ความคิดยุติการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางและปัจจัยที่เกี่ยวข้องสำรวจจากแพทย์ใช้ทุน และแพทย์ประจำบ้านของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
Main Article Content
Abstract
วัตถุประสงค์: ศึกษาความคิดยุติการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในแพทย์ใช้ทุน แพทย์ประจำบ้าน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง ศึกษาในแพทย์ใช้ทุน แพทย์ประจำบ้าน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปีการศึกษา 2559 ทุกคน โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบเองคือ แบบสำรวจข้อมูลทั่วไป และความคิดและปัจจัยในการยุติการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปและความคิดยุติการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา นำเสนอเป็นความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความคิดยุติการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง โดยใช้สถิติ Chi-square และ Fisher’s exact test
ผลการศึกษา: แพทย์ใช้ทุน แพทย์ประจำบ้านตอบแบบสอบถามมีจำนวนทั้งสิ้น 192 ราย (ร้อยละ 50.8) เป็นเพศหญิง 112 ราย (ร้อยละ 58.3) เพศชาย 80 ราย (ร้อยละ 41.7) อายุเฉลี่ย 27.2 ปี มีเหตุผลต่อการเลือกศึกษาเป็นแพทย์เฉพาะทางในสาขาต่างๆ คือ ความชอบส่วนตัว (ร้อยละ 87.0) ความประทับใจในอาจารย์ หรือ การทำงาน (ร้อยละ 30.2 และ 28.1 ตามลำดับ) และลักษณะงานที่มีความยืดหยุ่นเป็นอิสระ (ร้อยละ 28.6) แพทย์ใช้ทุน แพทย์ประจำบ้าน จำนวน 95 ราย (ร้อยละ 49.5) เคยมีความคิดยุติการฝึกอบรม และมีความคิดในช่วงชั้นปีที่ 1 และ 2 (ร้อยละ 45.3 และ 43.2 ตามลำดับ) โดยปัจจัยที่มีผลต่อความคิดยุติการฝึกอบรมในระดับมากคือ ความเครียดจากงาน และจากการวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความคิดยุติการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ชั้นปีที่กำลังศึกษา (p-value < 0.001)
สรุป: เหตุผลหลักที่แพทย์ใช้ทุน แพทย์ประจำบ้านเลือกศึกษาเป็นแพทย์เฉพาะทางคือ ความชอบส่วนตัว และปัจจัยที่คิดยุติการฝึกอบรมคือ มีความเครียดจากการทำงาน
Article Details
Articles submitted for consideration must not have been previously published or accepted for publication in any other journal, and must not be under review by any other journal.