เกี่ยวกับวารสาร

Journal History

วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต

ISSN 2985-2390 (Print)

ISSN 2985-2404 (Online)

วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต จัดพิมพ์โดยศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย และสมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 เพื่อตีพิมพ์ผลงานวิจัย และบทความวิชาการ เผยแพร่แก่แพทย์ พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ และผู้ทำงานเกี่ยวข้องกับงานบริการโลหิต

Focus and Scope

นโยบายของวารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต (Journal Policy)

ให้วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต เป็นช่องทางในการเผยแพร่ความรู้ที่ทันสมัย และวิทยาการใหม่ๆ ตลอดจนการศึกษาวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนางานทางด้านโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์การบริการโลหิตอย่างครบวงจรแก่แพทย์สาขาโลหิตวิทยา และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเวชศาสตร์บริการโลหิต รวมทั้งแพทย์ผู้ใช้โลหิตในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย นักวิชาการตลอดจนผู้ปฏิบัติงานด้านโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์การบริการโลหิตและธนาคารเลือด เพื่อติดตามความก้าวหน้าและพัฒนาให้ทันกับองค์ความรู้และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการบริการผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพปลอดภัย และทันสมัย

ให้วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต เป็นเวทีในการตีพิมพ์ผลงานวิจัยและการค้นคว้ารวบรวมและเรียบเรียงบทความทางวิชาการ เพื่อการพัฒนาผู้นิพนธ์งานวิจัย และการเขียนบทความชนิดต่างๆ อย่างถูกต้องและมีคุณภาพ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการคัดเลือกมาเป็นผู้ทบทวนเสนอแนะ และแก้ไขบทความ

นโยบายของการจัดพิมพ์วารสาร

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และสมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย ซึ่งมีภารกิจร่วมกันในการจัดหาโลหิต การดูแลรักษา และให้บริการแก่ผู้ป่วยที่ต้องการโลหิต และส่วนประกอบโลหิต เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการจัดทำวารสารวิชาการร่วมกัน เพื่อสนับสนุนและพัฒนานักวิจัยทุกรุ่นในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการ ตามรูปแบบและหลักการของทั้งสององค์กร

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย บทความฟื้นวิชา และรายงานผู้ป่วยที่น่าสนใจทางโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต
2. เพื่อสร้างสรรค์งานเขียนของนักวิจัยตามมาตรฐานสากล
3. เพื่อเป็นสื่อประสานงานและแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ผู้เกี่ยวข้องในการใช้โลหิตกับผู้ที่เข้ามาบริหารงานบริการโลหิต
4. เพื่อเผยแพร่กิจกรรมและข่าวสารทางวิชาการของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย และสมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย
5. เพื่อเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนความรู้ด้านโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิตระดับนานาชาติ โดยเฉพาะภูมิภาคอาเซี่ยน

ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ 

การส่งต้นฉบับให้กับวารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต  ไม่มีค่าธรรมเนียมในการลงตีพิมพ์แต่อย่างใด  

Publication Frequency

รายสามเดือน ปีละ 4 ฉบับ

  • ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม
  • ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน
  • ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน
  • ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม

Peer Review Policy

บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน บทความผู้นิพนธ์ภายนอกจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายในและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก สวนบทความผู้นิพนธ์ภายใน ได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงานที่จัดทำวารสาร) โดยผู้ทรงคุณวุฒิพิจาราณาบทความที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ ทั้งนี้จะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณามทความไม่ทรามชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบ ชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review)

Publication ethics

การศึกษาวิจัยด้านมนุษย์และสัตว์ทดลองทั้งหมดจะต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองโดยคณะกรรมการพิจารณาการวิจัยของสถาบัน (Institutional Review Board; IRB) การทดลองทางคลินิกจะต้องลงทะเบียนในการลงทะเบียนสาธารณะก่อนที่จะเริ่มทำการวิจัย โดยวารสารยอมรับการลงทะเบียนสาธารณะตามนโยบายการลงทะเบียนทดลองทางคลินิก (clinical trial registration policy) ตามคณะกรรมการระหว่างประเทศของบรรณาธิการวารสารการแพทย์ (International Committee of Medical Journal Editors; ICMJE) และการวิจัยทางคลินิกที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ต้องปฏิบัติตามปฏิญญาเฮลซิงกิ https://www.wma.net/en/20activities/10ethics/10helsinki/

