เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หรือหากมีกรุณาอธิบายในข้อความส่งถึงบรรณาธิการ).
  • บทความเตรียมด้วย Microsoft Word ฟอนต์มีขนาดอย่างน้อย 11 พอยท์ สำหรับบทความภาษาไทยให้ใช้ฟอนต์ชนิด TH-Sarabun-PSK ขนาด 16 พอยท์ ตารางอยู่ในไฟล์เดียวกับบทความ
  • ถ้าส่งบทความภาษาไทยต้องมีบทคัดย่อและคำสำคัญ (key words) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนดของวารสารฯ ทั้งในแง่ของรูปแบบและการอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

วิธีการเตรียมบทความ

ต้นฉบับต้องพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft word ขนาดของฟอนต์อย่างน้อย 11 พอยท์ สำหรับต้นฉบับภาษาไทยให้ใช้ฟอนต์ชนิด TH-Sarabun-PSK ขนาด 16 พอยท์ ให้ดูรายละเอียดในการเตรียมบทความตามชนิดของบทความด้านล่าง

บทความทุกประเภท

บทความทุกชนิดต้องมีหน้าชื่อเรื่อง (Title page) ที่ประกอบไปด้วย ชื่อเรื่อง, ขื่อ-นามสกุล และสถาบันของผู้ประพันธ์ทุกท่าน, ชื่อ ที่อยู่ และอีเมล ของผู้ประพันธ์บรรณกิจ (corresponding author).

บทความวิจัยนิพนธ์ต้นฉบับ

ต้องประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ บทคัดย่อ คำสำคัญ บทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา อภิปรายการศึกษา คำแถลงต่างๆ ได้แก่ การอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมวิจัย กิตติกรรมประกาศ แหล่งทุนวิจัย ผลประโยชน์ทับซ้อน เอกสารอ้างอิง ตาราง และ เอกสารเพิ่มเติม (ไม่บังคับ) (Supplemental Materials) โดยจำนวนคำทั้งหมดไม่ควรเกิน 4500 คำสำหรับภาษาอังกฤษ หรือ 8000 คำสำหรับภาษาไทย (ไม่รวมบทคัดย่อ ตาราง รูปภาพ คำแถลง เอกสารอ้างอิง และ เอกสารเพิ่มเติม)

บทคัดย่อ  ต้องประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ บทนำ วัตถุประสงค์ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา และ บทสรุป ความยาวของบทคัดย่อไม่ควรเกิน 350 คำสำหรับภาษาอังกฤษ หรือ 600 คำสำหรับภาษาไทย

คำสำคัญ ควรอยู่หน้าเดียวกับบทคัดย่อโดยตามหลังบทคัดย่อ มีจำนวนไม่เกิน 5 คำ แนะนำให้เลือกคำสำคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบทความแต่ไม่ได้อยู่ในขื่อเรื่องหรือบทคัดย่อเพื่อเพิ่มโอกาสในการสืบค้นหาบทความ

ถ้าเป็นบทความภาษาไทย ต้องมีบทคัดย่อและคำสำคัญภาษาอังกฤษส่งมาพร้อมกันด้วย

คำแถลง ต้องมีข้อความแสดงการได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมวิจัยของสถาบันที่ทำการศึกษาพร้อมเลขที่ของการอนุมัติ ถ้าเป็นงานวิจัยที่ไม่จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมวิจัยให้แสดงข้อความดังกล่าวพร้อมเหตุผลอย่างชัดเจน

ตาราง ควรอยู่ในไฟล์เดียวกับบทความ อนุญาตให้มีตารางได้ไม่เกิน 7 ตาราง

รูปภาพ ควรเป็นไฟล์แยกจากบทความ อนุญาตให้มีรูปภาพได้ 7 รูป และทุกรูปต้องมีคำอธิบายประกอบที่ชัดเจนและกระชับ

บทความวรรณกรรมปริทัศน์

บทความวรรณกรรมปริทัศน์ต้องประกอบไปด้วยบทคัดย่อที่ผู้เขียนกำหนดรูปแบบเองโดยมีความยาวไม่เกิน 350 คำสำหรับภาษาอังกฤษ หรือ 600 คำสำหรับภาษาไทย คำสำคัญจำนวนไม่เกิน 5 คำ ในบริเวณด้านล่างของบทคัดย่อ อนุญาตให้มีตารางและรูปภาพได้ถึง 7 ตาราง และ 7 รูปภาพ และมีเอกสารอ้างอิงได้ถึง 150 ฉบับ โดยต้องมีจำนวนคำไม่เกิน 5000 คำสำหรับภาษาอังกฤษ หรือ 9000 คำสำหรับภาษาไทย (ไม่รวมบทคัดย่อ ตาราง รูปภาพ และ เอกสารอ้างอิง)

