ผลของการหยุดยากลุ่มสแตตินต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

Main Article Content

ณลินี โพธิสิริสกุลวงศ์
เกรียงศักดิ์ ฟูนิลกุล
สาธิต คูระทอง

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต แม้ว่าจะพบผลดีในการลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจากการใช้ยาในกลุ่มสแตตินในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ยังไม่ต้องรับการบำบัดทดแทนไต แต่แนวทางเวชปฏิบัติส่วนมากยังไม่แนะนำให้เริ่มยากลุ่มดังกล่าวในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต และยังไม่เคยมีการศึกษาถึงผลของการหยุดยากลุ่มสแตตินในผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม กรณีที่ได้รับยาในกลุ่มดังกล่าวมาก่อนที่จะเริ่มการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม


ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นการศึกษาแบบสุ่มติดตามไปข้างหน้าที่ผู้วิจัยไม่รู้กลุ่มการรักษาที่ได้รับ และมีการเปรียบเทียบกับยาหลอก โดยศึกษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่รับการรักษาที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาล แบ่งผู้ป่วยเป็นกลุ่มที่หยุดยาสแตตินโดยแทนที่ด้วยยาหลอก และกลุ่มที่ได้รับยาซิมวาสแตตินในขนาด 20 มก./วัน มีผลการศึกษาหลัก คือ การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และผลการศึกษารอง คือ ระดับไขมันในเลือด, ระดับ high-sensitivity C-reactive protein (hs-CRP) ในเลือด, ระดับ high-sensitivity cardiac troponin-T (hs-cTnT) ในเลือด และการเสียชีวิต


ผลการศึกษา: มีผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 41 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มหยุดยาสแตติน 19 คน และกลุ่มที่ได้รับยาซิมวาสแตติน 22 คน มีผู้ออกจากงานวิจัย 1 คน พบอุบัติการณ์การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดภายหลังจบการศึกษาที่ 6 เดือน เท่ากับ 1.56 และ 1.30 ต่อประชากร 100 คน-เดือน ในกลุ่มที่หยุดยาสแตติน และกลุ่มที่ได้รับยาซิมวาสแตตินตามลำดับ โดยที่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยใช้การทดสอบ Log-rank (p-value 0.834) แต่พบว่าระดับคอเลสเตอรอลรวม และไขมันเลวสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มที่หยุดยาสแตติน ที่เดือนที่ 3 และเดือนที่ 6 ของการศึกษา ส่วนระดับ hs-CRP และ hs-cTnT ในเลือดไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่ม รวมทั้งไม่พบผลข้างเคียงรุนแรง เช่น ภาวะตับอักเสบ, ภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย, โรคหลอดเลือดสมองแตก, และการเสียชีวิตตลอดการศึกษานี้


สรุป: การหยุดยากลุ่มสแตตินในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม แม้จะทำให้ระดับไขมันในเลือดสูงขึ้น แต่ไม่พบว่าเพิ่มการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจากการติดตามในระยะ 6 เดือน รวมทั้งไม่พบความแตกต่างของการเกิดผลข้างเคียงจากยากลุ่มสแตตินในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม

Article Details

บท
Original Article

References

Cozzolino M, Mangano M, Stucchi A, Ciceri P, Conte F, Galassi A. Cardiovascular disease in dialysis patients. Nephrol Dial Transplant. 2018;33:iii28–34.

Herzog CA, Asinger RW, Berger AK, Charytan DM, Díez J, Hart RG, et al. Cardiovascular disease in chronic kidney disease. A clinical update from Kidney Disease: Improving Global Outcomes (KDIGO). Kidney Int. 2011;80:572–86.

Kilpatrick RD, McAllister CJ, Kovesdy CP, Derose SF, Kopple JD, Kalantar-Zadeh K. Association between Serum Lipids and Survival in Hemodialysis Patients and Impact of Race. J Am Soc Nephrol. 2007;18:293–303.

Liu Y, Coresh J, Eustace JA, Longenecker JC, Jaar B, Fink NE, et al. Association between cholesterol level and mortality in dialysis patients: role of inflammation and malnutrition. JAMA. 2004;291:451–9.

Kidney Disease: Improving Global Outcomes Lipid Guideline Development Work Group Members. KDIGO Clinical Practice Guideline for Lipid Management in CKD: summary of recommendation statements and clinical approach to the patient. Kidney Int. 2014;85:1303–9.

Baigent C, Landray MJ, Reith C, Emberson J, Wheeler DC, Tomson C, et al. The effects of lowering LDL cholesterol with simvastatin plus ezetimibe in patients with chronic kidney disease (Study of Heart and Renal Protection): a randomised placebo-controlled trial. Lancet. 2011;377:2181–92.

Wanner C, Krane V, März W, Olschewski M, Mann JE, Ruf G, et al. Atorvastatin in patients with type 2 diabetes mellitus undergoing hemodialysis. N Engl J Med. 2005;353:238–48.

Fellström BC, Jardine AG, Schmieder RE, Holdaas H, Bannister K, Beutler J, et al. Rosuvastatin and Cardiovascular Events in Patients Undergoing Hemodialysis. N Engl J Med. 2009;360:1395–407.

Mach F, Baigent C, Catapano AL, Koskinas KC, Casula M, Badimon L, et al. 2019 ESC/EAS Guidelines for the management of dyslipidaemias: lipid modification to reduce cardiovascular risk. Eur Heart J. 2020;41:111–88.

Cholesterol Treatment Trialists’ (CTT) Collaboration, Herrington W, Emberson J, Mihaylova B, Blackwell L, Reith C, et al. Impact of renal function on the effects of LDL cholesterol lowering with statin-based regimens: a meta-analysis of individual participant data from 28 randomised trials. Lancet Diabetes Endocrinol. 2016;4:829–39.

Grundy SM, Stone NJ, Bailey AL, Beam C, Birtcher KK, Blumenthal RS, et al. 2018 AHA/ACC/AACVPR/AAPA/ABC/ACPM/ADA/AGS/APhA/ASPC/NLA/PCNA Guideline on the Management of Blood Cholesterol: Executive Summary: A Report of the American College of Cardiology/American Heart Association Task Force on Clinical Practice Guidelines. J Am Coll Cardiol. 2019;73:3168-209.

Golomb BA, Evans MA. Statin adverse effects : a review of the literature and evidence for a mitochondrial mechanism. Am J Cardiovasc Drugs. 2008;8:373–418.

Chow SC, Wang H, Shao J. Sample Size Calculations in Clinical Research. 2nd ed. New York: Chapman and Hall/CRC; 2007.

Chan KE, Thadhani R, Lazarus JM, Hakim RM. Modeling the 4D Study: Statins and Cardiovascular Outcomes in Long-Term Hemodialysis Patients with Diabetes. Clin J Am Soc Nephrol. 2010;5:856–66.

จรณิต แก้วกังวาล, พรรณี ปิติสุทธิธรรม, ชยันต์ พิเชียรสุนทร. ตำราการวิจัยทางคลินิก. กรุงเทพฯ: คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.

Ridker PM, Danielson E, Fonseca FH, Genest J, Gotto AM, Kastelein JP, et al. Rosuvastatin to Prevent Vascular Events in Men and Women with Elevated C-Reactive Protein. N Engl J Med. 2008;359:2195–207.