ผู้เขียนควรตรวจสอบต้นฉบับก่อนส่งตีพิมพ์ในวารสารเพื่อยืนยันว่าไม่มีส่วนใดของต้นฉบับที่คัดลอกมาจากแหล่งอื่นๆ และผู้รับผิดชอบบทความ (corresponding author) จะต้องกรอกแบบฟอร์มวารสารเพื่อเปิดเผยความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นและส่งแบบฟอร์มในนามของผู้เขียนร่วมทั้งหมด

เพื่อให้วารสารเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่งานวิจัยที่ถูกต้อง มีคุณภาพ โปร่งใส ตลอดจนสอดคล้องกับมาตรฐานการตีพิมพ์นานาชาติ วารสารจึงกำหนดแนวทางวิธีปฏิบัติที่ดีและจริยธรรมของการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยและกำหนดบทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Author) บรรณาธิการ (Editor) และผู้ประเมินบทความ (Reviewer) ตาม Committee on Publication Ethics (COPE) ดังนี้

 บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of authors)

  1. ผู้นิพนธ์ต้องส่งผลงานที่เป็นผลงานใหม่ ให้ข้อมูลที่เป็นจริง ไม่บิดเบือนข้อมูล
  2. หากมีการอ้างอิงผลงานผู้อื่น ผู้นิพนธ์จะต้องรวบรวมและให้การอ้างอิงท้ายบทความ
  3. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความวิจัยให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้ส่งบทความลงตีพิมพ์
  4. ชื่อผู้นิพนธ์ในบทความทุกคน ต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินการวิจัยจริง
  5. หากมีแหล่งทุนที่สนับสนุนงานวิจัย หรือผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ ผู้นิพนธ์ต้องระบุไว้อย่างชัดเจน

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ (Duties of editors)

  1. บรรณาธิการวารสารมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความ และการตัดสินใจคัดเลือกบทความเพื่อตีพิมพ์ หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว โดยพิจารณาจากความสำคัญ ความใหม่ ความชัดเจน และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายของวารสารเป็นสำคัญ
  2. บรรณาธิการวารสารต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความ
  3. บรรณาธิการวารสารต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงเวลาที่ทำการประเมินบทความ
  4. บรรณาธิการวารสารต้องตรวจสอบการคัดลอกผลงานผู้อื่น (plagiarism) โดยใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้ หากพบการคัดลอกผลงาน ต้องหยุดกระบวนการประเมินบทความ และติดต่อผู้นิพนธ์หลักทันที เพื่อพิจารณาคำชี้แจงประกอบการตอบรับหรือปฏิเสธการตีพิมพ์

บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of reviewers)

  1. ผู้ประเมินบทความต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์
  2. ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลทุกส่วนของบทความแก่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงเวลาที่ทำการประเมินบทความ
  3. ผู้ประเมินบทความควรประเมินบทความในเรื่องที่ตนมีความเชี่ยวชาญ พิจารณาความสำคัญของเนื้อหาในบทความ คุณภาพ และความเข้มข้นของผลงาน โดยไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัว หรือข้อมูลที่ไม่ได้รับการรองรับมาตัดสินบทความวิจัย
  4. หากมีข้อมูลสำคัญที่ผู้นิพนธ์ไม่ได้กล่าวถึงในผลงานวิจัย ผู้ประเมินต้องแจ้งให้ผู้นิพนธ์ทราบในการประเมินบทความ ในขณะเดียวกันหากพบว่าบทความมีการคัดลอกผลงานจากบทความอื่น ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันที

 การส่งต้นฉบับ

ส่งต้นฉบับพร้อมแบบฟอร์มส่งบทความลงตีพิมพ์ในวารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิตผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ที่เว็บไซต์ www.tci-thaijo.org/index.php/JHematolTransfusMed/index หรือ สามารถส่งเป็นต้นฉบับจริงและสำเนาอีกจำนวน 2 ชุด พร้อมทั้ง CD การพิมพ์ต้นฉบับใช้ Word for Windows สำหรับบทความทางเวชศาสตร์บริการโลหิต ส่งได้ที่ บรรณาธิการวารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 0-2263-9600-99 หรือโทรสาร 0-2255-5558 e-mail: nbcjournal@gmail.com โดยระบุมุมซอง “ส่งต้นฉบับวารสารโลหิตวิทยาฯ” สำหรับบทความทางโลหิตวิทยา ส่งได้ที่ บรรณาธิการวารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย เลขที่ 2 อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี ชั้น 10 ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 e-mail: sommaphun.t@tsh.or.th