ถ้าเป็นบทความภาษาไทยต้องมีบทคัดย่อและคำสำคัญภาษาอังกฤษส่งมาพร้อมกันด้วย

ตาราง ควรอยู่ในไฟล์เดียวกับบทความ ทุกตารางต้องเป็นตารางที่สร้างขึ้นมาใหม่ไม่ใช่คัดลอกมาจากบทความอื่น หากผู้ประพันธ์ทำการคัดลอกหรือดัดแปลงตารางที่ได้รับการตีพิมพ์มาแล้วต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรและแจ้งไว้อย่างชัดเจนด้านล่างของตาราง

รูปภาพ ควรเป็นไฟล์แยกจากบทความ และทุกรูปภาพต้องเป็นรูปภาพที่สร้างขึ้นใหม่ไม่ใช่คัดลอกมากจากบทความอื่น หากผู้ประพันธ์ทำการคัดลอกหรือดัดแปลงรูปภาพมาที่ได้รับการตีพิมพ์มาแล้วต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรและแจ้งไว้อย่างชัดเจนในคำอธิบายประกอบรูปภาพ รูปภาพทุกรูปต้องมีคำอธิบายประกอบที่ชัดเจนและกระชับ

Case reports/Clinical pathology

ในกรณีที่มีข้อมูลส่วนบุคคลอยู่ในบทความต้องได้รับการให้ความยินยอมโดยได้รับข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษร (written informed consent) จากผู้ป่วย (หรือบิดามารดา หรือ ผู้ปกครองตามกฎหมายในกรณีที่เป็นผู้ป่วยเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี หรือ จากญาติสายตรงในกรณีที่ผู้ป่วยเสียชีวิตไปแล้ว) และต้องระบุเรื่องการของความยินยอมให้ชัดเจนในบทความ

การรายงานผู้ป่วยต้องประกอบไปด้วยบทคัดย่อที่ผู้ประพันธ์สามารถกำหนดรูปแบบเองโดยมีความยาวไม่เกิน 350 คำสำหรับภาษาอังกฤษ หรือ 600 คำสำหรับภาษาไทย คำสำคัญ 5 คำ บทนำ การนำเสนอผู้ป่วย การอภิปรายผู้ป่วย และ เอกสารอ้างอิง (จำนวนไม่เกิน 30 ฉบับ) ตารางจำนวนไม่เกิน 3 ตารางและรูปภาพไม่เกิน 5 รูป จำนวนคำทั้งหมดต้องไม่เกิน 2500 คำสำหรับภาษาอังกฤษ หรือ 4000 คำสำหรับภาษาไทย

ถ้าเป็นการรายงานผู้ป่วยภาษาไทยต้องมีบทคัดย่อและคำสำคัญภาษาอังกฤษส่งมาพร้อมกันด้วย

ตาราง ควรอยู่ในไฟล์เดียวกับบทความ ทุกตารางต้องเป็นตารางที่สร้างขึ้นมาใหม่ไม่ใช่คัดลอกมาจากบทความอื่น หากผู้ประพันธ์ทำการคัดลอกหรือดัดแปลงตารางที่ได้รับการตีพิมพ์มาแล้วต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรและแจ้งไว้อย่างชัดเจนด้านล่างของตาราง

รูปภาพ ควรเป็นไฟล์แยกจากบทความ และทุกรูปภาพต้องเป็นรูปภาพที่สร้างขึ้นใหม่ไม่ใช่คัดลอกมากจากบทความอื่น หากผู้ประพันธ์ทำการคัดลอกหรือดัดแปลงรูปภาพมาที่ได้รับการตีพิมพ์มาแล้วต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรและแจ้งไว้อย่างชัดเจนในคำอธิบายประกอบรูปภาพ รูปภาพทุกรูปต้องมีคำอธิบายประกอบที่ชัดเจนและกระชับ รูปภาพที่แสดงผลชิ้นเนื้อของไตต้องมีความละเอียดเพียงพอที่จะทำให้มองเห็นรายละเอียดได้ขัดเจน

Image in Nephrology

ในกรณีที่มีข้อมูลส่วนบุคคลอยู่ในบทความต้องได้รับการให้ความยินยอมโดยได้รับข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษร (written informed consent) จากผู้ป่วย (หรือบิดามารดา หรือ ผู้ปกครองตามกฎหมายในกรณีที่เป็นผู้ป่วยเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี หรือ จากญาติสายตรงในกรณีที่ผู้ป่วยเสียชีวิตไปแล้ว) และต้องระบุเรื่องการของความยินยอมให้ชัดเจนในบทความ

ความยาวของต้นฉบับรวมถึงรูปภาพไม่ควรเกิน 2 หน้ากระดาษ

รูปภาพ ให้ส่งรูปภาพเป็นไฟล์แยกจากบทความ ต้องเป็นรูปภาพใหม่ไม่ใช่คัดลอกมากจากที่อื่น ควรมีความคมชัดมองเห็นรายละเอียดได้ชัดเจนและมีคำอธิบายประกอบที่ชัดเจนและกระชับ

