เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • The author has read the submission guidelines, and the manuscript adheres to the template provided by the journal.
    https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JPAT/about/submissions
  • The article processing charge is 3,000 baht.
  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration.
  • Generally, articles are reviewed by two reviewers. However, if you wish to have three reviewers, please contact the editor-in-chief after submitting.
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or WordPerfect document file format.

      วารสารฯ รับบทความผ่านระบบ online ของ TCI เท่านั้น ต้นฉบับที่ส่งมาเพื่อรับการพิจารณาต้องไม่เคยตีพิมพ์ในที่ใดมาก่อน หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาในวารสารอื่น บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้แล้วถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสมาคมจิตแพทย์ฯ แต่เพียงผู้เดียว การตีพิมพ์ซ้ำในที่อื่นต้องได้รับอนุญาตจากวารสารสมาคมจิตแพทย์ฯ ก่อน

     ต้นฉบับที่ส่งมาจะได้รับการตรวจทบทวนโดยผู้ที่กองบรรณาธิการเห็นว่าทรงคุณวุฒิ (reviewer) ในด้านนั้นอย่างน้อย 2 ท่าน กองบรรณาธิการจะส่งข้อคิดเห็นตลอดจนข้อเสนอแนะของผู้ทบทวนไปเพื่อให้ผู้นิพนธ์พิจารณาปรับปรุงแก้ไข

     *วารสารฯ มีค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ 3,000 บาทต่อบทความ โดยค่าใช้จ่ายจะเรียกเก็บภายหลังจากบทความได้รับการยอมรับ (accept) ให้ตีพิมพ์ในวารสารฯ แล้ว

ประเภทของบทความที่รับตีพิมพ์ แบ่งเป็น 6 ชนิด ได้แก่

  1. นิพนธ์ต้นฉบับ (Original articles) เป็นรายงานเกี่ยวกับผลการวิจัย
  2. รายงานผู้ป่วย (Case report) เป็นรายงานเกี่ยวกับผู้ป่วยที่ไม่เคยมีรายงานมาก่อนหรือมีรายงานน้อย รายชื่อเรื่องควรต่อท้ายด้วย: “รายงานผู้ป่วย”
  3. บทความฟื้นฟูวิชาการ (Review articles) เป็นการรวบรวมผลงานเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ โดยผู้นิพนธ์ได้มีการศึกษาในเรื่องนี้มาอย่างกว้างขวาง มีการนำเรื่องมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบกัน เป็นองค์ความรู้ใหม่พร้อมข้อเสนอแนะ
  4. บทความพิเศษ (Special articles) ผู้เขียนเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในทางใดทางหนึ่ง และใช้ประสบการณ์นี้เขียนแสดงความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าว โดยบทความพิเศษต้องได้รับความเห็นชอบจากบรรณาธิการก่อนเท่านั้น 
  5. จดหมายถึงบรรณาธิการ (Letter to editor) จดหมายที่เขียนเกี่ยวข้องกับบทความที่ได้ลงตีพิมพ์ไปแล้ว หรือนำเสนอผลงานทางวิชาการที่ต้องการเผยแพร่อย่างย่อ
  6. ปกิณกะ (Miscellaneous) เป็นบทความเกี่ยวกับเรื่องที่ไม่สามารถจัดเข้าในประเภทใด ๆ ข้างต้น เช่น บทแนะนำตำราที่น่าสนใจ

 

การเตรียมต้นฉบับ

               พิมพ์โดยใช้หน้ากระดาษขนาด A4 ใช้ตัวอักษรขนาด 14-16 ตามความเหมาะสม มีเลขหน้ากำกับทุกแผ่นที่มุมขวา ศัพท์ทางการ แพทย์ควรยึดถือตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน หากไม่มีศัพท์บัญญัติในภาษาไทยให้ใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษได้ โดยภาษาอังกฤษที่ปนอยู่ในเนื้อเรื่องภาษาไทยให้ใช้ตัวเล็กทั้งหมด ยกเว้นชื่อเฉพาะ ซึ่งขึ้นต้นด้วยอักษรใหญ่ ทั้งนี้แนะนำให้ผู้นิพนธ์ทำตาม template รูปแบบการเขียนบทความ โดยสามารถ *ดาวน์โหลดได้ที่นี่*

               ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้นิพนธ์ต้องกรอกข้อมูลระหว่างส่งบทความ (metadata) ให้ครบถ้วน ได้แก่ ชื่อเรื่อง ผู้นิพนธ์ บทคัดย่อ คำสำคัญ และเอกสารอ้างอิง ทั้งนี้ในส่วนรายชื่อผู้นิพนธ์ต้องกรอกข้อมูลให้ครบทุกคน หากรายชื่อผู้นิพนธ์ที่ระบุในระบบไม่ตรงกับใบปะหน้าบทความ วารสารจะปฏิเสธรับพิจารณา ผู้นิพนธ์ต้องกลับไปแก้ไขให้ถูกต้องก่อน

                นอกจากนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 ทางวารสารฯ เพิ่มความเข้มงวดในเรื่องของ authorship ทั้งนี้ผู้ส่งบทความและติดต่อกับทางวารสารฯ ต้องเป็น corresponding author เท่านั้น และวารสารฯ ไม่อนุญาตให้มีการเปลี่ยนแปลงผู้นิพนธ์ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่ม ลด หรือเปลี่ยนแปลงลำดับผู้นิพนธ์ ภายหลังการส่งบทความแล้วทุกกรณี ยกเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากบรรณาธิการ (editor in chief) เท่านั้น 

                บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ขอให้ผู้นิพนธ์ตรวจสอบความถูกต้องของตัวสะกดและไวยากรณ์ ก่อนส่งต้นฉบับ หากกองบรรณาธิการพบความคลาดเคลื่อนทางภาษามาก จะส่งต้นฉบับนั้นคืนให้ผู้นิพนธ์แก้ไข ซึ่งจะทำให้ใช้เวลามากขึ้น 

             

ต้นฉบับจัดตามลำดับและมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

(สามารถ download template ได้ที่ https://docs.google.com/document/d/1Wxq_U-MR1jqHnxtrd25OsSlWYXBURwcD/edit)

1. ใบปะหน้า ประกอบด้วยชื่อเรื่อง ชื่อผู้นิพนธ์ และสถาบันของผู้นิพนธ์ทุกคนโดยเขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ, ระบุชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และ e-mail address ของผู้นิพนธ์ที่รับผิดชอบในการติดต่อกับกองบรรณาธิการ (Corresponding author), และระบุการมีส่วนร่วมของผู้นิพนธ์ โดยให้ส่งแยกไฟล์จากเอกสารที่เหลือ

2. บทคัดย่อ ให้เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 500 คำ ให้ประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้ วัตถุประสงค์ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา สรุป และคำสำคัญ (key words; ระบุคำสำคัญ 3-5 คำ)

3. เนื้อเรื่อง สำหรับนิพนธ์ต้นฉบับประกอบด้วย 1) บทนำ 2) วิธีการศึกษา 3) ผลการศึกษา 4) วิจารณ์ และ 5) สรุป

4. กิตติกรรมประกาศ สำหรับผู้ให้ความช่วยเหลือ หรือสนับสนุนทุนวิจัย, และชี้แจงผลประโยชน์ขัดกัน

5. เอกสารอ้างอิง(References) ควรเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด การอ้างอิงใช้ระบบแวนคูเวอร์ (Vancouver) กำหนดหมายเลขเรียงตามลำดับการอ้างในเนื้อเรื่อง เลขอ้างในเรื่อง (index citation) ให้ใช้เลขอารบิคตัวยก (superscript) ไม่ต้องมีวงเล็บ ชื่อย่อของวารสารใช้ตาม Index Medicus กรณีวารสารที่เป็น non-index Medicus ให้ใส่ชื่อเต็มของวารสารนั้น ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิงดูได้ที่ด้านท้ายบทความ

6. ตารางและรูปภาพ มีตารางและรูปภาพรวมกันไม่เกิน 5 ชิ้น โดยตารางและภาพต้องสามารถอ่านได้เข้าใจในตัวเอง ในกรณีรูปภาพที่ต้องการความชัดเจน ควรส่งไฟล์รูปภาพแยกมาต่างหากโดยใช้รูปแบบไฟล์ที่นิยม เช่น JPEG, TIFF เป็นต้น

ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิงที่ใช้บ่อย

1. บทความในวารสาร 

  • Lewis G, Hawton K, Jones P. Strategies for preventing suicide. Br J Psychiat 1997; 171: 351-4.
  • รูปแบบ (Author). (Title of the article).  (Title of the Journal-ชื่อย่อวารสาร) (Year); (volume): (page).

* ข้อควรระวัง: ถ้าผู้นิพนธ์มีน้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 คน ให้ใส่ชื่อผู้นิพนธ์ ทุกคน ถ้ามีมากกว่า 6 คน ให้ใส่ชื่อ 6 คนแรก ตามด้วย et al. ไม่ต้องใส่วันที่และเดือนที่เผยแพร่ หลังชื่อวารสารไม่ต้องใส่จุด (.) ชื่อวารสารเป็นชื่อย่อและมักจะขึ้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ เลขหน้าสุดท้ายเขียนเฉพาะเลขที่ไม่ซ้ำกับเลขหน้าแรก เช่น หน้า 312-20. (ไม่ต้องเขียน 312-320) ทั้งนี้เอกสารอ้างอิงที่เป็นวารสารภาษาไทยขอให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษเป็นหลัก

2. หนังสือ

ผู้นิพนธ์คนเดียวหรือหลายคน

  • Kaplan HI, Sadock BJ, Ruitz P. Synopsis of psychiatry: behavioral sciences, clinical psychiatry. 11th ed. Baltimore: Wolters & Kluwer; 2015.

    บทความในหนังสือหรือตำรา

  • McKenna MS. Anorexia nervosa and bulimic nervosa. In: Sederer LI, ed. Inpatient psychiatry: diagnosis and treatment. Baltimore: Williams & Wilkins: 1991. p.141-66.

3. วิทยานิพนธ์ (Dissertation)

  • Borkowski MM. Infant sleep and feeding: a telephone survey of Hispanic Americans (dissertation). Mount Pleasant (MI): Central Michigan University; 2002.

 

ชื่อย่อของวารสารหาได้จาก https://www.ncbi.nlm.nih.gov/entrez/query.fcgi