Publication ethics

All human and animal research studies must be reviewed and approved by the author’s Institutional Review Board (IRB). The clinical trials must be registered in a public registry prior to enrollment, the journal accepts public registry that follow the International Committee of Medical Journal Editors (ICMJE) clinical trial registration policy (https://www.icmje.org).The clinical research involving human subjects must comply with the Declaration of Helsinki https://www.wma.net/en/20activities/10ethics/10helsinki/.

The author should be checked your manuscript before submit to the journal, to confirm that none of the parts of the manuscript is plagiarized from any other sources. The corresponding author must complete the journal form for Disclosure of Potential Conflicts of Interest and submit the form on behalf of all co-authors.

Publication ethics

การศึกษาวิจัยด้านมนุษย์และสัตว์ทดลองทั้งหมดจะต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองโดยคณะกรรมการพิจารณาการวิจัยของสถาบัน (Institutional Review Board; IRB) การทดลองทางคลินิกจะต้องลงทะเบียนในการลงทะเบียนสาธารณะก่อนที่จะเริ่มทำการวิจัย โดยวารสารยอมรับการลงทะเบียนสาธารณะตามนโยบายการลงทะเบียนทดลองทางคลินิก (clinical trial registration policy) ตามคณะกรรมการระหว่างประเทศของบรรณาธิการวารสารการแพทย์ (International Committee of Medical Journal Editors; ICMJE) และการวิจัยทางคลินิกที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ต้องปฏิบัติตามปฏิญญาเฮลซิงกิ https://www.wma.net/en/20activities/10ethics/10helsinki/

ผู้เขียนควรตรวจสอบต้นฉบับก่อนส่งตีพิมพ์ในวารสารเพื่อยืนยันว่าไม่มีส่วนใดของต้นฉบับที่คัดลอกมาจากแหล่งอื่นๆ และผู้รับผิดชอบบทความ (corresponding author) จะต้องกรอกแบบฟอร์มวารสารเพื่อเปิดเผยความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นและส่งแบบฟอร์มในนามของผู้เขียนร่วมทั้งหมด

เพื่อให้วารสารเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่งานวิจัยที่ถูกต้อง มีคุณภาพ โปร่งใส ตลอดจนสอดคล้องกับมาตรฐานการตีพิมพ์นานาชาติ วารสารจึงกำหนดแนวทางวิธีปฏิบัติที่ดีและจริยธรรมของการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยและกำหนดบทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Author) บรรณาธิการ (Editor) และผู้ประเมินบทความ (Reviewer) ตาม Committee on Publication Ethics (COPE) ดังนี้

 บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of authors)

  1. ผู้นิพนธ์ต้องส่งผลงานที่เป็นผลงานใหม่ ให้ข้อมูลที่เป็นจริง ไม่บิดเบือนข้อมูล
  2. หากมีการอ้างอิงผลงานผู้อื่น ผู้นิพนธ์จะต้องรวบรวมและให้การอ้างอิงท้ายบทความ
  3. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความวิจัยให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้ส่งบทความลงตีพิมพ์
  4. ชื่อผู้นิพนธ์ในบทความทุกคน ต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินการวิจัยจริง
  5. หากมีแหล่งทุนที่สนับสนุนงานวิจัย หรือผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ ผู้นิพนธ์ต้องระบุไว้อย่างชัดเจน

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ (Duties of editors)

  1. บรรณาธิการวารสารมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความ และการตัดสินใจคัดเลือกบทความเพื่อตีพิมพ์ หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว โดยพิจารณาจากความสำคัญ ความใหม่ ความชัดเจน และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายของวารสารเป็นสำคัญ
  2. บรรณาธิการวารสารต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความ
  3. บรรณาธิการวารสารต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงเวลาที่ทำการประเมินบทความ
  4. บรรณาธิการวารสารต้องตรวจสอบการคัดลอกผลงานผู้อื่น (plagiarism) โดยใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้ หากพบการคัดลอกผลงาน ต้องหยุดกระบวนการประเมินบทความ และติดต่อผู้นิพนธ์หลักทันที เพื่อพิจารณาคำชี้แจงประกอบการตอบรับหรือปฏิเสธการตีพิมพ์

บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of reviewers)

  1. ผู้ประเมินบทความต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์
  2. ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลทุกส่วนของบทความแก่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงเวลาที่ทำการประเมินบทความ
  3. ผู้ประเมินบทความควรประเมินบทความในเรื่องที่ตนมีความเชี่ยวชาญ พิจารณาความสำคัญของเนื้อหาในบทความ คุณภาพ และความเข้มข้นของผลงาน โดยไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัว หรือข้อมูลที่ไม่ได้รับการรองรับมาตัดสินบทความวิจัย
  4. หากมีข้อมูลสำคัญที่ผู้นิพนธ์ไม่ได้กล่าวถึงในผลงานวิจัย ผู้ประเมินต้องแจ้งให้ผู้นิพนธ์ทราบในการประเมินบทความ ในขณะเดียวกันหากพบว่าบทความมีการคัดลอกผลงานจากบทความอื่น ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันที