การดูแลทางโภชนาการในผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมแบบทยอยเพิ่มความถี่

Main Article Content

อธิภัทร์ บรรจงจิตร
ปิยวรรณ กิตติสกุลนาม

บทคัดย่อ

การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย ในปัจจุบันนิยมเริ่มต้นด้วยความถี่ 3 ครั้งต่อสัปดาห์โดยไม่ได้คำนึงถึงการทำงานของไตที่เหลืออยู่ ซึ่งอ้างอิงมาจากการศึกษาด้านความพอเพียงในการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมสำหรับผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตเหลือน้อย อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่เริ่มต้นฟอกเลือดโดยยังมีปัสสาวะอยู่มาก เมื่อได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ปัสสาวะและการทำงานของไตจะลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะนำไปสู่ผลเสียในระยะยาวและเพิ่มอัตราการเสียชีวิตได้ จากหลักฐานในปัจจุบันการชะลอการลดลงของการทำงานของไตสามารถทำได้โดยตรวจวัดค่าการทำงานของไตที่เหลืออยู่อย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการใช้สารที่เป็นอันตรายต่อไต ควบคุมความดันโลหิต หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำขณะฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การใช้ตัวกรองเลือดที่มีประสิทธิภาพสูง และเข้ากันได้ดีทางชีวภาพ ใช้น้ำยาไตเทียมที่มีความบริสุทธิ์สูง นอกจากนี้การเริ่มฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โดยใช้ความถี่ที่น้อยกว่าปกติ ก็อาจช่วยชะลอการลดลงของการทำงานของไตได้ จึงมีแนวคิดในการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมแบบทยอยเพิ่มความถี่ คือฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมด้วยความถี่ที่น้อยในช่วงแรกหากผู้ป่วยยังมีปัสสาวะในระดับที่เหมาะสม หลังจากการทำงานของไตลดลงจนไม่สามารถกำจัดของเสียได้เพียงพอจึงปรับเพิ่มความถี่ในการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้ควรทำร่วมกับการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนต่ำเพื่อลดการสร้างของเสีย จำกัดการรับประทานโซเดียมและน้ำเพื่อให้น้ำหนักไม่เพิ่มเยอะจนเกินไปในระหว่างวันที่ไม่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม จากหลักฐานในปัจจุบัน สำหรับผู้ป่วยที่เริ่มฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ควรรับประทานโปรตีน 0.6 กรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวต่อวันในวันที่ไม่ได้ฟอกเลือด และไม่จำกัดการรับประทานโปรตีนในวันที่ฟอกเลือด ส่วนผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม จำนวน 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ แนะนำให้รับประทานโปรตีน 1.0-1.2 กรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวต่อวันทั้งในวันที่ฟอกเลือดและไม่ได้ฟอกเลือด

Article Details

บท
Review Article

References

Lowrie EG, Laird NM, Parker TF, Sargent JA. Effect of the hemodialysis prescription of patient morbidity: report from the National Cooperative Dialysis Study. N Engl J Med. 1981;305:1176-81.

Eknoyan G, Beck GJ, Cheung AK, Daugirdas JT, Greene T, Kusek JW, et al. Effect of dialysis dose and membrane flux in maintenance hemodialysis. N Engl J Med. 2002;347:2010-9.

Murea M, Moossavi S, Garneata L, Kalantar-zadeh K. Narrative Review of Incremental Hemodialysis. Kidney Int Rep. 2019;5:135-48.

Kalantar-Zadeh K, Unruh M, Zager PG, Kovesdy CP, Bargman JM, Chen J, et al. Twice-weekly and incremental hemodialysis treatment for initiation of kidney replacement therapy. Am J Kidney Dis. 2014;64:181-6.

Chertow GM, Levin NW, Beck GJ, Depner TA, Eggers PW, Gassman JJ, et al. In-center hemodialysis six times per week versus three times per week. N Engl J Med. 2010;363:2287-300.

Locatelli F, Vecchio LD, Aicardi V. Nutritional Issues with Incremental Dialysis: The Role of Low-Protein Diets. Semin Dial. 2017;30:246-50.

Mathew AT, Obi Y, Rhee CM, Chou JA, Kalantar-Zadeh K. Incremental dialysis for preserving residual kidney function-Does one size fit all when initiating dialysis?. Semin Dial. 2018;31:343-52.

Toth-Manikowski SM, Sirich TL, Meyer TW, Hostetter TH, Hwang S, Plummer NS, et al. Contribution of 'clinically negligible' residual kidney function to clearance of uremic solutes. Nephrol Dial Transplant. 2020;35:846-53.

Obi Y, Rhee CM, Mathew AT, Shah G, Sterja E, Brunelli SM, et al. Residual Kidney Function Decline and Mortality in Incident Hemodialysis Patients. J Am Soc Nephrol. 2016;27:3758-68.

Mathew AT, Fishbane S, Obi Y, Kalantar-Zadeh K. Preservation of residual kidney function in hemodialysis patients: reviving an old concept. Kidney Int. 2016;90:262-71.

Xydakis D, Papadogiannakis A, Sfakianaki M, Kostakis K, Stylianou K, Petrakis I, et al. Residual renal function in hemodialysis patients: the role of angiotensin-converting enzyme inhibitor in its preservation. ISRN Nephrol. 2012;2013:184527.

Hemodialysis Adequacy 2006 Work Group. Clinical practice guidelines for hemodialysis adequacy, update 2006. Am J Kidney Dis. 2006;48:S2–S90.

Schiffl H, Lang SM, Fischer R. Ultrapure dialysis fluid slows loss of residual renal function in new dialysis patients. Nephrol Dial Transplant. 2002;17:1814-8.

Liu Y, Zou W, Wu J, Liu L, He Q. Comparison between incremental and thrice-weekly haemodialysis: Systematic review and meta-analysis. Nephrology (Carlton). 2019;24:438-44.

Daugirdas JT, Greene T, Rocco MV, Kaysen GA, Depner TA, Levin NW, et al. Effect of frequent hemodialysis on residual kidney function. Kidney Int. 2013;83:949-58.

Zhang M, Wang M, Li H, Yu P, Yuan L, Hao C, et al. Association of initial twice-weekly hemodialysis treatment with preservation of residual kidney function in ESRD patients. Am J Nephrol. 2014;40:140-50.

Obi Y, Streja E, Rhee CM, Ravel V, Amin AN, Cupisti A, et al. Incremental Hemodialysis, Residual Kidney Function, and Mortality Risk in Incident Dialysis Patients: A Cohort Study. Am J Kidney Dis. 2016;68:256-65.

Bolasco P, Cupisti A, Locatelli F, Caria S, Kalantar-Zadeh K. Dietary Management of Incremental Transition to Dialysis Therapy: Once-Weekly Hemodialysis Combined With Low-Protein Diet. J Ren Nutr. 2016;26:352-9.

Morelli E, Baldi R, Barsotti G, Ciardella F, Cupisti A, Dani L, et al. Combined therapy for selected chronic uremic patients: infrequent hemodialysis and nutritional management. Nephron. 1987;47:161-6.

Locatelli F, Andrulli S, Pontoriero G, Filippo SD, Bigi MC. Supplemented low-protein diet and once-weekly hemodialysis. Am J Kidney Dis. 1994;24:192-204.

Caria S, Cupisti A, Sau G, Bolasco P. The incremental treatment of ESRD: a low-protein diet combined with weekly hemodialysis may be beneficial for selected patients. BMC Nephrol. 2014;15:172.