ประสิทธิผลโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขาภิบาลอาหารของผู้สัมผัสอาหารในท่าอากาศยานดอนเมือง

Main Article Content

สุทธาทิพย์ สมสนุก
ณัฐกฤตา ศิริโสภณ
กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์

บทคัดย่อ

              การศึกษานี้เป็นการศึกษารูปแบบการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาต่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขาภิบาลอาหารของผู้สัมผัสอาหาร ในท่าอากาศยานดอนเมือง ใช้แบบแผนการวิจัย Pre- posttest control group design กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สัมผัสอาหารจำนวน 63 คน จากร้านอาหาร 63 ร้านซึ่งเป็นร้านที่เปิดก่อนที่จะมีการปรับปรุงสภาพ(Renovation) เป็นร้านใหม่ในปี พ.ศ.2559  โดยการเลือกแบบเจาะจงเพื่อเข้าร่วมโปรแกรม แล้วทำการสุ่มโดยการจับฉลากแบ่งกลุ่มที่ทำการศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองจำนวน 32 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขาภิบาลอาหาร ประกอบด้วยการบรรยาย การชมวีดีทัศน์ การสาธิตการฝึกปฏิบัติ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน การตรวจเยี่ยม การสังเกตการปฏิบัติและให้คำแนะนำในการแก้ปัญหา เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองโดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมสุขาภิบาลอาหารและแบบสอบถามสุขาภิบาลอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยภายในกลุ่ม โดยใช้สถิติ Paired Samples t-test และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent Sample t-test

              ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมสุขศึกษาฯ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขาภิบาลอาหาร (X= 63.78, S.D. = 0.70 ) สูงกว่าก่อนการทดลอง (X=60.87, SD = 2.01) และหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขาภิบาลอาหาร (X=63.78, SD = 0.70) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (X=61.06, SD = 2.09) ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < .05 แสดงว่าโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขาภิบาลอาหารส่งผลให้ผู้สัมผัสอาหารในท่าอากาศยานดอนเมืองมีพฤติกรรมสุขาภิบาลอาหารในทิศทางที่ดีขึ้น ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องควรให้การสนับสนุนการเสริมสร้างความรู้และทักษะการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อส่งเสริมให้การดำเนินงานด้านสุขาภิบาลอาหารภายในท่าอากาศยานดอนเมืองพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

 

            This quasi-experimental research was designed to study the effectiveness of a health education program for Food Sanitation Behavior Development on food handlers at Don Mueang International Airport. Pre-test and post-test controlled group design was applied to 63 food handlers from 63 restaurants in the airport before renovation in 2016. Samples were devided into 2 groups: 32 experimental and 31 control. Main instrument was the program of health education to develop food sanitation behavior. This program consisted of lectures and video presentations, demonstration and practice, experience exchange, visit and social solution support. Data were collected using questionnaires and observation of sanitation behaviors, and analysed using descriptive statistics, Paired sample     t-test and Independent sample t-test.

            The results showed that after applying the program of health education, the experimental group had higher scores of food sanitation behavior (X = 63.78, S.D. = 0.70 ) than before (X=60.87, SD = 2.01) At post-test, the experimental group had higher scores (X=63.78, SD = 0.70) than the control group (X=61.06, SD = 2.09) at p < .05. In summary, the health education program positively affected the food sanitation behavior of food handlers at Don Mueang International Airport; it is suggested to be applied on other food handlers with similar conditions.  Providing effective instruction of food sanitation behavior is useful to promote good health of people at the airport.    

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