ผลของการใช้ระบบพยาบาลพี่เลี้ยงต่อภาวะผู้นำ การทำงานเป็นทีม ความสุข และจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาพยาบาลในรายวิชาปฏิบัติการบริหารการพยาบาล

Main Article Content

นิชดา สารถวัลย์แพศย์
วนิดา ชวเจริญพันธ์
พิริยลักษณ์ ศิริศุภลักษณ์

บทคัดย่อ

           ระบบพยาบาลพี่เลี้ยงเป็นระบบที่สถาบันการศึกษาพยาบาลนำมาใช้ในการดูแลนักศึกษาเพื่อให้เป็นพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของภาวะผู้นำ การทำงานเป็นทีม ความสุขและจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังการฝึกปฎิบัติงานวิชาปฏิบัติการบริหารการพยาบาลโดยใช้ระบบพยาบาลพี่เลี้ยง

           การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 จำนวน 179 คนที่ผ่านการฝึกภาคปฏิบัติวิชาปฏิบัติการบริหารการพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยก่อนและหลังฝึกภาคปฏิบัติ ด้วยสถิติ  Dependent t-test

           ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำของนักศึกษา หลังฝึกปฏิบัติงานวิชาปฏิบัติการบริหารการพยาบาล ด้านแรงขับ สร้างความไว้วางใจ ตกผลึกทางความคิดและคิดอย่างเป็นระบบ สูงกว่าก่อนฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  2) การทำงานเป็นทีมของนักศึกษาหลังฝึกปฏิบัติงานวิชาปฏิบัติการบริหารการพยาบาล สูงกว่าก่อนฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความสุขของนักศึกษาก่อนและหลังฝึกปฏิบัติงานวิชาปฏิบัติการบริหารการพยาบาล พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4) จิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาหลังฝึกปฏิบัติงานวิชาปฏิบัติการบริหารการพยาบาลสูงกว่าก่อนฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

           การใช้ระบบพยาบาลพี่เลี้ยงหลังการฝึกปฏิบัติวิชาปฏิบัติการบริหารการพยาบาล ส่งผลให้นักศึกษาเกิดสมรรถนะภาวะผู้นำ การทำงานเป็นทีมและจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 

 

           Nurse preceptor system is an important strategy to prepare nursing students to become professional nurses. The purpose of this quasi-experimental research was to compare leadership, teamwork, happiness and humanized care of nursing students by nurse preceptor system in Nursing Administration Practicum of Boromarajonani College of Nursing, Changwat Nonthaburi.  A total of 179  students of 4th year undergone the Nursing Administration Practicum in 2016 completed the questionnaire. Data were analyzed by using mean, SD and Dependent t-test.

           The research finding revealed that:

           1.  Leadership domain among nursing students after nursing administration practicum showed that leadership drive, building trust, thinking crystallization and systematic thinking were statistically significant higher than before (p < .01).

           2.  Team working domain among nursing students after nursing administration practicum was significantly higher than before (p < .01).

           3.  There was no statistically significant difference between the nursing students before and after nursing administration practicum in the happiness domain in learning.

           4.  Humanized care among nursing students after nursing administration practicum was significantly higher than before (p < .01).

           Using nurse preceptor system in Nursing Administration Practicum subject significantly improved nursing students’ ability in developing leadership competency, team working and humanized care.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