ผลของการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดเฮพารินขนาดต่ำต่อจำนวนการใช้ตัวกรองซ้ำในการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม: การศึกษาแบบสุ่มและข้ามกลุ่ม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ: การใช้เฮพารินเพื่อป้องกันการแข็งตัวของเลือดภายในตัวกรอง เป็นมาตรฐานในการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การใช้เฮพารินในขนาดสูงอาจส่งผลให้เกิดเลือดออกเพิ่มขึ้น ในขณะที่ถ้าใช้เฮพารินในขนาดต่ำ อาจเพิ่มการแข็งตัวของเลือดภายในตัวกรอง ทำให้สามารถใช้ตัวกรองซ้ำ (dialyzer reuse) ได้ในจำนวนครั้งที่ลดลง การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบสุ่มและข้ามกลุ่ม (randomized crossover) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใช้เฮพารินขนาดต่ำกับขนาดมาตรฐานในการป้องกันการแข็งตัวของเลือดในตัวกรองในการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
ระเบียบวิธีวิจัย: ผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมจำนวน 75 คน ได้รับการสุ่มเพื่อรับเฮพารินขนาดต่ำ (loading 15 ยูนิต/กิโลกรัม และ maintenance 500 ยูนิต/ชั่วโมง) หรือ ขนาดมาตรฐาน (50 ยูนิต/กิโลกรัม และ maintenance 1,000 ยูนิต/ชั่วโมง) โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ ความแตกต่างของจำนวนครั้งของการใช้ตัวกรองซ้ำ และวัตถุประสงค์รอง คือ ความแตกต่างของ activated partial thromboplastin time (aPTT), Kt/V, ขนาดยาอิริโธรพอยอิตินและธาตุเหล็ก ระดับของธาตุเหล็กในเลือด และผลข้างเคียงต่างๆ
ผลการศึกษา: จำนวนครั้งของการใช้ตัวกรองซ้ำของกลุ่มที่ได้รับเฮพารินขนาดต่ำน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับเฮพารินขนาดมาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (17±4 vs. 13±5 ครั้ง, p<0.001) กลุ่มที่ได้รับเฮพารินขนาดต่ำมีค่า aPTT ที่ชั่วโมงที่ 2 (36±13 และ 70±36 วินาที, p<0.001) และ ชั่วโมงที่ 4 (31±10 และ 55±30 วินาที, P<0.001) หลังเริ่มต้นฟอกเลือด และ ค่า Kt/V (1.7±0.4 และ 1.9±0.4, p=0.001) ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับเฮพารินขนาดมาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับฮีโมโกลบินของกลุ่มที่ได้รับเฮพารินขนาดต่ำมีค่าสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับเฮพารินขนาดมาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญ ไม่พบความแตกต่างกันของขนาดยาอิริโธรพอยอิตินและธาตุเหล็ก และระดับของธาตุเหล็กในเลือดในกลุ่มที่ได้รับเฮพารินขนาดมาตรฐานพบว่ามีเลือดออกเล็กน้อยที่เส้นฟอกเลือดจำนวน 2 ครั้ง นอกจากนี้ ไม่พบความแตกต่างของผลข้างเคียงอื่นๆ ระหว่างทั้ง 2 กลุ่ม
สรุป: การใช้เฮพารินขนาดต่ำส่งผลให้สามารถใช้ตัวกรองซ้ำได้ในจำนวนครั้งที่ต่ำกว่าการใช้เฮพารินขนาดมาตรฐาน และยังพบผลในทางลบต่อความพอเพียงของการฟอกเลือด ดังนั้นจึงไม่ควรแนะนำให้ใช้เฮพารินขนาดต่ำเป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือดสำหรับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่ำต่อภาวะเลือดออก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ตีพิมพ์ภายไต้การอนุญาต CC BY-NC-ND 4.0 ซึ่งอนุญาตให้สามารถใช้บทความนี้พื่อวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตามที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ โดยต้องมีการอ้างถึงที่มาของบทความอย่างครบถ้วน ใครก็ตามสามารถคัดลอกและแจกจ่ายทุกส่วนของบทความนี้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้ประพันธ์หรือสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย
References
Shen JI, Winkelmayer WC. Use and safety of unfractionated heparin for anticoagulation during maintenance hemodialysis. Am J Kidney Dis. 2012;60:473–86.
Murea M, Russell GB, Daeihagh P, Saran AM, Pandya K, Cabrera M, et al. Efficacy and safety of low-dose heparin in hemodialysis. Hemodial Int. 2018;22(1):74–81.
Swartz RD, Port FK. Preventing hemorrhage in high-risk hemodialysis: regional versus lowdose heparin. Kidney Int. 1979;16(4):513–18.
Chanard J, Lavaud S, Maheut H, Kazes I, Vitry F, Rieu P. The clinical evaluation of low-dose heparin in haemodialysis: a prospective study using the heparin-coated AN69 ST membrane. Nephrol Dial Transplant. 2008;23:2003–9.
Chairat Shayakul, editor. Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014. Bangkok (Thailand): October Press Publishing: 2014.
Claudel SE, Miles LA, Murea M. Anticoagulation in hemodialysis: A narrative review. Semin Dial. 2020;34:103-15.
Daugirdas JT, Blake PG, Ing TS, editors. Handbook of dialysis. 5th ed. Philadelphia: Wolters Kluwer; 2015.