เอกสารอ้างอิง

การอ้างอิงเอกสารให้ใช้ระบบแวนคูเวอร์  การเรียงลำดับในบทความให้เป็นไปตามลำดับของการอ้างอิง  ตัวเลขของเอกสารอ้างอิงให้พิมพ์เป็นตัวยกโดยไม่มีวงเล็บอยู่ที่หัวมุมบนด้านขวาของประโยคที่ต้องการอ้างอิง หากมีการอ้างอิงหลายรายการพร้อมกัน กรณีที่ตัวเลขลำดับการอ้างอิงต่อเนื่องกันให้ใช้เครื่องหมาย (-) คั่นระหว่างตัวเลข แต่ถ้าตัวเลขลำดับการอ้างอิงไม่ต่อเนื่องกันให้ใช้เครื่องหมาย ( , ) คั่นระหว่างตัวเลข

ในส่วนของการพิมพ์เอกสารอ้างอิงในตอนท้าย การเรียงลำดับให้เรียงตามที่ได้รับการอ้างอิงก่อนหลังในบทความ

บทความจากวารสาร (Standard Journal Article)

Leonard O, Spaak J, Goldsmith D. Regression of vascular calcification in chronic kidney disease - feasible or fantasy? A review of the clinical evidence. Br J Clin Pharmacol. 2013;76(4):560-72.

อภิชาต โอฬารรัตนชัย, ธีระพร วุฒยวนิช. การสร้างช่องคลอดเทียมโดยอาศัยเยื่อถุงน้าคร่า. เชียงใหม่เวชสาร 2532;29:129-136.

กรณีผู้แต่งเกิน 6 คน ให้ใส่ชื่อผู้แต่ง 6 คนแรก คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และตามด้วย “et al.” สำหรับภาษาไทยใช้คำว่า “และคณะ”

Bover J, Urena-Torres P, Gorriz JL, Lloret MJ, da Silva I, Ruiz-Garcia C, et al. Cardiovascular calcifications in chronic kidney disease: Potential therapeutic implications. Nefrologia. 2016;36(6):597-608.

ชื่อบทความภาษาอังกฤษ ให้ใช้อักษรตัวใหญ่ (Capital letter) เฉพาะตัวแรก นอกจากนั้นใช้อักษรตัวเล็กทั้งหมด

ชื่อย่อของวารสารให้ใช้ตามที่กำหนดไว้ใน National Library of Medicine 

สำหรับวารสารภาษาไทยยังไม่มีชื่อย่ออย่างเป็นทางการ ให้ใช้ชื่อเต็ม เช่น “จดหมายเหตุทางการแพทย์” หากมีคำว่า “วารสาร” นำหน้าชื่อวารสาร ให้ใช้ตัวย่อว่า “ว.” ตามด้วย เครื่องหมาย ( . ) เว้น 1 ตัวอักษร และตามด้วยชื่อวารสาร เช่น วารสารสมาคมโรคไต ใช้ชื่อย่อ “ว. สมาคมโรคไต”

หนังสือ (Book)

หนังสือทั้งเล่ม

ชื่อผู้แต่ง (Author). ชื่อหนังสือ (Title of the book). ครั้งที่พิมพ์ (Edition). เมืองที่พิมพ์ (Place of Publication): (Publisher); ปีที่พิมพ์ (Year).

การอ้างอิงฉพาะบท (Book chapter)

ชื่อผู้เขียน (Author). ชื่อบท (Title of a chapter). ใน/In: ชื่อบรรณาธิการ, บรรณาธิการ/ editor (s). ชื่อหนังสือ (Title of the book). ครั้งที่พิมพ์ (Edition). เมืองที่พิมพ์ (Place of publication): สานักพิมพ์ (Publisher); ปีพิมพ์ (Year). หน้า/p. หน้าแรก-หน้าสุดท้าย.

เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Materials)

ชื่อผู้แต่ง (Author). ชื่อบทความ (Title of the article) [ประเภทของสื่อ/วัสดุ]. ปี พิมพ์ [เข้าถึง เมื่อ/cited ปี เดือน วันที่]. เข้าถึงได้จาก/ Available from: http://………….

ค่าตีพิมพ์

ไม่มีค่าตีพิมพ์สำหรับบทความทุกประเภท

การคัดลอกทางวรรณกรรม

ข้อมูล รูปภาพ ถ้อยคำ หรือ ความคิด ที่นำมาจากแหล่งอื่นต้องได้รับการอ้างอิงแหล่งที่มาอย่างถูกต้องและเหมาะสมทุกครั้ง บทความที่ส่งเข้ามารับการพิจารณาตีพิมพ์จะได้รับการตรวจสอบการคัดลอกทางวรรณกรรม และถ้าพบว่ามีการคัดลอกจะไม่ได้รับการพิจารณาตีพิมพ์

เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่ง บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