ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ ทันตสาธารณสุข จังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากนั้นประกอบด้วยปัจจัยทางคลินิก ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยสิ่งแวดล้อม แต่ปัจจุบันการศึกษาส่วนใหญ่ไม่ครอบคลุมปัจจัยทั้ง 3 ด้านการศึกษานี้จึงเก็บข้อมูลปัจจัยทางคลินิกโดยการตรวจช่องปาก เก็บข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลโดยวัดความเข้มแข็งในการมองโลกและเก็บข้อมูลปัจจัยสิ่งแวดล้อมโดยใช้ข้อมูลฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ ทันตสาธารณสุข จังหวัดชลบุรี รุ่นที่ 45 ชั้นปีที่ 1จำนวน 256 คน
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุ 18-33 ปี เป็นชาย 47 คน (18.36%) และเป็นหญิง 209 คน (81.64%) การตรวจช่องปากพบค่าเฉลี่ยจำนวนฟัน ผุ ถอนอุด 6.08±3.66 และนักศึกษาส่วนใหญ่เป็นโรคเหงือกอักเสบ (70.31%) ผู้ปกครองของนักศึกษาส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี (84.76%) และ มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อเดือน (85.16%) ปัจจัยทางคลินิกและฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมไม่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณพบว่าความเข้มแข็งในการมองโลก (Beta = -0.178, p < .01) มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากร้อยละ 3.20 (p < .01) ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นความสำคัญของปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก
Factors related to oral health related quality of life includes clinical, individual and environmental factors. However, at present only few researches included all factors in one study. Therefore, the aim was to study clinical and non-clinical factors comprising clinical oral health status, sense of coherence and socio-economic status of dental nurse students at Sirindhorn College of Public Health, Chonburi province. Clinical oral health status was collected by oral examination. Oral health related quality of life, socio-economic status and sense of coherence data were collected in classrooms. 256 students aged between 18 to 33 years old participated in the study, 47 (18.36%) were male and 209 (81.64%) were female. Mean number of Decayed Missing and Filled teeth (DMFT) was 6.08±3.66. Most students had gingival disease (70.31%). Most parents had education below graduate level (84.76%) and had income below 30,000 Baht per month (85.16%). Socio-economic status and clinical oral health status were not significantly related to oral health related quality of life. Sense of coherence (Beta = -0.178, p < .01) was significantly influencing oral health related quality of life and could explain 3.20% (p < .01) of oral health related quality of life variance. This finding states the importance of an individual factor on oral health related quality of life.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว