ความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของแบบประเมินเลือดออกด้วยตนเองภาษาไทยผ่านโปรแกรมเพื่อพยากรณ์ความเสี่ยงเลือดออกในผู้ป่วยโรคเลือดเด็ก

ผู้แต่ง

  • ศิศีมาส สุวรรณวิจิตร แผนกโลหิตวิทยาและมะเร็งเด็ก, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร, 10330, ประเทศไทย
  • ภูมินทร์ ฉวีพิศาล หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการบูรณาการและนวัตกรรมทางโลหิตวิทยาและมะเร็งเด็ก, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร, 10330, ประเทศไทย
  • ดารินทร์ ซอโสตถิกุล แผนกโลหิตวิทยาและมะเร็งเด็ก, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร, 10330, ประเทศไทย

DOI:

https://doi.org/10.69898/jhtm.35.2024.271292

คำสำคัญ:

เครื่องมือประเมินภาวะเลือดออกในเด็ก, ชุดคำถามประเมินภาวะเลือดออกในเด็ก, การทดสอบด้วยตนเอง, ความเสี่ยงเลือดออกง่าย

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ภาวะเลือดออกผิดปกติแต่กำเนิดและเกิดภายหลังมักมีอาการหลากหลายตั้งแต่เล็กน้อยถึงรุนแรง  ที่ผ่านมามีความพยายามที่จะนำอาการเลือดออกมาใช้สร้างแบบสอบถามเพื่อประเมินความเสี่ยงของการตกเลือดและความรุนแรง ชุดประเมินเลือดออก (Bleeding Assessment Tool: BAT) ในเด็กเป็นชุดคำถามเฉพาะสำหรับเด็กที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกและได้รับการแปลเป็นหลายภาษารวมทั้งภาษาไทย

วัตถุประสงค์: (1) เพื่อทดสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของชุดประเมินเลือดออกที่บันทึกแบบทดสอบด้วยตนเองเปรียบเทียบกับการบันทึกโดยแพทย์ในผู้ป่วยเด็กไทยที่มีโรคเลือดออกผิดปกติ (2) ประเมินความรุนแรงโดยใช้ชุดประเมินเลือดออกที่บันทึกแบบทดสอบด้วยตนเอง

กระบวนการ: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเลือดออกผิดปกติรับการรักษา ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระหว่างปี พ.ศ. 2562-2563 ผู้ป่วยจะได้รับการสอบถามตามคำถามในชุดประเมินเลือดออกและบันทึกโดยแพทย์ผ่านโปรแกรมประยุกต์เวอร์ชันภาษาไทย จากนั้นบันทึกแบบทดสอบด้วยตนเองอีกครั้งในสองสัปดาห์ถัดไป วิเคราะห์ผลลัพธ์โดยใช้ค่าเฉลี่ย และ test-retest reliability โดย intra-class correlation (ICC)

ผลลัพธ์: ผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นที่เข้าเกณฑ์ 41 ราย อายุมัธยฐาน 10 ปี (ช่วง 2-20 ปี) ได้รับการลงทะเบียน (17 รายวินิจฉัย von Willebrand disease, 8 รายวินิจฉัยโรคฮีโมฟีเลีย A ชนิดรุนแรง, 3 รายวินิจฉัยภาวะพร่องปัจจัยการแข็งตัวชนิดที่ 7 แต่กำเนิด และ 13 รายวินิจฉัยโรคเกล็ดเลือดต่ำจากภูมิคุ้มกัน) คะแนนเฉลี่ยของชุดประเมินเลือดออกของผู้ที่บันทึกแบบทดสอบด้วยตนเองและบันทึกโดยแพทย์เท่ากับ 8.88 และ 8.98 ตามลำดับ (p =  0.819) อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์กลุ่มย่อยแสดงให้เห็นความแตกต่างที่มีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มที่มีคะแนนสูง (โรคฮีโมฟีเลีย A ชนิดรุนแรงและ เกล็ดเลือดต่ำจากภูมิคุ้มกันเรื้อรัง) พบระยะเวลาการบันทึกชุดประเมินเลือดออกเท่ากับ 9.68 และ 3.51 นาทีตามลำดับ (p < 0.001) ระดับคะแนนยังขึ้นกับชนิดและความรุนแรงของโรคอีกด้วย

สรุปผล: การบันทึกชุดประเมินเลือดออกด้วยตนเองได้คะแนนเทียบเท่ากับการบันทึกโดยแพทย์ ในประเด็นเพื่อค้นหาผู้มีโรคเลือดออกผิดปกติและประเมินความรุนแรง แต่ควรแปลผลด้วยความระมัดระวังในกรณีที่มีคะแนนสูง ผู้ที่มีเลือดออกเล็กน้อยและยังไม่ได้รับการวินิจฉัยอาจไปพบแพทย์รวดเร็วขึ้น  ผู้ป่วยโรคเลือดออกผิดปกติเดิมสามารถประเมินการเปลี่ยนแปลงความรุนแรงได้ด้วยตนเอง

Downloads

References

Bowman M, Riddel J, Rand ML, Tosetto A, Silva M, James PD. Evaluation of the diagnostic utility for von Willebrand disease of a pediatric bleeding questionnaire. J Thromb Haemost. 2009;7:1418-21.

Tosetto A, Rodeghiero F, Castaman G, Goodeve A, Federici AB, Batlle J, et al. A quantitative analysis of bleeding symptoms in type 1 von Willebrand disease: results from a multicenter European study (MCMDM-1 VWD). J Thromb Haemost. 2006;4:766-73.

Rodeghiero F, Tosetto A, Abshire T, Arnold DM, Coller B, James P, et al. ISTH/SSC bleeding assessment tool: a standardized questionnaire and a proposal for a new bleeding score for inherited bleeding disorders. J Thromb Haemost. 2010;8:2063-5.

Shahriari M, Karimi M. Are Bleeding Scores Predicting Severity and Outcome in Hemophilia and Rare Bleeding Disorders? Blood. 2016;128:4801.

ISTH/SCC. ISTH-SSC Bleeding Assessment Tool 2011 [Available from: https://www.isth.org/page/reference_tools.

Pakdeeto S, Natesirinilkul R, Komwilaisak P, Rand ML, Blanchette VS, Vallibhakara SA, et al. Development of a Thai version of the paediatric bleeding assessment tool (Thai paediatric-BAT) suitable for use in children with inherited mucocutaneous bleeding disorders. Haemophilia. 2017;23:e539-e42.

Kaur D, Kerlin BA, Stanek JR, O'Brien SH. Use of electronic self-administered bleeding assessment tool in diagnosis of paediatric bleeding disorders. Haemophilia. 2021;27:710-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-14

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)