การศึกษาเพื่อประเมินความสอดคล้องระหว่างผลของการเจาะไขกระดูกเพื่อส่งเสมียร์ไขกระดูกกับการตัดชิ้นเนื้อไขกระดูกเพื่อประเมินการตอบสนองต่อการรักษาในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดฉับพลันแบบมัยอีลอยด์ในโรงพยาบาลศิริราช

ผู้แต่ง

  • เกตน์สิรี สนิท ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  • ยิ่งยง ชินธรรมมิตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล https://orcid.org/0000-0003-1690-4656

คำสำคัญ:

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดฉับพลันแบบมัยอีลอยด์, การตัดชิ้นเนื้อไขกระดูก, การเจาะไขกระดูก, การประเมินผลตอบสนอง

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล : การรักษามาตรฐานของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดฉับพลันแบบมัยอีลอยด์ คือการให้ยาเคมีบำบัดและ/หรือร่วมกับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดถ้ามีข้อบ่งชี้ การประเมินผลตอบสนองต่อการรักษาในปัจจุบันคือการตรวจไขกระดูก ซึ่งประกอบด้วยการเจาะไขกระดูกเพื่อส่งเสมียร์ไขกระดูกและการตัดชิ้นเนื้อไขกระดูก ทั้งนี้หลายแนวทางปฏิบัติแนะนำให้ทำการตรวจเฉพาะการเจาะไขกระดูกเพื่อส่งเสมียร์ไขกระดูกเพียงอย่างเดียว แต่ในโรงพยาบาลศิริราช ยังมีการทำทั้งสองวิธีควบคู่กัน ดังนั้น ถ้าสามารถทราบถึงความสอดคล้องระหว่างผลของการตรวจทั้งสองวิธี อาจสามารถลดการตัดชิ้นเนื้อไขกระดูก ทำให้ผู้ป่วยได้รับความเจ็บปวดลดลง และลดระยะเวลาการทำหัตถการรวมถึงลดค่าใช้จ่ายลง

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสอดคล้องระหว่างผลของการเจาะไขกระดูกเพื่อดูเสมียร์ไขกระดูกกับการตัดชิ้นเนื้อไขกระดูก ในการประเมินผลตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาสูตร 3+7 ในผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดฉับพลันแบบมัยอีลอยด์

วิธีการศึกษา : ทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดฉับพลันแบบมัยอีลอยด์ ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดสูตรชักนำ 3+7 และได้รับการเจาะไขกระดูกเพื่อประเมินการตอบสนองต่อการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช ในระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ถึง 31 ธันวาคม 2564 เพื่อศึกษาถึงผลของการตรวจไขกระดูกแต่ละวิธีว่าให้ผลเป็น Complete remission หรือ Residual disease แล้วนำมาแปลผลเป็น Concordance หรือ Discordance คิดเป็นร้อยละของผู้ป่วยทั้งหมด รวมถึงศึกษาปัจจัยด้านอายุ เพศ ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มการให้ยาเคมีบำบัดจนถึงระยะเวลาการเจาะไขกระดูก และผลตรวจเม็ดเลือดก่อนการเจาะไขกระดูก โดยคำนวณเป็นค่าเฉลี่ยของผู้ป่วยทั้งหมด

ผลการศึกษา : ในผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดฉับพลันแบบมัยอีลอยด์จำนวนทั้งหมด 725 รายที่ได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยโรงพยาบาลศิริราช มีผู้ป่วยจำนวน 233 รายที่ถูกนำมาวิเคราะห์ พบว่าผู้ป่วย 181 ราย (ร้อยละ 77.7) ให้ผล Concordance ในขณะที่ 52 รายให้ผล Discordance โดยในกลุ่มนี้ 14 ราย (ร้อยละ 26.9) ได้สเมียร์ไขกระดูกที่มีคุณภาพไม่ดี ในขณะที่อีก 3 ราย (ร้อยละ 5.8) ได้ชิ้นเนื้อจากการตัดชิ้นเนื้อไขกระดูกที่ด้อยคุณภาพ

สรุป : จากการศึกษานี้พบว่าการประเมินการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดระยะชักนำด้วยยาสูตร 3+7 ในผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดฉับพลันแบบมัยอีลอยด์ พบว่า ได้ผล Concordance ร้อยละ 77.7 ในส่วนกลุ่มที่ได้ผล Discordance พบว่าสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการได้สิ่งส่งตรวจที่ไม่ได้คุณภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

References

Wanitpongpun C, Utchariyaprasit E, Owattanapanich W, Tantiworawit A, Rattarittamrong E, Niparuck P, et al. Types, clinical features, and survival outcomes of patients with acute myeloid leukemia in Thailand: a 3-year prospective multicenter study from the Thai Acute Leukemia Study Group (TALSG). Clin Lymphoma Myeloma Leuk. 2021; 21: e635-e643.

Pollyea DA, Bixby D, Perl A, Bhatt VR, Altman JK, Appelbaum FR, et al. NCCN Guidelines Insights: Acute Myeloid Leukemia, Version 2.2021. J Natl Compr Canc Netw. 2021; 19: 16-27.

Shimony S, Stahl M, Stone RM. Acute myeloid leukemia: 2023 update on diagnosis, risk-stratification, and management. Am J Hematol. 2023; 98: 502-26.

Döhner H, Estey E, Grimwade D, Amadori S, Appelbaum F, Büchner T, et al. Diagnosis and management of AML in adults: 2017 ELN recommendations from an international expert panel. Blood. 2017; 129: 424–47.

Chauhan S, Pradhan S, Mohanty R, Saini A, Devi K, Sahu MC. Evaluation of sensitivity and specificity of bone marrow trephine biopsy tests in an Indian teaching hospital. Alexandria Journal of Medicine. 2018; 54: 161-6.

Saini L., Brandwein J, Turner R, Larratt L, Hamilton M, Peters A, et al. Incremental value of the bone marrow trephine biopsy in detecting residual leukemia following treatment for Acute Myeloid Leukemia. Leuk Res. 2016; 45: 47-52.

Hajian-Tilaki K. Sample size estimation in diagnostic test studies of biomedical informatics. J Biomed Inform. 2014;48:193-204.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-23

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)