ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการอุดตันของตัวกรองในผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่อง

Main Article Content

สลิลทิพย์ เตียวโชคตระกูล
ธรรมพร เนาว์รุ่งโรจน์
กรชนก วารีแสงทิพย์
ทวี ชาญชัยรุจิรา

บทคัดย่อ

บทนำ: การอุดตันของตัวกรองเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประสิทธิภาพของการบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่องลดลง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงต่อการอุดตันของตัวกรอง ในการบำบัดทดแทนไตอย่างต่อเนื่องยังมีอยู่น้อย เร็วๆ นี้ได้มีการกล่าวถึงการคำนวณ filtration fraction (FF) วิธีใหม่ โดยนำค่าความเข้มข้นเลือดก่อนผ่านตัวกรอง และหลังผ่านตัวกรอง (FFHct) มาใช้ในสูตร ซึ่งอาจเป็นวิธีที่ดีกว่าในการประเมินความเสี่ยงต่อการอุดตันของตัวกรอง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่าง ค่า FFHct, ค่า FF ที่คำนวณด้วยวิธีเก่า (conventional FF) รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการอุดตันของตัวกรองในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่อง


ระเบียบวิธีวิจัย: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้าในผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่องที่ไม่ได้รับสารป้องกันการเกิดลิ่มเลือด การเก็บข้อมูลปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการอุดตันของตัวกรอง จะเริ่มตั้งแต่ก่อนการบำบัดทดแทนไตและเก็บข้อมูลทุก 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 72 ชั่วโมง หรือจนกว่าตัวกรองจะใช้งานไม่ได้


ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 21 คน โดยใช้ตัวกรองทั้งหมด 48 ตัว พบว่าอายุการใช้งานของตัวกรอง มีค่ามัธยฐาน 20.5 ชั่วโมง ตัวกรองทั้งหมดเกิดการอุดตันก่อน 72 ชั่วโมง จากการวิเคราะห์แบบพหุตัวแปรพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอายุที่สั้นลงของตัวกรอง คือ FFHct >ร้อยละ 20 (HR: 2.18, 95% CI: 1.10 - 4.31, p=0.03) การมีสายฟอกเลือดตำแหน่งอื่นที่ไม่ใช่ internal jugular vein ด้านขวา (HR: 2.23, 95% CI: 1.16 - 4.29, p=0.02) และปริมาณเกล็ดเลือด >100,000 ต่อไมโครลิตร (HR: 2.22, 95% CI: 1.08 - 4.60, p=0.03) ส่วนค่าความดัน arterial ในวงจรการบำบัดทดแทนไต (<-150 มม.ปรอท) ค่า sieving coefficient (<0.9) ค่า conventional FF (≥ร้อยละ 20) และ ค่าความเข้มข้นของเลือดหลังตัวกรอง (≥ร้อยละ 35) ไม่มีความสัมพันธ์กับอายุของตัวกรอง


สรุป: ในผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่อง โดยไม่ใช้สารป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ค่า FFHct ≥ร้อยละ 20 มีความสัมพันธ์กับอายุการใช้งานของตัวกรองที่สั้นลง อย่างไรก็ตามจำเป็นที่จะต้องรอผลการศึกษาจากงานวิจัยในอนาคตเพื่อยืนยันผลการศึกษาเบื้องต้นนี้

Article Details

บท
Original Article

References

Brain M, Winson E, Roodenburg O, McNeil J. Non-anti-coagulant factors associated with filter life in continuous renal replacement therapy (CRRT): a systematic review and meta-analysis. BMC Nephrol. 2017;18(1):69.

Khwaja A. KDIGO clinical practice guidelines for acute kidney injury. Nephron Clin Pract. 2012;120(4):c179-84.

Ferreruela M, Raurich JM, Ayestarán I, Llompart-Pou JA. Hyperlactatemia in ICU patients: Incidence, causes and associated mortality. J Crit Care. 2017;42:200–5.

Helms J, Severac F, Merdji H, Clere-Jehl R, François B, Mercier E, et al. Performances of disseminated intravascular coagulation scoring systems in septic shock patients. Ann Intensive Care. 2020;10(1):92.

Joannidis M, Oudemans-van Straaten HM. Clinical review: Patency of the circuit in continuous renal replacement therapy. Crit Care Lond Engl. 2007;11(4):218.

Kramer P, Kaufhold G, Gröne HJ, Wigger W, Rieger J, Matthaei D, et al. Management of anuric intensive-care patients with arteriovenous hemofiltration. Int J Artif Organs. 1980;3(4):225–30.

Lauer A, Saccaggi A, Ronco C, Belledonne M, Glabman S, Bosch JP. Continuous Arteriovenous Hemofiltration in the Critically Ill Patient. Ann Intern Med. 1983;99(4):455–60.

Jenkins RD, Funk JE, Chen B, Golper TA. Operational Instability in Extracorporeal Filtration of Blood. Blood Purif. 1992;10(5–6):292–308.

MacEwen C, Watkinson P, Winearls C. Circuit life versus bleeding risk: the impact of achieved activated partial thromboplastin time versus achieved filtration fraction. Ther Apher Dial. 2015;19(3):259-66

Ricci Z, Ronco C, Bachetoni A, D’amico G, Rossi S, Alessandri E, et al. Solute removal during continuous renal replacement therapy in critically ill patients: convection versus diffusion. Crit Care. 2006;10(2):R67.

Davies HT, Leslie G, Pereira SM, Webb S a. R. A randomized comparative crossover study to assess the affect on circuit life of varying pre-dilution volume associated with CVVH and CVVHDF. Int J Artif Organs. 2008;31(3):221–7.

Califano AM, Bitker L, Baldwin I, Fealy N, Bellomo R. Circuit Survival during Continuous Venovenous Hemodialysis versus Continuous Venovenous Hemofiltration. Blood Purif. 2020;49(3):281–8.

Kakajiwala A, Jemielita T, Hughes JZ, Windt K, Denburg M, Goldstein SL, et al. Membrane pressures predict clotting of pediatric continuous renal replacement therapy circuits. Pediatr Nephrol. 2017;32(7):1251–61.

Dunn WJ, Sriram S. Filter lifespan in critically ill adults receiving continuous renal replacement therapy: the effect of patient and treatment-related variables. Crit Care Resusc. 2014;16(3):225–31.

Hatamizadeh P, Tolwani A, Palevsky P. Revisiting filtration fraction as an index of hemofilter clotting in continuous venovenous hemofiltration. Clin J Am Soc Nephrol. 2020;15:1660-2.