กรณีมีข้อสงสัยในการส่งต้นฉบับผ่านระบบ ThaiJO บทความทางเวชศาสตร์บริการโลหิต สามารถติดต่อสอบถามได้ที่คุณธีรวรรณ จารุภัทธ์พันธ์ โทรศัพท์ 0-2263-9600-99 ต่อ 1845 e-mail: nbcjournal@gmail.com และบทความทางโลหิตวิทยา สามารถติดต่อสอบถามได้ที่คุณโสมพรรณ ทับเจริญ โทรศัพท์ 0-2716-5977 e-mail: sommaphun.t@tsh.or.th

 เรื่องที่จะลงตีพิมพ์

  • นิพนธ์ต้นฉบับ (original article) ทุกเรื่องจะได้รับการตรวจทานอ่านต้นฉบับจากคณะบรรณาธิการหรือผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกอย่างน้อย 3 ท่าน (double-blinded review system) นิพนธ์ต้นฉบับไม่ควรมีความยาวเกินกว่า 15 หน้ากระดาษพิมพ์ A4 เว้นบรรทัด พิมพ์ห่างจากขอบทุกด้านอย่างน้อย 1 นิ้ว การรายงานการวิจัยควรมีข้อมูลเรียงตามลำดับดังต่อไปนี้
  1. หน้าแรกประกอบด้วยชื่อเรื่อง ชื่อผู้นิพนธ์และสถาบันของผู้นิพนธ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ Correspondence และชื่อเรื่องอย่างสั้น (short running title) ไม่เกิน 75 characters with space
  2. บทคัดย่อ (abstract) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ (objective) วัสดุและวิธีการ (materials and methods) ผลการศึกษา (results) สรุป (conclusion) และ คำสำคัญ (keywords) 2-5 คำ
  3. เนื้อเรื่อง (text) ประกอบด้วย
    • บทนำ (introduction) ประกอบด้วยเหตุผลและวัตถุประสงค์ในการวิจัย
    • วัสดุและวิธีการ (materials and methods)
    • ผลการศึกษา (results)
    • วิจารณ์ (discussion)
    • สรุป (conclusion)
    • กิตติกรรมประกาศ (acknowledgment)
    • เอกสารอ้างอิง (references)
    • ตาราง (tables)
    • รูปและคำบรรยาย (figures and figure legends)
  • บทความฟื้นวิชา (literature review) เป็นเรื่องที่ส่งมาเอง หรือทางคณะบรรณาธิการขอเชิญให้เขียน ทุกเรื่องจะได้รับการตรวจทานต้นฉบับจากคณะบรรณาธิการ ไม่ควรยาวมากกว่า 15 หน้ากระดาษพิมพ์ A4 เว้นบรรทัด ประกอบด้วยข้อมูลเรียงตามลำดับ ดังต่อไปนี้
    • บทนำ (introduction)
    • เนื้อเรื่อง (text)
    • สรุป (conclusion)
    • เอกสารอ้างอิง (references)
  • รายงานผู้ป่วย (case report) เป็นผู้ป่วยที่น่าสนใจต่างๆ ทุกเรื่องจะได้การตรวจทานต้นฉบับจากคณะบรรณาธิการหรือผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกอย่างน้อย 3 ท่าน (double-blinded review system) มีความยาวไม่เกิน 10 หน้ากระดาษพิมพ์ A4 เว้นบรรทัด ประกอบด้วยข้อมูลเรียงตามลำดับ
    • บทคัดย่อภาษาไทยและอังกฤษ พร้อม keywords 2-5 คำ
    • บทนำ (introduction)
    • เนื้อเรื่อง (text)
    • สรุป (conclusion)
    • เอกสารอ้างอิง (references)
    • บทบรรณาธิการ (editorial) คณะบรรณาธิการอาจเชิญผู้เชี่ยวชาญมีความรู้ความสามารถเขียนในเรื่องที่เกี่ยวกับนิพนธ์ ต้นฉบับที่จะลงพิมพ์ในฉบับนั้น ประกอบด้วยข้อมูลเรียงตามลำดับ ดังนี้
    • บทนำ (introduction)
    • เนื้อเรื่อง (text)
    • สรุป (conclusion)
    • เอกสารอ้างอิง (references)
  • บทวิจารณ์ผู้ป่วย (case discussion) จะเป็นตัวอย่างผู้ป่วยที่น่าสนใจ นำเสนอทั้งประวัติการตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การวินิจฉัยแยกโรค วิจารณ์ สรุป และเอกสารอ้างอิง
  • ถาม-ตอบ (question & answer) เป็นการตอบปัญหาที่มีผู้สนใจถามมา
  • บทความพิเศษ (special article)
  • กรณีผู้ป่วยที่น่าสนใจ (interesting case) เป็นปัญหาของผู้ป่วยที่น่าสนใจประกอบด้วยประวัติและการตรวจร่างกายโดยย่อ และมีภาพประกอบที่น่าสนใจต่างๆ มีคำถามและคำตอบสั้นๆ อาจมีเอกสารอ้างอิง
  • ย่อวารสาร (journal club) จากบทความภาษาต่างประเทศหรือภาษาไทยที่ตีพิมพ์แล้วไม่นานและควรมีบทวิจารณ์สั้นๆ ประกอบ
  • ปกิณกะ (miscellaneous) เป็นบทความทั่วไปที่เกี่ยวกับกิจการทางการแพทย์หรือสายการแพทย์ต่างๆ

