive and post-traumatic stress disorders - first revision. World J Biol Psychiatry 2008;9(4):248-312.

Department of Mental Health, Ministry of Public Health, Thailand. Clinical practice guideline of major depressive disorder for general practitioner: CPG-MDD-GP. Bangkok: Department of Mental Health; 2010.

Preskorn SH, Borges-Gonzalez S, Flockhart D. Clinically relevant pharmacology of neuropsychiatric drugs approved over the last three years: part II. J Psychiatr Pract 2006;12(5):312-6.

Mu A, Weinberg E, Moulin DE, Clarke H. Pharmacologic management of chronic neuropathic pain: review of the Canadian pain society consensus statement. Can Fam Physician 2017;63(11):844-52.

Susman J, Klee B. The role of high-potency benzodiazepines in the treatment of panic disorder. Prim Care Companion J Clin Psychiatry 2005;7(1):5-11.