ผลกระทบของการใช้สื่อมัลติมีเดียช่วงก่อนนอนต่อปัญหาการนอนของผู้ป่วยเด็กโรคสมาธิสั้น

Main Article Content

Hathaipat Withayasakpunt

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบของการใช้สื่อมัลติมีเดียช่วงก่อนเข้านอนต่อปัญหาการนอนในผู้ป่วยเด็กโรคสมาธิสั้น


วิธีการศึกษา การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางในผู้ป่วยเด็กโรคสมาธิสั้นอายุ 6-8 ปี ที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกที่หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยแพทย์เจ้าของไข้เป็นผู้ตอบแบบสอบถามข้อมูลการเจ็บป่วย และผู้ปกครองเป็นผู้ตอบแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมการใช้สื่อมัลติมีเดียของเด็ก ข้อมูลสุขอนามัยการนอนของเด็ก และแบบสอบถามปัญหาการนอนของเด็กฉบับภาษาไทย


ผลการศึกษา มีผู้เข้าร่วมงานวิจัยทั้งหมด 80 ราย ร้อยละ 63.7 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 7.33  ปี ร้อยละ 93.8 มีปัญหาการนอน คะแนนปัญหาการนอนโดยรวมของเด็กเฉลี่ย 49.20 คะแนน โดยพบว่าจำนวนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในห้องนอนที่เพิ่มขึ้นสัมพันธ์กับคะแนนปัญหาการนอนด้านการตื่นระหว่างหลับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และระยะเวลาในการเล่นเกมที่เพิ่มขึ้นในช่วงก่อนเข้านอนสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของคะแนนปัญหาการนอนด้านระยะเวลาการนอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่ระยะเวลาในการใช้สื่อมัลติมีเดียด้านอื่นๆ ไม่พบว่าสัมพันธ์กับคะแนนปัญหาการนอนด้านใดชัดเจน และเมื่อควบคุมปัจจัยระดับความรุนแรงของโรคสมาธิสั้น ระยะเวลาในการเล่นเกมที่เพิ่มขึ้นในช่วงก่อนเข้านอนสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของคะแนนปัญหาการนอนด้านระยะเวลาการนอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่การที่ผู้ปกครองให้คำแนะนำระหว่างที่เด็กใช้สื่อมัลติมีเดียทุกครั้งพบว่าสัมพันธ์กับการลดลงของคะแนนปัญหาการนอนด้านเวลาที่เริ่มนอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


สรุป ระยะเวลาในการเล่นเกมในช่วงก่อนเวลาเข้านอนสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของคะแนนปัญหาการนอนด้านระยะเวลาการนอน และจำนวนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในห้องนอนสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของคะแนนปัญหาการนอนด้านการตื่นระหว่างหลับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่การมีผู้ปกครองคอยให้คำแนะนำระหว่างใช้สื่อมัลติมีเดียพบว่าสัมพันธ์กับการลดลงของคะแนนปัญหาการนอนด้านเวลาที่เริ่มนอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
Original Articles

References

1. กองสถิติเศรษฐกิจ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สรุปผลที่สำคัญ การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเศรษฐกิจแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม; 2561
2. Council on Communications and Media. Media Use in School-Aged Children and Adolescents. Pediatrics. 2016;138(5):1-6.
3. Fuller C, Lehman E, Hicks S, Novick M. Bedtime Use of Technology and Associated Sleep Problems in Children. Global Pediatric Health. 2017; 4:1-8.
4. Chiraphadhanakul K, Jaimchariyatam N, Pruksananonda C, Chonchaiya W. Increased Sleep Disturbances in Thai Children With Attention-Deficit Hyperactivity Disorder Compared With Typically Developing Children. Behavioral Sleep Medicine. 2015;14(6):677-686.
5. Hosiri T, Punyapas S, Sawangsri W. The Prevalence and Patterns of Sleep Problem in Children with ADHD. J Med Assoc Thai 2018; 101; Suppl. 1: S34-S40.
6. Cortese S, Brown TE, Corkum P, Gruber R, O'Brien LM, Stein M, et al. Assessment and management of sleep problems in youths with attention-deficit/hyperactivity disorder. J Am Acad Child Adolesc Psychiatry. 2013;52(8):784-96.
7. Spruyt K, Gozal D. Sleep disturbances in children with attention-deficit/hyperactivity disorder. Expert Rev Neurother. 2011;11(4):565-77.
8. Weiss MD, Baer S, Allan BA, Saran K, Schibuk H. The screens culture: impact on ADHD. Atten Defic Hyperact Disord. 2011;3(4):327-34.
9. Becker S, Lienesch J. Nighttime media use in adolescents with ADHD: links to sleep problems and internalizing symptoms. Sleep Medicine. 2018;51:171-178.
10. Vaidyanathan S, Shah H, Gayal T. Sleep Disturbances in Children with Attention - Deficit/Hyperactivity Disorder (ADHD): Comparative Study with Healthy Siblings. J Can Acad Child Adolesc Psychiatry. 2016;25(3):145-51.
11. Cain N, Gradisar M. Electronic media use and sleep in school-aged children and adolescents: A review. Sleep Med. 2010;11(8):735-42.
12. Tahkamo L, Partonen T, Pesonen AK. Systematic review of light exposure impact on human circadian rhythm. Chronobiol Int. 2019;36(2):151-70.
13. Wajszilber D, Santiseban JA, Gruber R. Sleep disorders in patients with ADHD: impact and management challenges. Nat Sci Sleep. 2018;10:453-80.