การเตรียมต้นฉบับ

  1. การพิมพ์ต้นฉบับ ให้ใช้กระดาษขนาด A4 พิมพ์หน้าเดียว เว้นบรรทัด พิมพ์ให้ห่างจากขอบทุกด้านอย่างน้อย 1 นิ้วและใส่ ตัวเลขหน้าที่มุมบนขวาของกระดาษทุกหน้า
  2. รูปแบบอักษร ใช้ตัวอักษร Angsana UPC ขนาด 16 pt.
  3. หน้าแรก ประกอบด้วยชื่อเรื่อง ชื่อผู้นิพนธ์ ทั้งชื่อตัวและชื่อสกุล คุณวุฒิ และสถานที่ทำงานทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อเรื่องควรสั้นและให้ได้ใจความตรงกับวัตถุประสงค์และเนื้อเรื่อง correspondence และชื่อเรื่องอย่างสั้น (short running title) ไม่เกิน 75 characters with space
  4. หน้าที่ 2 ประกอบด้วยบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อย่างละไม่เกิน 250 คำ พร้อมคำสำคัญ (keywords) 2-5 คำ
  5. เนื้อเรื่อง ควรเป็นภาษาที่ง่ายสั้น กะทัดรัดแต่ชัดเจน ถ้าต้นฉบับเป็นภาษาไทยให้ยึดตามหลักพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ไม่ใช้เครื่องหมายวรรคตอนควรใช้คำภาษาไทยให้มากที่สุดยกเว้นคำภาษาอังกฤษที่แปลไม่ได้หรือแปลแล้วทำให้ได้ใจความไม่ชัดเจน ถ้าใช้คำย่อที่ไม่สากลต้องบอกคำเต็มไว้ทุกครั้งที่ใช้ครั้งแรก ชื่อยาควรใช้ชื่อสามัญเสมอ (generic name) หากจำเป็นให้ใส่ไว้ในวงเล็บ
  6. ตาราง ชื่อข้อความในตาราง และเชิงอรรถของตารางเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ให้พิมพ์แยกต่างหาก ตารางแต่ละแผ่นให้หมายเลขตารางที่ตามด้วยหัวเรื่องอยู่เหนือตาราง
  7. ภาพ ใช้ความละเอียดอย่างน้อย 300 DPI ชื่อตัวอักษรในภาพและคำบรรยาย เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ให้พิมพ์แยกแต่ละภาพควรจะใช้ข้อความที่กระชับได้ใจความสมบูรณ์ให้หมายเลขรูปที่พร้อมคำอธิบายภาพสั้นๆ อยู่ใต้ภาพ
  8. ภาพ ตาราง และ แผนภูมิ ต้องเป็นต้นฉบับของผู้นิพนธ์เท่านั้น และหลังตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ
  9. จะต้องลงลายมือชื่อของผู้นิพนธ์ทุกคน ในแบบฟอร์มส่งบทความตีพิมพ์ เพื่อส่งต้นฉบับลงตีพิมพ์โดยอาจส่งจดหมายที่ลงลายมือชื่อแล้วมาทางไปรษณีย์หรือโทรสารหรือสแกนแล้วส่งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ มายังบรรณาธิการ
  10. เอกสารอ้างอิง ใช้ตาม The International Committee of Medicine Journal Editor (ค.ศ. 2010) (the Vancouver style) ใส่หมายเลขเรียงตามลำดับที่อ้างอิงในเนื้อเรื่อง การย่อชื่อวารสารให้ใช้ตาม Index Medicus

สำหรับเอกสารอ้างอิง ถ้าเป็นภาษาไทยให้แปลเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด และใช้รูปแบบเดียวกับเอกสารอ้างอิงภาษาอังกฤษ รายชื่อผู้นิพนธ์ภาษาอังกฤษให้เรียงตามลำดับโดยเริ่มจากนามสกุลแล้วตามด้วยชื่อย่อตัวแรกของชื่อต้น ถ้าผู้นิพนธ์มีมากกว่า 6 คนให้ใส่ชื่อ 6 คนแรกตามด้วยคำว่า “et al.”

 

ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง

  • Standard journal article
  • Less than six authors: list the first six authors

           Halpern SD, Ubel PA, Caplan AL. Solid-organ transplantation in HIV-infected patients. N Engl J Med. 2002;347:284-7.

  • More than six authors: list the first six authors followed by et al.

           Rose ME, Huerbin MB, Melick J, Marion DW, Palmer AM, Schiding JK, et al. Regulation of interstitial excitatory amino acid concentrations after 

           cortical contusion injury. Brain Res. 2002;935:40-6.

  • Organization as author

Diabetes Prevention Program Research Group. Hypertension, insulin, and proinsulin in participants with impaired glucose tolerance. Hypertension. 2002;40:679-86.

  • Chapter in a book

Meltzer PS, Kallioniemi A, Trent JM. Chromosome alterations in human solid tumors. In: Vogelstein B, Kinzler KW, editors. The genetic basis of human cancer. New York: McGraw-Hill; 2002. p. 93-113.

  • A book with one author

Isbister J. Clinical haematology : problem a oriented approach. Sydney: Williams & Wilkins; 1986.

  • Volume with supplement

Geraud G, Spierings EL, Keywood C. Tolerability and safety of frovatriptan with short- and long-term use for treatment of migraine and in comparison with sumatriptan. Headache. 2002;42 Suppl 2:S93-9.

  • Issue with supplement

Glauser TA. Integrating clinical trial data into clinical practice. Neurology. 2002;58(12 Suppl 7):S6-12.

  • Journal article on the Internet

Abood S. Quality improvement initiative in nursing homes: the ANA acts in an advisory role. Am J Nurs [Internet]. 2002 Jun [cited 2002 Aug 12];102(6):[about 1 p.]. Available from: https://www.nursingworld.org/AJN/2002/june/Wawatch.htmArticle

  • Article published electronically ahead of the print version

Yu WM, Hawley TS, Hawley RG, Qu CK. Immortalization of yolk sac-derived precursor cells. Blood. 2002 Nov 15;100(10):3828-31. Epub 2002 Jul 5.

  • Article with a Digital Object Identifier (DOI):

Zhang M, Holman CD, Price SD, Sanfilippo FM, Preen DB, Bulsara MK. Comorbidity and repeat admission to hospital for adverse drug reactions in older adults: retrospective cohort study. BMJ. 2009;338:a2752. doi: 10.1136/bmj.a2752. PubMed PMID: 19129307; PubMed Central PMCID: PMC2615549.

  • Conference proceedings

Harnden P, Joffe JK, Jones WG, editors. Germ cell tumours V. Proceedings of the 5th Germ Cell Tumour Conference; 2001 Sep 13-15; Leeds, UK. New York: Springer; 2002.

  • Conference paper

Christensen S, Oppacher F. An analysis of Koza’s computational effort statistic for genetic programming. In: Foster JA, Lutton E, Miller J, Ryan C, Tettamanzi AG, editors. Genetic programming. EuroGP 2002: Proceedings of the 5th European Conference on Genetic Programming; 2002 Apr 3-5; Kinsdale, Ireland. Berlin: Springer; 2002. p. 182-91.

 

ศึกษารายละเอียดได้ที่ https://www.nlm.nih.gov/bsd/uniform_requirements.html

 

Open Access Policy

This journal provides immediate open access to its content on the principle that making research freely available to the public supports a greater global exchange of knowledge.

Sponsors

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

Sources of Support

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย